อาฟต้ากับเกษตรกรไทย (ตอนจบ) : แนวทางการรับมือจากผลกระทบ

อาฟต้ากับเกษตรกรไทย (ตอนจบ) : แนวทางการรับมือจากผลกระทบ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
แม้จะมีกระแสข่าวร้อนแรงหลายประการที่เบียดบังแซงกระแสความวิตกกังวลเกี่ยวกับผลกระทบจากการเปิดเสรีการค้าอาเซียน หรือ AFTA ที่มีต่อเกษตรไทย ซึ่งสำนักข่าวแห่งชาติได้เคยนำเสนอบทความเรื่อง อาฟต้ากับเกษตรกรไทย ตอนที่ว่าด้วย "ผลกระทบ ไปแล้วเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2553 ในครั้งนี้ สำนักข่าวแห่งชาติ จะเสนอแนวทางการรับมือกับผลกระทบดังกล่าวสำหรับพี่น้องเกษตรกร การให้ความสำคัญกับคนในท้องถิ่นเป็นหลัก นายภาวิญญ์ เถลิงศรี ผู้อำนวยการส่วนเจรจาสินค้าเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า "ตราบใดที่เรายังเอาสินค้าเป็นตัวตั้งเพราะสินค้าทั้งหลายที่เรามีความอ่อนแอ ก็มีข้อดีข้อเสียบ้างแต่สิ่งที่กำลังดำเนินการคือเอาตัวเกษตรกรเป็นตัวตั้ง ดังนั้นนโยบายต่างๆ ก็จะเปลี่ยน และอีกประเด็นคือคนท้องถิ่นจะต้องมีบทบาทสำคัญมากที่สุด เพราะว่าแม้รัฐบาลจะมีมาตรการปกป้องอะไรก็ตาม แต่สำคัญที่สุดคือคนในท้องถิ่น ซึ่งยังมองเห็นไม่ชัดนักในปัจจุบัน ซึ่งหมายถึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องนำเกษตรกรขึ้นมาเป็นปัจจัยนำในการกำหนดนโยบายต่าง ๆ และต้องเปิดโอกาสให้คนในท้องถิ่นที่เป็นเกษตรกรหรือใกล้ชิดกับการเกษตร ซึ่งเข้าใจวิถีของการเกษตรมากกว่าคณะทำงานในระดับบริหาร มีบทบาทต่อนโยบายต่าง ๆ อันจะสนองความต้องการของพี่น้องเกษตรกรได้มากขึ้น การลดความสนับสนุนการใช้สารเคมี การใช้สารเคมี เป็นสาเหตุสำคัญที่เกิดวัฏจักรหนี้สินของเกษตรกร ในขณะที่ตลาดโลกกำลังเพิ่มความต้องการของสินค้าไร้สารพิษมากขึ้นเรื่อย ๆ ในประเด็นนี้ นายเดชา ศิริภัทร ประธานมูลนิธิขวัญข้าว ได้เสนอว่า มาตรการที่จะช่วยเกษตรกรและส่งเสริมแนวทางเกษตรยั่งยืนคือ ให้ยกเลิกการโฆษณเคมี และเก็บภาษีสารเคมีในการเกษตร ทั้งนี้เพื่อลดความต้องการในการใช้สารเคมีในการเกษตร การเตรียมพร้อมด้านข้อมูลต่าง ๆ สำหรับเกษตรกร โลกในยุคโลกาภิวัตน์อย่างเช่นในปัจจุบัน จำเป็นอย่างยิ่งที่กลุ่มคนทุกเพศ ทุกวัย ทุกอาชีพ จะต้องรู้เท่าทันเหตุการณ์และข้อมูลข่าวสาร เกษตรกรก็เช่นเดียวกันที่จำเป็นจะต้องเตรียมพร้อมในเรื่องข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลเกี่ยวกับการเจรจาต่าง ๆ การเปิดเสรีทางการค้าที่กำลังจะมีเพิ่มขึ้น ซึ่งจะช่วยให้เกษตรกรไทยเตรียมตัวตั้งรับได้ทันสถานการณ์ การลดต้นทุนการผลิตและการตลาด ปัญหาหนึ่งที่เกิดกับภาคการเกษตรไทยจาก AFTA ก็คือ สินค้าการเกษตรของไทยมีราคาสูงกว่าสินค้าการเกษตรจากประเทศเพื่อนบ้าน ในกรณีนี้ รศ.ดร.ปัทมาวิดี ซูซุกิ คณบดี คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เสนอว่าต้องเตรียมรับมือด้วยการลดต้นทุนการผลิต และต้นทุนการตลาด รวมถึงการทำข้อมูลที่มีคุณภาพ ซึ่งปัจจุบันนี้ประเทศไทยมีข้อด้อยในเรื่องการทำวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพผลผลิตและการเก็บข้อมูล นอกจากนี้ อาจจะต้องพัฒนาและรื้อฟื้นระบบเกษตรกรกันใหม่เพื่อทำการตลาด การทบทวนมาตรการต่าง ๆ ให้มีความเหมาะสม แม้ปัจจุบันจะมีมาตรการและนโยบายต่าง ๆ เพื่อช่วยเหลือเกษตรกร แต่แน่นอนว่าเมื่อมีสถานการณ์บางอย่างเปลี่ยนแปลงไป จำเป็นที่จะต้องมีการปรับหรือเปลี่ยนมาตรการต่าง ๆ เหล่านั้นตามไปด้วย มาตรการต่าง ๆ ที่ควรทบทวนนั้นได้แก่มาตรการประกันรายได้และประกันราคา ซึ่ง รศ.ดร.ปัทมา ให้ความเห็นว่าเป็นดาบสองคมเพราะด้านหนึ่งเกษตรกรไม่ได้รับสัญญาณที่ถูกต้องว่าสินค้าที่ตัวเองผลิตอยู่นี่กำลังเผชิญกับการแข่งขันแล้ว รัฐาลต้องทบทวนว่าระยะยาวการประกันราคามีผลดีกับเกษตรกรจริงหรือไม่ นอกจากนี้ยังจำเป็นต้องมีมาตรการการคุ้มครองผู้บริโภค ที่จะเป็นเครื่องรับประกันคุณภาพของสินค้าไทยว่ามีความปลอดภัยและมีคุณภาพมากกว่า การกระจายอำนาจของกองทุนต่าง ๆ เกี่ยวกับการเกษตรสู่ท้องถิ่น แม้ปัจจุบันประเทศไทยจะมีกองทุนเพื่อการขาดทุนในการผลิตที่ประเทศไทยมีอยู่แล้ว แต่เป็นกองทุนที่ตั้งรับมากเกินไปและไม่ทันการ และการจะรับเงินได้เป็นกรณีที่ได้รับผลกระทบแล้ว และเกษตรกรเข้าถึงยาก และปัญหาการเกษตรเป็นปัญหาที่มีความเฉพาะถิ่นเฉพาะที่ การรวมศูนย์แก้ปัญหาไม่ได้คล่องตัวนัก ดังนั้น รศ.ดร.ปัทมา จึงเสนอว่าต้องมีการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น และในระยะสั้นจะทำอย่างไรให้ชุมชนกับท้องถิ่นทำงานร่วมกันได้ดีขึ้น และจะต่อยอดไปสู่การตั้งรับและเตรียมพร้อมด้านตลาด แนวทางต่าง ๆ เพื่อรับมือกับผลกระทบจาก AFTA ที่มีต่อเกษตรกรไทยนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการร่วมมือและการร่วมกันทำงานอย่างใกล้ชิดระหว่างภาคนโยบาย ซึ่งก็คือภาครัฐ และเกษตรกรอย่างต่อเนื่อง พี่น้องเกษตรกรจำเป็นจะต้องมีความพยายามเข้าหาภาครัฐมากขึ้นเพื่อให้รัฐมีโอกาสรับทราบถึงปัญหาที่แท้จริง รวมทั้งพัฒนาความรู้ข่าวสารให้ทันเหตุการณ์อยู่ตลอดเวลา ในขณะเดียวกัน ภาครัฐซึ่งเป็นผู้กำหนดนโยบายต่าง ๆ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะนำเอาข้อเท็จจริงที่ได้จากเกษตรกรมาพิจารณา เพื่อหาความเหมาะสมในการกำหนดนโยบายต่าง ๆ ในอนาคต
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook