นครหลวงไทย คงน้ำหนักการลงทุนหุ้นแบงก์

นครหลวงไทย คงน้ำหนักการลงทุนหุ้นแบงก์

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

สถาบันวิจัยนครหลวงไทย : คงให้น้ำหนักการลงทุนของกลุ่มธนาคารพาณิชย์ “มากกว่าตลาด” เลือกให้ BAY เป็น Top Pick ของกลุ่ม แนะนำ “ซื้อ” รวมถึง BBL และ SCB ส่วน KTB KBANK และ TMB แนะนำ “Trading Buy” Recovery in 2010 with positive loan growth and better NIM                 สถาบันวิจัยนครหลวงไทย (SCRI) ยังคงให้น้ำหนักการลงทุนกลุ่มธนาคารพาณิชย์ “มากกว่าตลาด” โดยประเมินว่ากลุ่มธนาคารได้เข้าสู่ช่วงของการฟื้นตัวแล้วเริ่มตั้งแต่ไตรมาสสุดท้ายของปี 2552 เห็นได้จากการปล่อยสินเชื่อที่เริ่มกลับมาขยายตัวเป็นบวกจากไตรมาสก่อนได้เป็นไตรมาสแรก และคาดว่าจะมีความเด่นชัดขึ้นในปี 2553 หลังจากที่ความเปราะบางของเศรษฐกิจไทยที่ถูกเสริมให้แข็งแกร่งมากขึ้นจากการฟื้นตัวของประเทศคู่ค้าที่ช่วยทำให้ภาคส่งออกกลับมาเป็นบวก มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรัฐบาลที่จะเริ่มมีการเบิกจ่ายเงินและการเดินหน้าดำเนินการของโครงการขนาดใหญ่ซึ่งถือว่าเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนความต้องการเงินในระบบไปสู่ธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก รวมถึงภาคบริโภคประชาชน ทำให้อัตราการเติบโตของสินเชื่อที่ผู้บริหารธนาคารตั้งเป้าหมายในกรอบ 7-10% มีความเป็นไปได้ ซึ่งเมื่อผนวกกับแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยที่จะเริ่มเข้าสู่ขาขึ้นและการนำสภาพคล่องส่วนเกินไปปล่อยสินเชื่อที่ได้ผลตอบแทนสูงกว่า จะทำให้รายได้ดอกเบี้ยรับสุทธิและส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย (NIM) ดีขึ้น ทั้งนี้ SCRI คาดว่า การเติบโตของกำไรสุทธิของกลุ่มธนาคารในปี 2553 จะเติบโต 10% yoy หลังจากที่ SCRI ปรับประมาณการผลประกอบการใหม่ SCRI ยังเลือกให้ BAY เป็น Top Pick ของกลุ่ม แนะนำ “ซื้อ” รวมถึง BBL และ SCB ส่วน KTB KBANK และ TMB แนะนำ “TradingBuy”       สินเชื่อฟื้นตัวใน Q4/52                ธนาคารพาณิชย์มีกำไรสุทธิรวม 19,296 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 85% yoy จากรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นสูง 31% yoy จากรายได้ค่าธรรมเนียมบริการ และ การตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สูญฯลดลงมาก หากเทียบกับ Q3/52 พบว่าธนาคารพาณิชย์มีกำไรสุทธิลดลง 6% qoq เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานที่สูงขึ้นตามฤดูกาล ในขณะที่สินเชื่อขยายตัวดีที่สุดในรอบปีที่ 5% qoq ทำให้รายได้ดอกเบี้ยรับสุทธิฟื้นตัวขึ้น โดยเฉลี่ยผลประกอบการของธนาคารมีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 3% yoy ในปี 2552 การขยายตัวของรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยและการตั้งสำรองที่ลดลง ช่วยชดเชยกับรายได้ดอกเบี้ยและเงินปันผลสุทธิที่ลดลงจากสินเชื่อที่ไม่เติบโตและอัตราดอกเบี้ยที่ปรับลดลง  คาด กนง. ปรับขึ้นดอกเบี้ยใน Q2/53 – Q3/53             SCRI คาดว่า กนง. จะมีการตัดสินใจปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้นใน Q2/53 - Q3/53 จากแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่คาดว่าจะเริ่มมีเพิ่มสูงขึ้นมากกว่าระดับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย อาจจะส่งผลให้เริ่มมีความวิตกกังวลต่อสถานการณ์อัตราเงินเฟ้อเพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ดี ตลอดปี 2553 SCRI ยังคงประเมินว่าทาง กนง. จะมีการตัดสินใจปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้นในระดับเพียง 25-50 bps เท่านั้น ตามปัจจัยพื้นฐานของเศรษฐกิจในหลายๆด้านที่ยังคงไม่ฟื้นตัว ซึ่งจะส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายมีโอกาสที่จะปรับตัวขึ้นไปที่ระดับสูงสุดในปี 2553 ที่ 1.5 – 1.75%กำไรสุทธิปี 2553 คาดเติบโต 10% yoy               SCRI ประเมินว่า อัตราการเติบโตของสินเชื่อในปี 2553 ที่ผู้บริหารคาดไว้ที่ 7 – 10% มีความเป็นไปได้โดยจะมาจากกลุ่มรายย่อยและกลุ่มธุรกิจ SME เป็นระดับสูง ส่วนกลุ่มธุรกิจใหญ่ และ ภาครัฐคาดว่าจะมีสัญญาณเด่นในช่วงปีหลัง เมื่อรวมกับแนวโน้มของอัตราดอกเบี้ยที่คาดว่าจะปรับเพิ่มขึ้นในช่วง Q2/53 – Q3/53 จะทำให้ส่วนต่างดอกเบี้ยเริ่มกว้างขึ้น ดังนั้นคาดว่าทิศทางของรายได้ดอกเบี้ยรับสุทธิจะขยายตัวดีขึ้นจากปีก่อน นอกจากนี้ ธนาคารโอกาสในการเติบโตของปี 2553 จะมาจากธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น ตามนโยบายการขยายสินเชื่อของธนาคารแต่ละแห่ง จะทำให้รายได้ค่าธรรมเนียมและบริการคาดว่าจะขยายตัวราว 12 – 15% yoy             ทั้งนี้ SCRI คาดว่าระดับการตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สูญฯจะลดระดับลงจากปีก่อน ทำให้กำไรสุทธิของกลุ่มจะขยายตัว 10% โดย BAY จะเป็นมีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้นในระดับสูงที่สุด   BAY เป็น TOP PICK               SCRI ยังคงให้น้ำหนักการลงทุนของกลุ่มธนาคารพาณิชย์ “มากกว่าตลาด” การฟื้นตัวในด้านสินเชื่อจะเห็นต่อเนื่อง ส่วนรายได้ดอกเบี้ยรับสุทธิและส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย (NIM) จะโดดเด่นมากขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง ทั้งนี้ SCRI ยังคงเลือกให้ BAY เป็นหุ้นเด่นของกลุ่มฯจากการเติบโตของสินเชื่อรายย่อยยังมีโอกาสขยายตัวได้ดีที่สุดในช่วง 1H/53 ส่วน SCB มีความน่าสนใจในแง่ของการความสัมพันธ์ที่ดีกับธุรกิจขนาดใหญ่ โอกาสของการฟื้นตัวของกลุ่ม SME ส่วนการรุกสินเชื่อเช่าซื้อจะช่วยเสริมรายได้ในระยะสั้น สำหรับ BBL มีความน่าสนใจในแง่ของราคาหุ้นค่อนข้าง Underperformed ในปีที่ผ่านมา การฟื้นตัวของจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว เมื่อสินเชื่อของธุรกิจขนาดใหญ่เพิ่มสูงขึ้น สำหรับ KBANK และ KTB แนะนำ “ถือ” และ TMB แนะนำ “Trading Buy”

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook