หลากกล้วยไม้สกุลช้าง

หลากกล้วยไม้สกุลช้าง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
บานสะพรั่งกลางกรุง

เกิดความประทับใจมากหลังชมความงดงามของกล้วยไม้ช้างที่ จ.สุโขทัย ลักขณา นะวิโรจน์ กรรมการบริหาร ดิ เอ็มโพเรียม ชอปปิง คอมเพล็กซ์ จึงสั่งเนรมิตกล้วยไม้ช้างหลากสายพันธุ์มาตกแต่งอย่างอลังการให้บานสะพรั่งทั่วศูนย์การค้าดิ เอ็มโพเรียม ชอปปิง คอมเพล็กซ์ ระหว่างวันที่ 21-31 ม.ค. 2553 ในงาน เอ็มโพเรียม บลอสซั่ม 2010 : เซ้นต์ ออฟ ออร์คิด สเปลนเดอร์ โดยได้รับพระกรุณาธิคุณจาก พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ เสด็จทรงเปิดงานในวันที่ 21 ม.ค.นี้

นางลักขณา นะวิโรจน์ กล่าวว่า กล้วยไม้ช้างเป็นกล้วยไม้พันธุ์ไทยแท้ของไทย กลิ่นหอมเลื่องชื่อและเป็นพันธุ์ไม้สงวนที่หาชมยากใน 1 ปี ออกดอกเพียง 1 ครั้งเท่านั้น ช่วงระหว่างเดือน ธ.ค.-ก.พ. งานนี้จึงจัดขึ้นเพื่อให้คนไทยและชาวต่างชาติได้ชมความงดงามของกล้วยไม้ช้าง และเป็นการส่งเสริมอนุรักษ์กล้วยไม้ช้างสายพันธุ์ต่าง ๆ อาทิ ช้างพลาย ช้างกระ ช้างเผือก ช้างแดง ช้างสม เป็นต้น ให้เป็นที่รู้จัก

นอกจากนี้ยังมีการจัดแสดงนิทรรศการเครื่องทองไทยโบราณสุโขทัย จากศูนย์ส่งเสริมศิาชีพระหว่างประเทศด้วย รวมถึงจัดให้มีการประกวดกล้วยไม้ช้างสวยงามชิงถ้วยประทาน พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ โดยการประกวดแบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่ กล้วยไม้ช้างต้นเดี่ยว, กล้วยไม้ช้างกอ และกล้วยไม้ช้างหมู่ และยังมีไฮไลต์พิเศษอยู่ที่การจัดแสดง ประติมากรรมกล้วยไม้ช้างทองคำ ออกแบบโดย สกุล อินทกุล นักจัดดอกไม้ชื่อดัง โดยได้รับการสนับสนุนจาก ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ และภูดอย ออร์คิด จ.เชียงใหม่ ร่วมกันรังสรรค์ผลงานชิ้นเอกนี้

ผู้ออกแบบกล้วยไม้ช้างทองคำ นายสกุล อินทกุล เผยถึงแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ประติมากรรมกล้วยไม้ช้างทองคำว่า เป็นผลงานจัดดอกไม้ทองคำชิ้นแรกของตน ได้แนวคิดมาจาก จ่อ ซึ่งเป็นกระด้งของชาวอีสานใช้เป็นที่พักตัวหม่อนในการชักใยทำรังไหมเป็นดักแด้ จึงใช้โลหะทำเป็นดวงกลมเหมือนจ่อ และนำดอกกล้วยไม้ช้างมาผ่านกรรมวิธีด้วยเรซิ่นให้แข็งและนำไปชุบทองคำแท้อีกครั้ง นำไปติดที่โลหะ โดยให้กล้วยไม้ช้างทองคำเปรียบเสมือนดักแด้ที่ติดอยู่กับจ่อ สื่อให้เห็นถึงวัฒนธรรมของชาวอีสาน่เป็นผู้ผลิตผ้าไหม อีกทั้งไหมยังเป็นงานชิ้นเอกของศิลปาชีพด้วย ใช้กล้วยไม้ช้างทองคำทั้งสิ้น 12 ดอก ความยากในการทำอยู่ตรงที่การชุบทองเนื่องจากดอกไม้แต่ละชนิดมีความหนาต่างกัน ดังนั้นจึงต้องมีการทดสอบหลายครั้งกว่าจะชุบทองได้เหมาะสม.

กล้วยไม้สกุลช้าง มีถิ่นกำเนิดแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ ไทย, พม่า, มาเลเซีย,ฟิลิปปินส์, อินเดีย, ศรีลังกา, ภาคใต้ของหมู่เกาะในทะเลจีน, ประเทศในแถบอินโดจีน และหมู่เกาะอินเดียตะวันออก ในไทยพบกล้วยไม้สกุลช้างกระจายทั่วประเทศ กล้วยไม้สกุลช้างเป็นกล้วยไม้เล็กประเภท ไม่แตกกอ ลำต้นทรงเตี้ยใบแข็งหนา บางชนิดใบเล็กยาว ปลายใบหยักมน ช่อดอกตั้งโค้งหรือห้อย ออกดอกเป็นพวงคล้ายหางกระรอก กลีบดอกอาจมีหรือไม่มีสีม่วงหรือสีน้ำเงิน มีทั้งหมด 4 ชนิด คือ ช้าง, ไอยเรศหรือพวงมาลัย, เขาแกะ และช้าง ฟิลิปปินส์

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook