เดินยุทธศาสตร์ฝนตกทั่วฟ้า

เดินยุทธศาสตร์ฝนตกทั่วฟ้า

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
คลังเดินเครื่องสานนโยบาย 17 ข้อเข็นแบงก์รัฐข้บเคลื่อนเศรษฐกิจ

นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังได้วางมาตรการขับเคลื่อนเศรษฐกิจปี 53 ให้เติบโตอย่างต่อเนื่องด้วย 17 มาตรการ ซึ่งมีบางส่วนเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 52 ที่ผ่านมาแล้ว และนับว่าน่าพอใจ แต่ยังมีอีกหลายมาตรการที่จะเร่งผลักดันให้เป็นรูปธรรมในปีนี้ โดยน้ำหนักจะอยู่ที่การเบิกจ่ายงบประมาณไทยเข้มแข็งกว่า 200,000 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าจะช่วยให้จีดีพีเติบโตได้ไม่ต่ำกว่า 2% ซึ่งรวมถึงการออกพันธบัตรออมทรัพย์ ไทยเข้มแข็งรอบ 2 ในเดือน มี.ค. นี้ด้วย

ปี 52 ที่ผ่านมา ถือว่าน่าพอใจกับมาตรการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ ทั้งแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง ยุทธศาสตร์ฝนตกทั่วฟ้า การส่งเสริมภาคธุรกิจ และการเพิ่มประสิทธิภาพของภาครัฐ แต่ปี 53 นี้ นอกจากจะสาน ต่อยุทธศาสตร์ดังกล่าวแล้ว ยังวางแผนจะดำเนินการ 17 มาตรการ เพื่อสานต่อการ กระตุ้นเศรษฐกิจ โดยให้น้ำหนักที่การเบิกจ่ายงบประมาณ และโคไทยเข้มแข็งรวมทั้งบทบาทธนาคารของรัฐมากที่สุด

สำหรับ 17 มาตรการประกอบด้วย การแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบกว่า 1 ล้านราย ที่จะเริ่มโอนหนี้เข้าสู่ระบบได้เร็วกว่ากำหนดการ หรือตั้งแต่ปลายเดือน ม.ค. นี้เป็นต้นไป การเดินหน้าตามแผนพัฒนาตลาดเงินระยะ 2 และแผนการพัฒนาตลาดทุน การจัดตั้งกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) ซึ่งจะผลักดันออกมาในปลายปีนี้ เพิ่มบทบาทการลงทุนภาคเอกชนในรูปแบบพีพีพี เพื่อให้การลงทุนในประเทศอยู่ในสัดส่วนที่เหมาะสม หรือ 25% ของงบประมาณการให้สินเชื่อรายย่อยผ่านสถาบันการเงินของรัฐโดยมีธนาคาร ออมสินและธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เป็นหลักในการสร้างธนาคารชุมชน (ไมโครไฟแนนซ์) การออกกฎหมาย พ.ร.บ.บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล รวมถึง พ.ร.บ.ทวงถามหนี้อย่างเป็นธรรม ซึ่งเตรียมจะเข้า ครม. เร็ว ๆนี้ เพราะเป็นสิ่งเดียวที่ต้องเร่งแก้ไขให้กับประชาชนลืมตาอ้าปากได้

มาตรการทางเลือกหลักประกันทางธุรกิจ ผลักดันกางคับใช้ภาษีที่ดินและ สิ่งปลูกสร้าง ซึ่งจะนำเข้า ครม. ภายใน 1 เดือนนี้ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในสังคมและไม่กระทบผู้มีรายได้น้อย โดยยืนยันว่าจะทำงานในตำแหน่งต่อไปได้ แม้ที่ผ่านมารัฐ มนตรีที่เสนอกฎหมายนี้อาจหลุดจากตำแหน่ง เนื่องจากมีหลายฝ่ายคัดค้าน เพราะเห็นว่าปัจจุบันการจัดเก็บภาษี 90% มาจากรายได้ มีเพียง 10% เท่านั้นที่มาจากทรัพย์สิน

นอกจากนี้คือการปฏิรูปการจัดเก็บภาษีทั้งระบบ โดยเฉพาะภาษีศุลกากรเพื่อลดอุปสรรคด้านการค้า การลงทุน มาตรการภาษีเพื่อการเข้ามาตั้งสำนักงานภูมิภาคในไทย (อาร์โอเอช) ถือเป็นยุทธศาสตร์ให้ไทยแข่งขันกับสิงคโปร์ได้ การติดตามโครงการไทยเข้มแข็งเป็นงานที่สำคัญเพื่อดูแลการใช้เงิน.

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook