คณะกรรมการกำลังคนด้านสุขภาพแห่งชาติ เปิดเวทีสาธารณะรับฟังความคิดเห็น การผลิตแพทย์นานาชาติ สังคมได้อะ

คณะกรรมการกำลังคนด้านสุขภาพแห่งชาติ เปิดเวทีสาธารณะรับฟังความคิดเห็น การผลิตแพทย์นานาชาติ สังคมได้อะ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
คณะกรรมการกำลังคนด้านสุขภาพแห่งชาติ เปิดเวทีสาธารณะรับฟังความคิดเห็น "การผลิตแพทย์นานาชาติ:สังคมได้อะไร ก่อนการพิจารณาในปีการศึกษานี้ นายแพทย์มงคล ณ สงขลา ประธานคณะกรรมการกำลังคนด้านสุขภาพแห่งชาติ กล่าวภายหลังการสัมมนา "การผลิตแพทย์นานาชาติ:สังคมได้อะไร ในวันนี้ (9 ก.พ.) ว่า ประเทศไทยยังขาดแคลนแพทย์ในขั้นวิกฤต แม้ในแต่ละปีจะผลิตแพทย์ได้ปีละ 2,000 คนแต่ก็ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการที่แพทย์ 1 คนต่อการดูแลประชาน 1,500 คน ซึ่งการเปิดหลักสูตรแพทย์นานาชาติเชื่อว่า จะทำให้เกิดผลกระทบต่อการกระจายแพทย์ไปยังชนบทมากขึ้น ส่งผลต่อความเหลื่อมล้ำด้านระบบสาธารณสุขของประชาชน นอกจากนี้การศึกษาหลักสูตรแพทย์นานาชาติจำเป็นต้องใช้เงินทุนในการศึกษาจำนวนมาก เมื่อจบการศึกษาย่อมมุ่งทำงานในโรงพยาบาลเอกชน หรือออกไปทำงานในต่างประเทศ มากกว่าสร้างคุณให้เกิดแก่สังคม นายแพทย์มงคล กล่าวว่า แม้ไม่มีหลักสูตรแพทย์นานาชาติ ประเทศไทยก็สามารถพัฒนาระบบการศึกษาแพทย์ให้เป็นมาตรฐานสากลได้ ซึ่งสิ่งที่ต้องคำนึงมากว่า ในขณะนี้คือ พัฒนาคนดีให้เป็นเก่งมากกว่าทำคนเก่งให้เป็นคนดี ด้านนายแพทย์ปัญญา กีรติหัถยากร ที่ปรึกษาอาวุโสสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กล่าวว่า การเปิดหลักสูตรนานาชาติในมหาวิทยาลัยของรัฐบาล นักศึกษาแพทย์ทุกคนที่จบมาจำเป็นต้องทำงานใช้ทุนเป็นเวลา 3 ปี จึงเชื่อว่าหลักสูตรแพทย์นานาชาติไม่กระทบกับระบบหลักประกันสุขภาพ แม้จะมีการเปิดหลักสูตรแพทย์ในประเทศไทยก็ตาม และนอกจากนี้ไม่ว่าจะจบแพทย์จากที่ใด จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องสอบใบประกอบโรคศิลป์ที่เป็นภาษาไทยให้ได้ ตามข้อกำหนดของแพทยสภา ขณะที่โพลความคิดเห็นของประชาชนกับหลักสูตรแพทย์นานาชาติ ที่ทางสช.ร่วมกับเอแบคโพล ระบุ ว่า ร้อยละ 91.7 ไม่ทราบข่าวการเปิดหลักสูตร ร้อยละ 77.1 สนับสนุนให้เปิด ร้อยละ 11.9 ไม่สนับสนุน และร้อยละ 89.2 เห็นด้วยที่จะให้เปิดรับฟังความคิดเห็นก่อนการเปิดหลักสูตรแพทย์นานาชาติในสถาบันการศึกษาของรัฐบาล
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook