สองเด็กเก่งพัฒนาแฟลชเกม

สองเด็กเก่งพัฒนาแฟลชเกม

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
''Ultimate Jumper''

บริษัท เอ็นซี ทรู จำกัด ผู้ให้บริการเกมออนไลน์ในไทย ได้ร่วมกับสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือซิป้า ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล สถาบันเน็ต ดีไซน์ และฟิวเจอร์เกมเมอร์ จัดประกวด แฟลช เกม คอนเทสต์ ครั้งที่ 1 ขึ้น

เปิดโอกาสให้เยาวชนไทยได้แสดงความคิดสร้างสรรค์และฝีมือในการพัฒนาเกมที่สามารถนำมาเล่นได้จริง ภายใต้หัวข้อ Smart Life by Smart Game- ชีวิตจะฉลาด ถ้าเล่นเกมฉลาดและเหมาะสม เพื่อยกระดับสังคมเกมให้เป็นสีขาว

ประกาศผลการตัดสินและมอบรางวัลให้กับผู้ที่ได้รับรางวัลไปแล้วในงาน ไทยแลนด์ เกมโชว์ 2010 เมื่อเร็ว ๆ นี้ ซึ่งผู้ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ คือ ทีมซูเปอร์ โนวา สมาชิกประกอบด้วย น้องเจี๊ยบ นายโกวิทย์ ชนะเคน นักศึกษาปริญญาโท เอกมัลติมีเดีย สาขาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ และ น้องเอ็กซ์ นายวรชัย วิจิตรวงศ์เจริญ นักศึกษาทุนเรียนดี ชั้นปี 2 สาขาวิชาการออกแบบเชิงโต้ตอบและการพัฒนาเกม คณะเทคโนโลยีสารสน เทศ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

น้อง ๆ ทั้งสองบอกถึงจุดเริ่มต้นของการทำผลงานชิ้นนี้เพื่อส่งประกวดว่า ทั้งสองรู้จักกันมานานตั้งแต่เรียนระดับมัธยม โดย มีเกมเป็นสื่อชักนำให้ได้รู้จักกันเพราะทั้งสองชอบเรื่องเกมเหมือนกันในครั้งนั้น น้องเจี๊ยบ ได้พัฒนาแฟลชเกมเพื่อเข้าประกวดในอีกเวทีหนึ่งแล้วได้รับรางวัล น้องเอ็กซ์ ที่ได้วดในครั้งนั้นชื่นชอบผลงานจึงได้มีการติดต่อพูดคุยทางอีเมลจนได้รู้จักเป็นเพื่อนกันมา จนมีโอกาสร่วมมือกันทำแฟลชเกมเข้าร่วมประกวดในครั้งนี้

สำหรับผลงานเฟลซเกมชิ้นนี้ มีชื่อว่า เกมอัลติเมท จั๊มเปอร์ (Ultimate Jumper) โดย น้องเอ็กซ์ จะเป็นคนคิดรูปแบบและเนื้อหาของเกม ส่วนการพัฒนาเป็นหน้าที่ของ น้องเจี๊ยบ โดยใช้โปรแกรมแฟลช, โฟโต้ชอป และอีลาสเตรเตอร์ ซึ่งเนื้อหาของเกมจะเกี่ยวกับเจ้าชายผู้ดูแลเมืองให้สงบสุขถูกจอมมารจับตัวไป เมื่อเมืองแห่งนี้ขาดเจ้าชายไป จึงทำให้น้ำท่วมหมู่บ้าน ชาวบ้านจึงเดือดร้อนมาก ด้วยเหตุนี้ทำให้เจ้าหญิงต้องออกไปช่วยเจ้าชาย ด้วยการกระโดดไปตามเกาะเล็ก ๆ ต่าง ๆ เพื่อให้ถึงปราสาทของจอมมาร

ส่วนวิธีการเล่นนั้น เกมนี้มีทั้งหมด 26 ระดับ โดยจะมีเกมย่อยต่าง ๆ คือในระดับ 1-10 เป็นเกมที่ผู้เล่นจะต้องจดจำภาพที่ให้ มา แล้วตอบให้ได้ว่า ภาพที่ให้มาเป็นภาพอะไร ระดับ 11-20 เป็นเกมคณิตคิดเร็ว ผู้เล่นจะต้องตอบโจทย์ที่กำหนดมาให้ได้ภายในเวลาที่กำหนด ส่วนในระดับ 21-25 เป็นเกม วัดความแม่นยำ โดยผู้เล่นจะต้องกดปุ่มหยุดเพื่อให้ลูกศรหยุดตรงบริเวณที่กำหนด และระดับ 26 เป็นเกมจับผิดภาพ โดยจะมีจุดต่างอยู่ทั้งหมด 7 จุด หากตอบถูกก็จะสามารถกระโดดไปยังระดับถัดไปได้ แต่หากตอบผิดก็จะตกน้ำ ซึ่งหากผู้เล่นผ่านด่านทั้งหมด ก็จะสามารถช่วยเจ้าชายออกมาได้ รวมระยะเวลาการเล่นตั้งแต่ด่านแรกจนจบใช้เวลาประมาณ 30 นาที

สำหรับควารพัฒนาเกมนี้ คือ อยู่ที่การคิดเนื้อหา ทำอย่างไรให้เล่นแล้วสนุกได้ความรู้และได้ใช้ไหวพริบ ส่วนการพัฒนาเกมจากโปรแกรมแฟลช ไม่ยากเท่าใด เพราะมีพื้นฐานการใช้งานมาพอสมควร อย่างไรก็ตาม น้อง ๆ ทั้งสองบอกต่อว่า การที่ชอบเรื่องเกมมาตั้งแต่เด็ก ๆ ไม่ได้หมายความว่าทั้งสองเป็นคนติดเกม จนทำให้เสียเรื่องการเรียน เพียงแต่เล่นเพื่อต้องการศึกษาว่า กว่าจะ มาเป็นเกมออกมาให้คนเล่นได้นั้น จะมีขั้น ตอนอย่างไรถึงจะสามารถพัฒนาเกมออกมาได้ หนึ่งเกม

ด้านมุมมองต่ออุตสาหกรรมเกมของไทย น้อง ๆ มองว่า วงการเกมเมืองไทยยังไม่ค่อยได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐเท่าที่ควร ทำให้เกมที่พัฒนาขึ้นโดยคนไทยยังมีอยู่น้อย ส่วนใหญ่จะเป็นการนำเกมจากต่างชาติเข้ามาขายหรือให้บริการ ในอนาคตเมื่อเรียนจบก็ ตั้งเป้าหมายไว้ว่าอยากจะทำงานในบริษัทผู้พัฒนาเกมของคนไทย เนื่องจากเป็นงานที่ทั้งสองได้เรียนมาและมีความชอบเป็นการส่วนตัวตั้งแต่สมัยเด็ก ๆ.

จิราวัฒน์ จารุพันธ์

JirawatJ@dailynews.co.th

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook