นักวิจัย ม.นเรศวร พะเยา ใช้เทคโนโลยีชีวภาพ กระตุ้นปรับปรุงพันธุ์ดอกกระเทียมเถา

นักวิจัย ม.นเรศวร พะเยา ใช้เทคโนโลยีชีวภาพ กระตุ้นปรับปรุงพันธุ์ดอกกระเทียมเถา

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
นักวิจัยมหาวิทยาลัยนเรศวร พะเยา ใช้เทคโนโลยีชีวภาพ กระตุ้นปรับปรุงพันธุ์ดอกกระเทียมเถา พร้อมเตรียมพัฒนาประยุกต์ใช้ปรับปรุงพันธุ์ไม้ดอกเศรษฐกิจชนิดอื่น นายวีระชัย ตีรอรุณศรี เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการชีวโมเลกุล มหาวิทยาลัยนเรศวร พะเยา กล่าวถึงผลงานการวิจัยการปรับปรุงพันธุ์พืชสายพันธุ์ใหม่โดยใช้เทคโนโลยีชีวภาพ ว่า การปรับปรุงพันธุ์ดังกล่าวเป็นการกระตุ้นให้เกิดการกลายพันธุ์ของดอกกระเทียมเถาให้มีลักษณะกลีบดอกหลายชั้นหรือมีกลีบดอกเพิ่มเป็น 6-7 กลีบและเกสรตัวผู้เพิ่มขึ้นเป็น 6 อัน ซึ่งในธรรมชาติดอกกระเทียมเถาจะมีกลีบดอกชั้นเดียวและมีจำนวน 5 กลีบ มีจำนวนเกสรตัวผู้เพียง 4 อันเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ขณะนี้อยู่ในระหว่างการศึกษายีนที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมลักษณะดอกดังกล่าว เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ปรับปรุงพันธุ์ไม้ดอกเศรษฐกิจชนิดอื่น อาทิ กล้วยไม้ เป็นต้น สำหรับกระเทียมเถา หรือ Garlic vine เป็นไม้พื้นเมืองของประเทศบราซิล ชื่อกระเทียมของดอกไม้ชนิดนี้ ตรงตัวกับคุณสมบัติที่ดอกใบและรากเมื่อขยี้จะมีกลิ่นออกมาเช่นเดียวกับกระเทียม สามารถนำไปใช้ปรุงอาหารแทนกระเทียมได้แต่ไม่นิยม นอกจากนี้ ไม้ดอกชนิดนี้ยังมีประโยชน์ใช้ทำยาลดไข้ เจ็บคอและแก้คันตามตัว อีกทั้งมีความเชื่อว่าไม้ชนิดนี้ช่วยกำจัดโชคร้ายให้หายไปอีกด้วย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook