โภชนาการลดหลอดเลือดหัวใจตีบ-ตัน

โภชนาการลดหลอดเลือดหัวใจตีบ-ตัน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
รายงานทางสถิติพบว่า โรคหัวใจและหลอดเลือดถือเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ของประชากรโลก ในโลกนี้ทุกๆ 2 วินาทีจะมีผู้เสียชีวิตด้วยโรคดังกล่าว และพบว่าหนึ่งในห้าคนที่มีหลอดเลือดหัวใจตีบ-ตันมักจะเสียชีวิตอย่างกะทันหัน โดยไม่มีอาการเตือนล่วงหน้า ส่วนใหญ่เกิดกับชายในวัยทำงานที่กำลังสร้างตัวและขะมักเขม้นกับการหาเลี้ยงครอบครัว สาเหตุที่แท้จริงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ที่รวมไปถึง อัมพฤกษ์ อัมพาต ไตวาย และตามัวตามืด นั้นมีต้นตอที่เกิดจาก "โรคหลอดเลือดแดงตีบ-ตันจากตะกรันในหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดแข็งและเปราะ (Atherosclerosis) ซึ่งโรคนี้นับเป็นมฤตยูร้ายต้นเหตุการเสียชีวิตอย่างแท้จริง ปัจจุบันพบว่าแนวโน้มการเกิดตะกรันในหลอดเลือดแดงทำให้หลอดเลือดแข็งและเปราะเพิ่มขึ้น เพราะวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป เช่น พฤติกรรมในการบริโภค การออกแรงขยับเขยื้อนน้อยลง รวมไปถึงการไม่ได้ออกกำลัง การใช้ชีวิตที่รุมเร้าด้วยความไม่แน่นอนทำให้เกิดความเครียดเรื้อรัง ห่างไกลศาสนาขาดที่พึ่งทางใจ ดังนั้นคนทุกเพศทุกวัยมีโอกาสที่จะเกิดตะกรันในหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดแข็งและเปราะได้ทั้งสิ้น อาการเริ่มแรกของโรคหัวใจขาดเลือด มักจะมีอาการเจ็บหน้าอก เจ็บแขนซ้ายหรือกราม อึดอัดหายใจไม่ออก อ่อนเพลียและเหงื่อออกง่ายกว่าปกติ โดยเฉพาะเมื่อหัวใจต้องทำงานหนัก เช่น ขณะการออกกำลังกาย สามารถตรวจพบโดยการทดสอบสมรรถภาพหัวใจด้วยการเดินบนสายพานพร้อมบันทึกคลื่นหัวใจ สำหรับปัจจัยเสี่ยงและปัจจัยเสริมการเกิดตะกรันในหลอดเลือดหัวใจและสมอง มีทั้งปัจจัยที่ปรับเปลี่ยนไม่ได้ เช่น เพศ อายุ และ พันธุกรรม เช่นการมีอายุมากขึ้น (ผู้ชายอายุ 45 ปีขึ้นไป ผู้หญิงอายุ 55 ปีขึ้นไป) มีประวัติสมาชิกในครอบครัวเป็นโรคเกี่ยวกับหลอดเลือด ปัจจัยเสี่ยงที่ปรับเปลี่ยนได้ สี่ประการแรกที่สำคัญคือ บุหรี่ ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง และเบาหวาน ปัจจัยเสริม ได้แก่ ความอ้วน ความเครียด เกลือ น้ำตาล ขาดการออกกำลังกายอ่างงสม่ำเสมอ สำหรับการตรวจคัดกรองเบื้องต้น ได้แก่ วัดความดันโลหิต ตรวจเลือดวัดปริมานไขมันทั้ง 6 อย่าง วัดปริมาณน้ำตาลในเลือด รวมทั้งการให้ข้อมูลเรื่องประวัติการเจ็บป่วยของคนในครอบครัวกับแพทย์ด้วย การป้องกันและดูแลสุขภาพด้วยการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เหมาะสม เริ่มต้นด้วยการเลิกทำร้ายผิวในของหลอดเลือด ด้วยการงดการสูบบุหรี่และหลีกเลี่ยงสูดควันบุหรี่ของคนอื่น ลดหรืองดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เลือกรับประทานอาหารที่ถูกสุขลักษณะ อาทิ ผักสดผลไม้สดหลายรสและหลากสี เลี่ยงอาหารหวาน มัน เค็ม และอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูง รับประทานอาหารแต่พอดีกับแคลอรี่ที่ใช้ในแต่ละวันป้องกันการสะสมไขมันที่ทำให้อ้วน มีการเคลื่อนไหวร่างกายอย่างเหมาะสม ไม่นั่งทำงานอยู่กับโต๊ะนานเกินไป หมั่นหาเวลาออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ผ่อนคลายความเครียด รักษาความดันโลหิต ควบคุมระดับไขมันในเลือด และเบาหวาน ที่สำคัญควรตรวจสุขภาพเป็นประจำ ผศ.ดร.เรวดี จงสุวัฒน์ ชมรมโภชนวิทยามหิดล เปิดเผยว่า ปัจจุบันผู้บริโภคมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับผลดีผลเสียของการบริโภคน้ำมันแต่ละชนิดว่าน้ำมันชนิดใดดีต่อร่างกาย ชนิดใดไม่เหมาะสมต่อผู้ที่เป็นโรคหัวใจ เบาหวาน มะเร็ง เป็นต้น หลายคนจึงเริ่มหลีกเลี่ยงน้ำมันไม่ดีหันมาใช้น้ำมันที่มีสัดส่วนกรดไขมันชนิดดีมากขึ้น ในปริมาณที่เหมาะสมเพื่อสุขภาพที่ดี เช่น น้ำมันมะกอก น้ำมันเมล็ดชา น้ำมันคาโนล่า เป็นต้น ซึ่งพบว่าจะมีกรดไขมันดีคือชนิดไม่อิ่มตัวตำแหน่งเดียวสูง กรดไขมันไม่อิ่มตัวตำแหน่งเดียว มีผลต่อการเพิ่มคอเลสเตอรอลชนิดดี (HDL) และลดคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี (LDL) ทำให้ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดและหัวใจ กรดไขมันโอเมก้า 3 และ 6 ซึ่งเป็นกรดไขมันจำเป็น หมายถึงกรดไขมันที่ร่างกายสร้างไม่ได้ต้องได้รับจากอาหารเท่านั้น กรดไขมันโอเมก้า 3 และ6 ที่ได้จากน้ำมันทานตะวัน ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือดและเป็นสารตั้งต้นในการส้าง EPA และ DHA ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด มีส่วนช่วยให้สมองและดวงตาทำงานได้ดี ปัจจุบันนักวิจัยพบว่าร่างกายของคนเราควรบริโภคกรดไขมันชนิด โอเมก้า 3 และโอเมก้า 6 ในปริมาณที่พอเหมาะและในสัดส่วนที่สมดุลจะก่อให้เกิดประโยชน์แก่ร่างกาย โดยที่สถาบันแพทย์ University of Maryland แนะนำให้บริโภคโอเมก้า 6 : โอเมก้า 3 ในสัดส่วน 4 : 1 เพื่อความสมดุลของร่างกายและช่วยป้องกันภาวะผิดปกติของร่างกาย ธรรมชาติไม่สามารถสร้างน้ำมันที่มีกรดไขมันโอเมก้า 3 และ6 ในสัดส่วนที่เหมาะสม จึงเป็นทางเลือกใหม่ในการบริโภคน้ำมันชนิดใหม่ที่เกิดจากการผสมผสานระหว่าง "น้ำมันคาโนล่าผสมน้ำมันทานตะวัน ซึ่งน้ำมัน 2 ชนิดนี้เป็นที่ยอมรับในกลุ่มผู้รักสุขภาพว่าเป็นน้ำมันที่ดีมีคุณค่าต่อสุขภาพ โดยนำมาผสมในสัดส่วนน้ำมันคาโนล่า 4 ส่วนต่อน้ำมันทานตะวัน 1 ส่วน ซึ่งเป็นสัดส่วนที่ผ่านการค้นคว้าแล้วว่าสมดุลและเหมาะสมกับความต้องการของร่างกาย เพื่อให้ได้รับกรดไขมันโอเมก้า 3, 6 ในสัดส่วนที่เหมาะสมกับการบริโภค นอกจากนี้ Blended oil ที่เกิดจากการผสมของน้ำมันคาโนล่าและน้ำมันทานตะวันในสัดส่วนนี้ยังมีโอเมก้า 9 และวิตามินอีสูง มีจุดเดือดสูงถึง 230 องศา จึงสามารถนำมาประกอบอาหารได้หลากหลายประเภท ทั้ง ผัด ทอด ย่าง หมัก ทำน้ำสลัด เป็นต้น การเลือกบริโภคน้ำมันที่ดีจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคร้ายต่างๆ ซึ่งน้ำมันชนิดนี้มีโอเมก้า 3, 6 ในสัดส่วนที่สมดุลและเหมาะสมจึงจะเกิดประโยชน์สูงสุดต่อร่างกายและยังจะช่วยส่งเสริมสุขภาพได้ จึงอาจจะเป็นอีกหนึ่งทางเลือกของบริโภคในยุคนี้ การรู้ทันโรคร้าย หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง และปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โรคร้ายไหนๆ ก็มิอาจคุกคามคุณได้
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook