นักวิทยาศาสตร์ไทย ที่ร่วมคณะสำรวจทวีปแอนตาร์กติก เผย ขณะนี้การดำเนินงานสำรวจคืบหน้าร้อยละ 40 ของแผนง

นักวิทยาศาสตร์ไทย ที่ร่วมคณะสำรวจทวีปแอนตาร์กติก เผย ขณะนี้การดำเนินงานสำรวจคืบหน้าร้อยละ 40 ของแผนง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
นักวิทยาศาสตร์ไทย ที่ร่วมคณะสำรวจทวีปแอนตาร์กติก เผย ขณะนี้การดำเนินงานสำรวจคืบหน้าร้อยละ 40 ของแผนงานที่ตั้งไว้แล้ว เตรียมนำความรู้ที่ได้รับมาถ่ายทอดเพื่อพร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก ผศ.ดร.สุชนา ชวนิชย์ ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตัวแทนนักวิทยาศาสตร์ไทยที่ได้รับคัดเลือกและการสนับสนุนจากสถาบันแห่งชาติเพื่อการวิจัยขั้วโลก ประเทศญี่ปุ่น ให้เข้าร่วมกับคณะสำรวจทวีปแอนตาร์กติกญี่ปุ่นคณะที่ 51 จากทั้งหมด 85 คน ใน 6 ประเทศ ได้แก่ เบลเยียม อินเดีย เกาหลีใต้ แอฟริกาใต้ ออสเตรเลีย และไทย เพื่อร่วมเดินทางโดยเรือตัดน้ำแข็งลำใหม่ที่มีชื่อว่า AGB Shirase 2 (เอจีบี ชิราเซะ ทู) เข้าสู่พื้นที่สถานีวิจัยโชว์วะ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่เข้าถึงยากที่สุดในทวีปแอนตาร์กติก เปิดเผยรายงานผลการปฏิบัติงาน ผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอร์เร้นซ์จากสถานีวิจัยโชว์วะ ทวีปแอนตาร์กติก มายังคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ว่า ตนเองได้เดินทางไปยังทวีปแอนตาร์ติกตั้งแต่วันที่ 25 พฤศจิกายน 2552 เพื่อร่วมกับทีมนักวิจัยศึกษาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกที่อาจมีผลกระทบกับสิ่งมีชีวิตในทะเล และทดสอบประสิทธิภาพของเรือตัดน้ำแข็งลำใหม่ โดยขณะนี้ดำเนินงานไปร้อยละ 30-40 ของแผนงานที่ตั้งไว้แล้ว เบื้องต้นได้ขุดเจาะน้ำแข็งหนาประมาณ 2 เมตร เพื่อทำการเก็บตัวอย่างปลา แพลงก์ตอน และน้ำในทะเล มาตรวจสอบคุณภาพ อุณหภูมิและความเค็มในทะเลน้ำแข็ง ตรวจวัดสารอาหารรวมถึงปริมาณการสะสมของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ อีกทั้งยังเก็บตัวอย่างดินตะกอน บริเวณทะเลสาบ เพื่อศึกษาจุลินทรีย์ และแบคทีเรีย รวมถึงศึกษารังและพฤติกรรมของเพนกวิน ผศ.ดร.สุชนา ยังได้ร่วมศึกษาดูงานของทีมนักวิจัยของญี่ปุ่นในการปล่อยบอลลูนเพื่อศึกษาสภาพอากาศ และชั้นโอโซนของสถานีวิจัยโชว์วะ รวมถึงการศึกษางานวิจัยตรวจวัดแผ่นดินไหว อย่างไรก็ตาม จากการศึกษาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศครั้งนี้แม้จะประสบปัญหามีพายุหิมะที่รุนแรงจำนวน 13 ครั้ง แต่ก็ยังคงมุ่งมั่นที่จะศึกษาวิจัยต่อไปและจะเดินทางกลับมาประเทศไทยประมาณปลายเดือนมีนาคมนี้ โดยหวังว่าจะสามารถนำความรู้มาถ่ายทอดให้นักวิทยาศาสตร์สามารถรับมือและแก้ปัญหาสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงได้ พร้อมต่อยอดความร่วมมือกับนักวิจัยญี่ปุ่นศึกษาวิจัยทวีปแอนตาร์กติกในอนาคต
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook