ไปพิพิธภัณฑ์ของปลอม

ไปพิพิธภัณฑ์ของปลอม

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
หยุดซื้อ-ขายมือถือปลอม

พิพิธภัณฑ์ของปลอมแห่งนี้ตั้งอยู่ชั้น 26 ศุภาลัยแกรนด์ทาวเวอร์ ถนนพระราม 3 ซึ่งเป็นสำนักงานกฎหมายติลิกี แอนด์ กิบบินส์ อินเตอร์เนชั่นแนล ทำหน้าที่ดูแลลิขสิทธิ์ทรัพย์สินทางปัญญาให้สินค้าทั้งในและต่างประเทศ โทรศัพท์มือถือโนเกียก็เป็นหนึ่งในลูกค้าของสำนักงานกฎหมายแห่งนี้

ในการสัมมนาเรื่อง หยุดซื้อ-ขายมือถือปลอม จัดโดยโนเกีย ประเทศไทย ที่พิพิธภัณฑ์ของปลอม

นางดารานีย์ วัจนะวุฒิวงศ์ หุ้นส่วนร่วมบริหาร กรรมการผู้จัดการแผนกทรัพย์สินทางปัญญาติลิกี แอนด์ กิบ บินส์ อินเตอร์เนชั่นแนล กล่าวว่า กฎหมายเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาไม่ได้ มีแค่เรื่องลิขสิทธิ์อย่างเดียว ยังมีเครื่องหมายการค้าและ อื่น ๆ กฎหมายเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ที่ประชาชนรู้จักและคุ้นเคยกันดีก็คือ กฎหมายการค้า กฎหมายสิทธิบัตรและลิขสิทธิ์

สำหรับปัญหาโทรศัพท์มือถือปลอม ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นทุกวัน ทั้งการปลอมและเลียนแบบ ละเมิดลิขสิทธิ์เครื่องหมายการค้า

โทรศัพท์มือถือหนึ่งเครื่อง มีทรัพย์สินทางปัญญาตั้งแต่กล่อง ภาพประกอบ ข้อมูลบรรยายสินค้า การออกแบบ ฯลฯ ทุกชิ้นส่วนมีความคุ้มครองตามกฎหมาย สำหรับในประเทศไทยโนเกียมีลิขสิทธิ์ต้องคุ้มครองประมาณ 300 รายการ หากรวมทั่วโลกคงหลายพันรายการ

นางดารานีย์ ยอมรับว่า สินค้าปลอมก่อให้เกิดผลกระทบหลายด้าน ทั้งภาพลักษณ์ด้านการลงทุน หากไทยไม่บังคับใช้กฎหมายลิขสิทธิ์อย่างเข้มแข็ง รวมถึงลดแรงจูงใจในการออกแบบความคิดสร้างสรรค์ เพราะขายของปลอมกำไรดีแถมโทษยับากว่าขายยาเสพติด

ด้านนายจิรพัฒน์ จันทร์เจิดศักดิ์ ผู้จัดการธุรกิจบริการ โนเกีย ประเทศไทย มีคำแนะนำว่า โนเกียได้รณรงค์ให้ผู้ซื้อหลีกเลี่ยงมือถือปลอม และผู้ขายหยุดขายของปลอม ปัจจุบันโทรศัพท์มือถือปลอมมีทั้งใช้ตราสินค้าโนเกีย โดยใช้ชื่อรุ่นที่มีขายในตลาด และสร้างรุ่นขึ้นมาเอง เช่น โนเกีย N99 หรือใช้ตราสินค้าใกล้เคียงกับโนเกีย เช่น Nckia, Nokla, Nokai

แม้แต่รุ่นสองซิม ดูทีวีได้ มีเสาอากาศก็ยังมีขาย ทั้ง ๆ ที่โนเกียยังไม่เคยทำ

จากข้อมูลสำรวจตลาดในประเทศของโนเกียพบว่า ตามศูนย์การค้าขนาดใหญ่ที่ขายมือถือ โดยเฉพาะตามตู้ในห้างและซื้อขายผ่านออนไลน์ มีปริมาณมือถือปลอมมากขึ้นเรื่อย ๆ ทุกเดือน

รุ่นที่โดนปลอมมากที่สุด คือ รุ่นที่ขายดีที่สุด

ช่องทางที่มือถือปลอมเข้ามาในไทยก็คือ ทางเรือ เช่น ท่าเรือแหลมฉบัง ทางรถ ทางเครื่องบิน จับได้ทีเป็นตู้คอนเทเนอร์ ส่วนใหญ่เดินทางมาจากจีนและตามแนวชายแดนภาค เหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

โนเกียยืนยันว่า โทรศัพท์มือถือปลอมจะไม่ได้รับการบริการจากโนเกียแคร์ แม้ผู้ขายจะรับประกันว่าสามารถนำเข้าศูนย์โนเกียได้ จึงอย่าไปหลงเชื่อคำลวงที่บอกว่า เป็นรุ่นใหม่เพิ่งเอามาจากโรงงาน เมืองไทยยังไม่มีขาย ฯลฯ เพราะโนเกียไม่เคยขายมือถือจากโรงงานโดยตรง

วิธีการตรวจสอบและหลีกเลี่ยงการซื้อมือถือปลอมเบื้องต้นก็คือ ควรซื้อจากตัวแทนจำหน่ายของโนเกีย ที่มีใบรับประกัน ที่สำคัญเก็บใบเสร็จเอาไว้ หากมีปัญหาจะได้สะสางกันได้ ราคาก็เป็นอีกปัจจัย หากราคาท้องตลาดสงหมื่นกว่าแล้วซื้อได้ในราคา 5,000 บาท ก็ให้เชื่อมั่นว่า ปลอมชัวร์

บางคนอาจจะตั้งใจซื้อหรือบางคนอาจจะรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ก็ให้พึงระวังเพราะส่วนที่อันตรายที่สุดของมือถือปลอมก็คือ แบตเตอรี่ซึ่งร้อนจนระเบิดใส่ตัวเป็นข่าวมาแล้วหลายราย รวมถึงระดับการแผ่รังสีหรือค่า SAR

หากเราเป็นผู้ซื้อหรือใช้มือถือปลอม ไม่มีความผิดตามกฎหมาย แต่ให้ระวังอันตรายขณะใช้งาน ส่วนผู้ขายนั้นมีโทษทั้งจำและปรับ

เสร็จจากสัมมนา ได้เดินดูพิพิธภัณฑ์ของปลอม แทบไม่น่าเชื่อว่า เราจะมีสินค้าปลอมมากมายขนาดนี้ แม้แต่รถมอเตอร์ไซค์ ก็ยังปลอมกันทั้งนั้น รวมทั้งเสื้อผ้า กระเป๋า รองเท้า เครื่องสำอาง ยา เครื่องใช้ไฟฟ้า หลอดไฟ โทรศัพท์มือถือ นอกจากจะปลอมกันทั้งเครื่องแล้ว ยังมีแบตเตอรี่ปลอม หน้ากากมือถือปลอม

มือถือรุ่นที่ปลอมได้เนียนมาก ๆ ก็คือ โนเกียรุ่น อี 71 เอามาเทียบกันจะจะ รับรองว่าแยกไม่ออกว่าอันไหนจริงอันไหนปลอม หากไม่ เปิดเครื่องพิสูจน์

สำหรับผู้เขียน ตัวจริงนะไม่ใช่ตัวปลอม.

ปรารถนา ฉายประเสิรฐ

prathana.chai@gmail.com

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook