ผอ.สถาบันวิจัยซินโครตรอนคนใหม่ มุ่งพันธกิจแรกเสริมศักยภาพให้ไทยมีภูมิคุ้มกันทางเทคโนโลยี

ผอ.สถาบันวิจัยซินโครตรอนคนใหม่ มุ่งพันธกิจแรกเสริมศักยภาพให้ไทยมีภูมิคุ้มกันทางเทคโนโลยี

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยซินโครตรอนคนใหม่ มุ่งพันธกิจแรกเสริมศักยภาพให้ไทยมีภูมิคุ้มกันทางเทคโนโลยี ตั้งเป้าขยายสถานีลำแสง 5-6 สถานี เอื้อประโยชน์ให้กับภาคอุตสาหกรรม พร้อมร่วมมืองานวิจัยด้านซินโครตรอนระดับอาเซียน รศ.ดร.ชัยวิทย์ ศิลาวัชนาไนย ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวภายหลังเข้ารับตำแหน่งอย่างเป็นทางการครั้งแรกภายหลังตำแหน่งนี้ว่างเว้นมานาน 1 ปี ว่า ตนเองจะมุ่งเน้นพัฒนาและเสริมศักยภาพด้านงานวิจัยพัฒนาให้เป็นเสมือนภูมิคุ้มกันทางเทคโนโลยีให้กับประเทศ โดยเบื้องต้นจะขยายสถานีลำแสง หรือ บีมไลน์ ประมาณ 5-6 สถานี จากเดิมที่มีอยู่ 2 แห่ง เพื่อเน้นเอื้อประโยชน์ให้กับภาคอุตสาหกรรม ตลอดจนสร้างเครือข่ายพันธมิตรกับมหาวิทยาลัย เบื้องต้นจะร่วมกับ 2 แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ที่มีความเชี่ยวชาญงานวิจัยยางธรรมชาติ รวมทั้ง ยังร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ใช้เทคโนโลยีซินโครตรอนวิเคราะห์คุณภาพเส้นใย สิ่งทอ โดยมุ่งสร้างความเชื่อมั่นด้านคุณภาพให้กับทั้ง 2 ภาคอุตสาหกรรม แต่ด้วยข้อจำกัดของประเทศไทยที่มีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเพียง 2-3 คนเท่านั้น จึงมองว่าต้องทำงานคู่ขนานร่วมกับนักวิจัยกับต่างประเทศ ซึ่งเป็นส่วนที่สำคัญ โดยในปีที่ 4 ยังตั้งเป้าสร้างความร่วมมือระดับอาเซียนด้านซินโครตรอน โดยหาเครือข่ายต่างชาติร่วมลงทุนด้านการวิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับประเทศที่สนใจ แต่ขาดแคลนเครื่องมือ โดยมั่นใจว่าประเทศไทยมีศักยภาพเหนือประเทศในแถบอาเซียน อาทิ เทคโนโลยีสูญญากาศ ฮีเลียมเหลว เทคนิคการเชื่อมชนิดพิเศษ นอกจากนี้ ยังได้เดินหน้าพัฒนาระบบคลื่นแม่เหล็กวิทยุกำลังส่งต่ำ สำหรับประวัติของรศ.ดร.ชัยวิทย์ ศิลาวัชนาไนย จบการศึกษาสูงสุดในระดับปริญญาเอก สาขาฟิสิกส์พลาสมา โดยได้รับทุนศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยฟลินเดอร์ส ประเทศออสเตรเลีย และมีประสบการณ์การทำงานที่โดดเด่น เป็นนักฟิสิกส์พลาสม่าคนแรกของประเทศไทยที่เชี่ยวชาญเทคโนโลยีสูญญากาศ และเทคโนโลยีเลเซอร์ ซึ่งรศ.ดร.ชัยวิทย์ มั่นใจว่าจะช่วยเสริมศักยภาพการทำงานของสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอนได้เป็นอย่างดี เนื่องจากเทคโนโลยีดังกล่าวเป็นเทคโนโลยีพื้นฐานของซินโครตรอนอยู่แล้ว
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook