ที่ประชุมคณะทำงานประสานการดำเนินงาน เพื่อให้สัตยาบันอนุสัญญาขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 87

ที่ประชุมคณะทำงานประสานการดำเนินงาน เพื่อให้สัตยาบันอนุสัญญาขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 87

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
ที่ประชุมคณะทำงานประสานการดำเนินงาน เพื่อให้สัตยาบันอนุสัญญาขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 87 และ 98 ยังไม่ได้ข้อสรุป ขณะที่ รองปลัดกระทรวงแรงงาน เชื่อ จะได้ข้อสรุปในเร็ววันนี้ ซึ่งกระทรวงแรงงานพร้อมรับ แต่ขอทำประชาพิจารณ์ เพื่อตอบข้อแคลงใจของสังคมก่อน นายสมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ รองปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะทำงานประสานการดำเนินงาน เพื่อให้สัตยาบันอนุสัญญาขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ไอแอลโอ) ฉบับที่ 87 และ 98 ว่าด้วยสิทธิการรวมตัวเพื่อการต่อรอง ว่า การประชุมในวันนี้ (18 ม.ค.53) คงยังไม่ได้ข้อสรุป เนื่องจากขั้นตอนจะต้องมีการทำประชาพิจารณ์จากประชาชนและผู้มีส่วนได้เสีย ก่อนที่จะเสนอเข้าที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ทั้งนี้เพื่อตอบคำถามให้แก่ผู้ที่แคลงใจว่าการรับอนุสัญญาทั้ง 2 ฉบับ จะเกิดผลดีผลเสียกับประเทศไทยอย่างไรบ้าง ซึ่งกระทรวงแรงงานเห็นด้วยกับการลงนามในอนุสัญญาไอแอลโอทั้ง 2 ฉบับ เพราะเป็นอนุสัญญาหลักของไอแอลโอ ซึ่งประเทศไทยเป็นสมาชิก และต้องปฏิบัติตามอยู่แล้ว คาดว่าในเร็วๆ นี้จะได้ข้อยุติ อย่างไรก็ตามในวันนี้ได้เชิญผู้แทนจากไอแอลโอมาให้ข้อมูลและตอบข้อซักถามที่หลายหน่วยงานยังแคลงใจ ด้าน นายนายชาลี ลอยสูง ผู้แทนคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย กล่าวว่า การประชุมในวันนี้คงยังไม่ได้ข้อยุติ แต่หากการประชุมครั้งต่อไปในวันที่ 19 กุมภาพันธ์นี้ ซึ่งจะเริ่มประชุมในเวลา 10.00 น. ยังไม่ได้ข้อสรุปว่ากระทรวงแรงงานจะรับอนุสัญญาทั้ง 2 ฉบับหรือไม่ เชื่อว่าผู้ใช้แรงงานจำนวนมากจะออกมากดดันเพิ่มขึ้น เนื่องจากเกินกว่ากำหนดที่ พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ รองนายกรัฐมนตรี ได้รับปากว่าจะดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 3 เดือน ซึ่งถึงเวลาแล้วที่ประเทศไทยควรจะลงนามสัตยาบันอนุสัญญาของไอแอลโอ เพราะจากการที่คณะทำงานประสานการดำเนินงานเพื่อให้สัตยาบันไอแอลโอ ส่งแบบสอบถามไปยังหน่วยงานราชการจำนวน 66 แห่ง พบว่า มีถึง 44 แห่งที่เห็นด้วย และมีเพียง 12 แห่งที่ไม่เห็นด้วย เพราะฉะนั้นประเทศไทยไม่ควรจะยื้อเวลา หากประเทศไทยไม่ลงนามสัตยาบันอนุสัญญาทั้ง 2 ฉบับ จะส่งผลให้แรงงานไทย ขาดอำนาจในการต่อรอง และการรวมตัวอย่างถูกกฎหมาย เหมือนในปัจจุบัน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook