สพฐ.ร้อนใจครูละเลยสอนมุ่งติวโอเน็ต

สพฐ.ร้อนใจครูละเลยสอนมุ่งติวโอเน็ต

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
ตามที่สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) ระบุว่ามีโรงเรียนจำนวนมากไม่สนใจสอนเนื้อหาการเรียนการสอนชั้น ป.6 และ ม.3 แต่กลับกระตือรือร้นติวนักเรียนเพื่อการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐานหรือโอเน็ต ประจำปีการศึกษา 2552 ในระดับชั้น ป.6, ม.3 และ ม.6 ซึ่งจะสอบในเดือนกุมภาพันธ์นี้เพื่อหวังให้นักเรียนทำคะแนนได้ มาก ๆ ทำให้ สทศ.กังวลว่า บางโรงเรียนอาจทำในสิ่งที่ไม่สมควร เช่น บอกข้อสอบนักเรียน ซึ่งหาก สทศ.มีข้อมูลว่าโรงเรียน สนามสอบ หรือศูนย์สอบใดมีพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้องก็จะไม่ประกาศผลคะแนนสอบของนักเรียนในสนามสอบทั้งหมดนั้น ดร.ชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กล่าวว่า ตนได้ทราบเรื่องดังกล่าวแล้วแต่ส่วนตัวมองว่าตราบใดที่ครูจัดการเรียนการสอนจนครบหลักสูตรแล้วก็สามารถติวเพิ่มเติมได้นอกเวลาเรียนเพื่อเป็นการเตรียมตัวสอบให้เด็ก ซึ่งขณะที่นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการก็ส่งเสริมเรื่องนี้ เพียงแต่ต้องเป็นการติวเพื่อให้มีความรู้เพิ่มเติม ไม่ใช่ยังสอนไม่จบหลักสูตรแล้วไปติวตรงนี้ก็ถือว่าผิด

เลขาธิการ กพฐ. กล่าวต่อไปว่า กรณีที่ครูใช้ชั่วโมงเรียนในการติวเด็กเพื่อสอบโอเน็ตจะมีความผิดหรือไม่นั้น ต้องแล้วแต่กรณีหากครูสอนจนครบหลักสูตรแล้วมาติวเพื่อเตรียมความพร้อมให้เด็กก็ไม่ถือว่าผิด เพราะช่วงนี้ถือเป็นโค้งสุดท้าย อีกทั้งตัวเด็กเองก็คงต้องการความพร้อมเช่นกัน แต่ถ้ายังสอนไม่จบหลักสูตรแล้วนำชั่วโมงเรียนมาติวก็ต้องว่ากันไปตาม ระเบียบ ทั้งนี้ตนจะทำบันทึกถึงสำนักวิชาการของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เพื่อกำชับไปยังเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) ให้สอดส่องดูแลใน 2 ประเด็นคือ กรณีครูไม่สนใจการสอนในห้องเรียนแต่ใช้เวลาไปติวข้อสอบโอเน็ตให้เด็ก และ 2.ระมัดระวังเรื่องการทุจริตบอกข้อสอบแก่เด็ก.

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook