บทวิเคราะห์ : แนวทางการรับมือปัญหาภัยแล้งในไทย (ตอนที่ 1)

บทวิเคราะห์ : แนวทางการรับมือปัญหาภัยแล้งในไทย (ตอนที่ 1)

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
ที่ผ่านมาหลายหน่วยงานออกมาย้ำเตือนถึงปัญหาภัยแล้งว่า ในปี 2553 ประเทศไทยต้องเผชิญกับปัญหาภัยแล้งอย่างหนัก และอาจเป็นปีที่ไทยต้องเผชิญผลกระทบจากการสูญเสียผลผลิตทางการเกษตรมากที่สุดปีหนึ่ง โดยกรมชลประทาน เปิดเผยว่า มีข้อบ่งชี้หลายอย่างว่าสถานการณ์ภัยแล้งปีนี้จะรุนแรงและยาวนานกว่าทุกปีและอาจรุนแรงกว่าปี 2537 ที่ขาดแคลนน้ำอย่างหนัก โดยเฉพาะปัจจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทั่วโลกที่มีความแปรปรวนสูง รวมทั้งปรากฏการณ์เอลนินโญทำให้เกิดภาวะฝนทิ้งช่วงไปถึงกลางปี ขณะที่ ข้อมูลจากฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศการเตือนภัย สำนักบริหารและพัฒนาการใช้ที่ดิน คาดการณ์ว่าในปี 2553 จะเกิดสภาวะแห้งแล้งขึ้นในหลายจังหวัด โดยเฉพาะในภาคกลางและภาคเหนือตอนล่าง อันเนื่องมาจากหลายสาเหตุรวมถึงปริมาณน้ำฝนที่น้อยกว่าปกติในปี 2552 ทำให้ไม่สามารถกักเก็บน้ำไว้ได้ ทั้งนี้ มีอยู่ 6 จังหวัดเสี่ยงที่รัฐบาลต้องวางแผนช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน คือ กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ ลพบุรี สระบุรี สระแก้ว และ ประจวบคีรีขันธ์ ในแต่ละจังหวัดจะแบ่งพื้นที่เสี่ยงภัยเป็น 4 ระดับ จากน้อยไปหามาก คือ พื้นที่สีเขียวอ่อนมีโอกาสเกิดสภาะแห้งแล้งระดับ 1 สีเหลืองระดับ 2 สีส้มระดับ 3 และสีแดงระดับ 4 ซึ่งเป็นระดับสูงสุด จ.กำแพงเพชร มี 4 อำเภอที่จะเกิดภัยแล้งระดับรุนแรง หรือสีแดง คือ อ.คลองลาน จากพื้นที่ทั้งหมด 6 แสนไร่ มีพื้นที่กว่าร้อยละ 50 ที่จะประสบภัยแล้งมาก หรือประมาณ 2.7 แสนไร่ เช่นเดียวกับที่ อ.ขาณุวรลักษบุรี และ อ.ปางศิลาทอง รวมถึง อ.เมือง จะมีพื้นที่สีแดงมากถึง 1.7 แสนไร่ จ.เพชรบูรณ์ พื้นที่กว่าร้อยละ 60-70 ของ อ.ชนแดน อ.วังโป่ง และอ.บึงสามพัน จะประสบภัยแล้งตั้งแต่ระดับ 2-4 จ.ลพบุรี พบ 5 อำเภอที่จะเผชิญวิกฤต คือ อ.ชัยบาดาล อ.พัฒนานิคม อ.โคกเจริญ อ.หนองม่วง และ อ.ลำสนธิ ซึ่งเกือบทั้งพื้นที่ของ 5 อำเภอจะเป็นภัยแล้งระดับ 3-4 โดยเฉพาะ อ.โกเจริญ พื้นที่ 1.9 แสนไร่จะเกิดภัยแล้งอย่างรุนแรง จ.สระบุรี พื้นที่สีแดงที่ อ.มวกเหล็ก อ.วังม่วง และอ.แก่งคอย จ.ประจวบคีรีขันธ์ อ.หัวหิน จะประสบภัยแล้งรุนแรงเช่นกัน โดยพื้นที่เกือบทั้งหมด 3.29 แสนไร่ ต้องเผชิญภัยแล้ง โดยแบ่งเป็นระดับ 4 ประมาณ 1.39 แสนไร่ ระดับ 3 จำนวน 1.76 แสนไร่ ระดับ 2 จำนวน 1.3 หมื่นไร่ ปัญหาภัยแล้งในปีนี้ จะมีความรุนแรงมากกว่าปีที่ผ่านมา และพืชผลทางการเกษตรไทยจะเสียหายมากเพียงใด สำนักข่าวแห่งชาติ จึงได้ทำการสอบถาม ดร.อนันต์ ดาโลดม นายกสมาคมพืชสวนแห่งประเทศไทย ถึงสถานการณ์น้ำในประเทศไทย โดยดร.อนันต์ กล่าวว่า แน่นอนว่าปีนี้ไทยต้องเผชิญกับปัญหาภัยแล้งมากกว่าปีที่ผ่านมา เนื่องจากปริมาณน้ำฝนในปีนี้มีปริมาณต่ำกว่าค่าปกติ ดังนั้นไทยจึงต้องเผชิญกับปัญหาน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค และเพื่อการเกษตร โดยเฉพาะในพื้นที่นอกเขตชลประทาน แหล่งน้ำในไทย...กับการเก็บกักน้ำไว้เพื่อใช้ประโยชน์??? แต่หากมองในความเป็นจริงเรื่องของความสมบูรณ์ของน้ำในประเทศไทยนั้น นายกสมาคมพืชสวนแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ประเทศไทยถือได้ว่ามีความอุดมสมบูรณ์ด้านน้ำมากที่สุดประเทศหนึ่งในภูมิภาคเอเชีย เพราะประเทศไทยมีลุ่มน้ำหลักที่มีน้ำไหลผ่านตลอดทั้งปีมากถึง 25 ลุ่มน้ำหลัก แต่ในยามที่น้ำมากเรากลับมีการกักเก็บน้ำเพื่อใช้การชลประทานและในยามคับขันน้อยมาก ทำให้เมื่อถึงช่วงฤดูแล้งไทยต้องประสบปัญหาทางการเกษตร นอกจากนี้ ประเทศ ไทยมีปริมาณน้ำผิวดินที่เกิดจากฝนตกประมาณ 8 แสนล้านลูกบาศก์เมตรในแต่ละปี แต่วันนี้เราจัดเก็บน้ำได้ประมาณ 5 หมื่นล้านลูกบาศก์เมตร ที่เหลือปล่อยให้ไหลลงสู่มหาสมุทร ทำให้น้ำต้องสูญเสียไปอีกเกือบครึ่งหนึ่ง ทั้งที่ในความเป็นจริงเราควรมีการกักเก็บไว้ใช้ได้ "ทั้งๆ ที่ไทยเป็นประเทศที่มีแหล่งน้ำมากแห่งหนึ่งของโลก แต่เรากลับเป็นประเทศทีมีปัญหาควาแห้งแล้งไม่แพ้ประเทศอื่นที่ไม่มีน้ำอย่างไม่น่าเชื่อ ดร.อนันต์กล่าว ดังนั้น เพราะเหตุใดประเทศไทยจึงมีปัญหาด้านการเก็บกักสำรองน้ำไว้เพื่อใช้ประโยชน์ ???? ปริมาณน้ำสำรองกับความต้องการใช้น้ำในประเทศไทย!!!! หากสรุปปัญหาด้านการชลประทานของไทย อาจสรุปได้ว่าไทยมีปัญหา 2 ประเด็นใหญ่ คือ ปัญหาด้านการบริหารจัดการน้ำที่ยังขาดการบริหารอย่างรัดกุม และปัญหาด้านแหล่งกักเก็บน้ำที่มีไม่เพียงพอกับพื้นที่ทางการเกษตร ปัญหาด้านการบริหารจัดการน้ำ - ปัจจุบันประเทศไทยมีการเก็บกักสำรองน้ำไว้ตามเขื่อนชลประทานต่างๆ แต่ในความเป็นจริงน้ำในเขื่อนชลประทานไม่ได้ถูกนำมาใช้เพื่อการเกษตรเพียงอย่างเดียว แต่ยังต้องใช้เพื่อการผลิตกระแสไฟฟ้า การเกษตร การประมง เป็นต้น จึงต้องมีการแบ่งสรรปันส่วนน้ำให้ลงตัวเพื่อให้เกิดประโยชน์การใช้สอยอย่างสูงที่สุด ปัญหาแหล่งกักเก็บน้ำไม่เพียงพอ - ดร.อนันต์ กล่าวว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีพื้นที่ทางการเกษตรกว่า 130 ล้านไร่ แต่มีพืนที่ชลประทานเพียง 30 ล้านไร่ หรือประมาณปะมาณร้อยละ 25 ของพื้นที่การเกษตรเท่านั้น ซึ่งถือได้ว่าน้อยมาก ดังนั้น เมื่อถึงหน้าแล้งพื้นที่ในการเกษตรที่มีน้ำเพียงพอสำหรับการเพาะปลูก จะมีเพียงแค่ครึ่งดียว ทำให้วิกฤตเรื่องน้ำเป็นปัญหามานานจนถึงปัจจุบัน จากทั้งหมดนี้ ทางออกในการแก้ปัญหาด้านน้ำของไทย ควรเป็นไปในทิศทางใด ติดตามได้ใน บทวิเคราะห์ : แนวทางการรับมือปัญหาภัยแล้งในไทย (ตอนที่ 2) ตอน แนวทางการแก้ปัญหาน้ำในประเทศไทย!!!! ในตอนต่อไป
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook