สพฐ. เร่งโรงเรียนนำร่องหลักสูตรปี 51 และโรงเรียนทั่วไปที่ใช้หลักสูตรปี 54 วิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู

สพฐ. เร่งโรงเรียนนำร่องหลักสูตรปี 51 และโรงเรียนทั่วไปที่ใช้หลักสูตรปี 54 วิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เร่งโรงเรียนนำร่องหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และโรงเรียนทั่วไปที่ใช้หลักสูตรฯ พุทธศักราช 2544 วิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้ทั้ง 2 หลักสูตรว่ามีความสอดคล้องกันหรือไม่ เพื่อชี้แจงให้ผู้ปกครองเข้าใจเกี่ยวกับการออกข้อสอบการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน นายสมเกียรติ ชอบผล รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กล่าวถึงกรณีที่นักเรียนร้องเรียนว่าสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) ออกข้อสอบแบบทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน (โอเน็ต) มัธยมศึกษาปีที่ 6 เกินหลักสูตร ว่า ได้วิเคราะห์หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ร่วมกับนักวิชาการของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) พบว่ามาตรฐานการเรียนรู้ไปด้วยกันได้เกือบร้อยละ 90 เพียงแต่หลักสูตรฯ พุทธศักราช 2551 จะมีตัวชี้วัดชั้นปี อย่างไรก็ตามเมื่อเด็กร้องเรียนว่า สทศ.ออกข้อสอบโอเน็ต ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ตามหลักสูตรฯ พุทธศักราช 2551 ซึ่งเด็กมัธยมศึกษาปีที่ 6 ยังไม่ได้เรียน ดังนั้นจึงได้มอบหมายให้โรงเรียนที่นำร่องหลักสูตรฯ พุทธศักราช 2551 และโรงเรียนทั่วไปที่ใช้หลักสูตรฯ พุทธศักราช 2544 ทั่วประเทศร่วมกันวิเคราะห์ว่ามาตรฐานการเรียนรู้ของ 2 หลักสูตรไปด้วยกันได้ร้อยละ 90 จริงหรือไม่ ซึ่งโรงเรียนในฐานะที่จัดการเรียนการสอน จะเป็นผู้ที่ให้คำตอบได้ดีที่สุด ถ้าพบว่ามาตรฐานการเรียนรู้ใกล้เคียงกันจริง สพฐ.จะได้ช่วยชี้แจงให้ผู้ปกครองและนักเรียน แต่หากมาตรฐานต่างกันมาก จะได้หารือร่วมกับ สทศ.เพื่อหาแนวทางแก้ไขกันต่อไป โดย สพฐ.ได้มอบหมายให้โรงเรียนวิเคราะห์และรายงานกลับมาภายในวันที่ 8 มีนาคม นายสมเกียรติ ยืนยันว่า ไม่ได้หาเหตุหรือไม่เห็นด้วย เพียงแต่ต้องการความชัดเจนเพื่อหาคำอธิบายให้แก่เด็กและผู้ปกครองได้คลายความกังวล ซึ่ง สพฐ.มีหน้าที่คุ้มครองเด็ก
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook