จากไส้เดือนดินสู่ไส้เดือนเหล็ก

จากไส้เดือนดินสู่ไส้เดือนเหล็ก

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
เก็บตกจากงาน มหกรรมประกวดเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ครั้งที่ 9 ที่ถือเป็นเวทีรวมการแสดงพลังความสามารถของบรรดาเยาวชนระดับหัวกะทิด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ

รวมหลากหลายกิจกรรมการประกวดด้านไอซีที ซึ่งมีกว่า 192 ผลงานเข้าร่วมแสดงผลงาน ซึ่งศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอ นิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือเนคเทค และพันธมิตร อาทิ ซิป้าหรือสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ รวม ถึงบริษัทอินเทล ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ ได้ประกาศผลผู้ได้รับรางวัลประจำปีนี้กันไปเรียบร้อยแล้ว

แต่ก็ยังมีอีกหลายผลงานที่น่าสนใจ แม้ไม่ได้รับรางวัล อย่างเช่น โครงงาน จากไส้เดือนดินสู่ไส้เดือนเหล็ก หนึ่งในสามโครงงานด้านวิศวกรรม ศาสตร์ที่ผ่านเข้ารอบสุดท้ายในประเภทบุคคล จากการประกวด โครงงานของนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ครั้งที่ 12 หรือ YSC2010

....แค่เดินผ่านบูธจัดแสดง ก็สามารถเรียกความสนใจคนชอบเทคโนโลยี หุ่นยนต์ให้ต้องกลับเข้าไปดู ว่าไส้เดือนดินเกี่ยวข้องอย่างไรกับหุ่นยนต์ต้นแบบที่นำมาโชว์

นายภัควิน แม้นสุขมณี หรือน้องแชมป์ นักเรียน ม.5 จากโรงเรียนเตรียม อุดมศึ เจ้าของผลงานบอกถึงแนวคิด ของโครงงานนี้ว่า เราสามารถนำลักษณะการ เคลื่อนที่ของไส้เดือนดินมาพัฒนาเป็นหุ่นยนต์ที่สามารถเคลื่อนที่ได้จริง โดยไม่ต้องมีล้อ

น้องแชมป์ บอกว่า ในปีที่ผ่านมาที่โรงเรียนมีการศึกษาถึงข้อมูลการเคลื่อนที่ของไส้เดือนดิน ทำให้เกิดความคิดที่จะนำลักษณะการเคลื่อนที่ที่ศึกษาได้มาออกแบบประยุกต์เป็นระบบขับเคลื่อนในตัวหุ่นยนต์ ซึ่งอนาคตจะต่อยอดนำไปสร้างเป็นหุ่นยนต์ที่มีความสามารถในการทำงานแทนมนุษย์ เช่น การ ใช้เป็นระบบขุดเจาะ หรือทำระบบสำรวจใต้ดินได้

จากการศึกษาการเคลื่อนที่ของไส้เดือนดิน พบว่าไส้เดือนมีกล้ามเนื้อ 2 ชุดคือ กล้ามเนื้อวงรอบตัว (circular muscle) อยู่ทางด้านนอก และกล้ามเนื้อตามยาว (longitudinal muscle) ตลอด ลำตัวอยู่ทางด้านใน นอกจากนี้ไส้เดือนดินยังใช้เดือย (setae) ซึ่งเป็นโครงสร้างเล็ก ๆ ที่ยื่นออกจากผนังลำตัวรอบปล้องช่วยในการเคลื่อนที่ โดยเป็นตัวสร้างแรงเสียดทาน

การยืดหดของกล้ามเนื้อสามารถสร้างแรงผลักไปข้างหน้าได้

จากการศึกษาไส้เดือนดิน ประกอบกับความรู้ด้านการพัฒนาหุ่นยนต์ที่สนใจศึกษามากว่า 2 ปี ได้นำออกแบบ สร้างจงและทดลองในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา พบว่า สามารถสร้างหุ่นยนต์ต้นแบบที่มีลักษณะการเคลื่อนที่คล้ายกับไส้เดือนดินได้เป็นผลสำเร็จ

และเมื่อนำไปเปรียบเทียบประสิทธิ ภาพกับหุ่นยนต์ที่ใช้ล้อ เคลื่อนที่ในพื้นที่ที่มีพื้นผิวลักษณะเดียวกันพบว่า หุ่นยนต์ไส้เดือนต้นแบบนี้สามารถสร้างแรงผลักออกไปด้านหน้าได้มากกว่าหุ่นยนต์ที่ใช้ล้อในการเคลื่อนที่อีกด้วย

น้องแชมป์ บอกอีกว่า นอกจากการส่งประกวดในครั้งนี้แล้ว ยังมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างหุ่นยนต์ที่เคลื่อนที่เหมือนไส้เดือนดินมากที่สุด และสามารถลงไปใต้ดินได้ รวมถึงจะเน้นการพัฒนาที่ประหยัดพลัง งานมากขึ้น

เห็นไอเดียและฝีมือของเยาวชนยุคใหม่ ทึ่งหรือยัง!!!.

นาตยา คชินทร

nattayap@dailynews.co.th

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook