สกอ.ยอมรับ TQF ทำให้ต้องทำงานซ้ำซ้อน

สกอ.ยอมรับ TQF ทำให้ต้องทำงานซ้ำซ้อน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
รศ.นพ.กำจร ตติยกวี รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) กล่าวถึงกรณีที่อาจารย์มหาวิทยาลัย 28 สถาบัน ลงชื่อขอให้สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ทบทวนกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาหรือ TQF ว่า สกอ.ได้พัฒนา TQF มา 5-6 ปีก่อนประกาศใช้ในปี 2552 โดยมีต้นแบบจากออสเตรเลีย ซึ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ที่ตัวนักศึกษาควรจะมีลักษณะพึงประสงค์ 5 ประการ คือ 1.คุณธรรม จริยธรรม 2.ความรู้ 3.ทักษะทางปัญญา 4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ และ 5.ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ อย่างไรก็ตามยอมรับว่า TQF ทำให้อาจารย์ต้องรับการตรวจสอบและถูกประเมินจากหายหน่วยงานทำให้ต้องทำงานซ้ำซ้อน สกอ. จึงได้เสนอคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) เพื่อปรับปรุงแล้ว

ศ.ดร.ประสาท สืบค้า อธิการบดี ม.เทคโนโลยี สุรนารี (มทส.) ประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) กล่าวว่า ที่มาของการทำหนังสือมาจากการที่มหาวิทยาลัยมหิดล (มม.) นำเข้าหารือในที่ประชุม ทปอ.ถึงปัญหาการกรอกเอกสารจำนวนมหาศาลที่สร้างภาระให้แก่อาจารย์ ซึ่งดูเหมือนนายชัยวุฒิ บรรณวัฒน์ รมช.ศึกษาธิการ จะทราบความอึดอัดใจของอาจารย์ จึงเคยบอกว่ากรอบ TQF ทำขึ้นโดยมีเป้าหมายเพื่อคัดกรองมหาวิทยาลัยต่างประเทศที่มุ่งเข้ามาทำธุรกิจการศึกษาโดยขาดมาตรฐาน รวมถึงสถาบันการศึกษาที่เปิดหลักสูตรเพื่อมุ่งหารายได้แบบการันตีกับผู้เรียนว่า จ่ายครบ จบแน่ ซึ่งส่วนตัวตนก็เห็นด้วยที่จะทำให้หลักสูตรได้มาตรฐาน แต่วิธีการในทางปฏิบัติคงต้องปรับปรุง มิฉะนั้น จะเกิดการต่อต้านจากอาจารย์

ถ้าไม่มีการปรับปรุงจะส่งผลกระทบต่อหลักสูตรการเรียนการสอนที่จะไม่มีการปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่เสมอ ดังนั้น สกอ. จึงต้องหารือกับ ทปอ. ซึ่งในการประชุมทปอ. เดือนเมษายนจะหารือเรื่องนี้อีกครั้ง ศ.ดร. ประสาท กล่าว.

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook