นักวิจัยจาก ม.นครพนม พัฒนาเครื่องตรวจวัตถุระเบิดใช้งานแทนจีที 200

นักวิจัยจาก ม.นครพนม พัฒนาเครื่องตรวจวัตถุระเบิดใช้งานแทนจีที 200

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยนครพนม พัฒนาเครื่องตรวจวัตถุระเบิดใช้งานแทนจีที 200 เตรียมเสนอของบจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติต่อยอดศึกษาวิจัย ศ.เกียรติคุณ ดร. ถิรพัฒน์ วิลัยทอง ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านฟิสิกส์ สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษาแห่งชาติ อดีตผู้อำนวยการศูนย์วิจัยนิวตรอนพลังงานสูง ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวถึงผลการตรวจสอบจีที 200 ที่ไม่สามารถทำงานได้ว่า จากการทดสอบได้เพียงแค่ 4 ครั้งจาก 20 ครั้ง ถือว่าเป็นการสุ่ม ซึ่งตามหลักแล้วไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องก็ได้ โดยภายหลังจากนี้ต้องศึกษาหาเครื่องตรวจระเบิดรูปแบบใหม่มาใช้ทดแทน ซึ่งขณะนี้ดร.วรสิทธิ์ อุชัย อาจารย์ประจำคณะศิลปะศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม ได้วิจัยและพัฒนาเครื่องตรวจหาวัตถุระเบิดที่อาศัยนิวตรอนหรือสารกัมมันตภาพรังสีในการค้นหามาเป็นเวลา 2 ปี คาดว่าจะพัฒนาสำเร็จในอีก 2 ปีข้างหน้า โดยอยู่ระหว่างรองบประมาณวิจัยเพิ่มเติม ด้านดร.วรสิทธิ์ อุชัย กล่าวว่า ขณะนี้เตรียมเสนอของบประมาณ 5,000 ล้านบาท กับสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ(วช.) ศึกษาความเป็นไปได้โครงการพัฒนาเครื่องตรวจวัตถุระเบิดบนดิน โดยจะศึกษาความแตกต่างระหว่างเครื่องดังกล่าวกับเครื่องจีที 200 เบื้องต้นได้ศึกษาหลักการทางฟิสิกส์ที่อาศัยนิวตรอน หรือสารกัมมันตภาพรังสีในการค้นหา โดยจะยิงนิวตรอนไปที่วัตถุต้องสงสัย และสแกนเพื่อทำปฏิกิริยาทางนิวเคลียร์กับสารที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของวัตถุระเบิด โดยปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นจะปล่อยรังสีแกมมาออกมา หากพบว่ามีวัตถุต้องสงสัย ทั้งนี้ ทำให้หลายฝ่ายยังกังวลถึงผลกระทบของรังสีที่แผ่ออกมา รวมถึงการตรวจต้องทำแบบประชิดวัตถุ โดยคาดว่าอาจต้องใช้เทคนิคทางเคมีร่วมในการศึกษา
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook