อัยการเตรียมร้องศาลฎีกาออกคำบังคับทรัพย์ทักษิณ

อัยการเตรียมร้องศาลฎีกาออกคำบังคับทรัพย์ทักษิณ

อัยการเตรียมร้องศาลฎีกาออกคำบังคับทรัพย์ทักษิณ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

อัยการเตรียมยื่นคำร้องขอศาลฎีกาออกคำบังคับทรัพย์แม้ว 4.6 หมื่นล้านในธนาคารตกเป็นของแผ่นดิน

(5มี.ค.) นายนันทศักดิ์ พูลสุข อธิบดีอัยการฝ่ายช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมาย คณะทำงานอัยการคดียึดทรัพย์ 4.6 หมื่นล้านของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พิพากษาให้ตกเป็นของแผ่นดิน กล่าวว่า ขณะนี้อัยการยังไม่สามารถขอคัดคำพิพากษาฉบับเต็มจากศาลฎีกาฯได้ เนื่องจากยังอยู่ระหว่างที่ศาลฎีกาฯตรวจทานแก้คำผิดและจำนวนตัวเลขที่จะต้องลงรายละเอียดอย่างชัดเจน แต่จากการประชุมคณะทำงานอัยการมีความเห็นว่า ควรที่จะยื่นคำร้องขอให้ศาลออกหมายบังคับทรัยพ์เพื่อนำไปแจ้งธนาคารผู้ครอบครองเงินฝากตามบัญชีที่ศาลมีคำพิพากษาให้ยกเป็นของแผ่นดินส่งมอบให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป

ด้านนายสุรศักดิ์ ตรีรัตน์ตระกูล รองอธิบดีอัยการคดีพิเศษ หนึ่งในคณะทำงาน ซึ่งได้รับมอบหมายการร่างคำบังคับทรัพย์ยื่นเพื่อยื่นต่อศาลฎีกา กล่าวว่า เมื่อศาลฎีกาฯมีคำสั่งให้ทรัพย์สินจำนวน 4.6 หมื่นล้านบาทของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ผู้ต้องคำพิพากษา ตกเป็นของแผ่นดิน ก็ถือว่าทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินแล้ว เพราะก่อนหน้านี้คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ได้ทำการตรวจยึดบัญชีเงินฝากและหน่วยลงทุนในธนาคารของผู้ต้องคำพิพากษาไว้แล้วกว่า 6.9 หมื่นล้าน ซึ่งศาลฎีกามีคำสั่งให้ทรัพย์สินผู้ต้องคำพิพากษาจำนวน 4.6 หมื่นล้านบาทตกเป็นของแผ่นดิน จึงสามารถนำคำพิพากษาของศาลฎีกาไปติดต่อกับธนาคารผู้ครอบครองบัญชีเงินฝาก และหน่วยลงทุนให้ส่งคืนให้กับแผ่นดินได้ทันที เพราะทรัพย์ที่อายัดไว้มีมากกว่าที่ศาลฎีกาฯพิพากษาให้ตกเป็นของแผ่นดิน จึงน่าที่จะยึดได้ครบตามจำนวน

นายสุรศักดิ์ กล่าวว่า เพื่อความรอบครอบคณะทำงานอัยการเห็นว่า ก็ควรที่จะยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาฯเพื่อออกคำบังคับทรัพย์ให้ แต่ทั้งนี้ก็ต้องดูฝ่ายผู้ต้องคำพิพากษาว่าจะยื่นอุทธรณ์คดีนี้หรือไม่ ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ศาลฎีกาฯมีคำพิพากษา ถ้าฝ่ายผู้ต้องคำพิพากษาไม่ยื่นอุทธรณ์ อัยการก็จะยื่นคำร้องขอศาลออกคำบังคับทรัพย์ แต่หากฝ่ายผู้ต้องคำพิพากษายื่นอุทธรณ์แล้ว ตามขั้นตอนศาลฎีกาฯก็จะสำเนาอุทธรณ์ของผู้ต้องคำบังคับทรัพย์ให้อัยการเพื่อทำคำแก้อุทธรณ์ยื่นต่อศาลฎีกาฯ จากนั้นเป็นหน้าที่ของศาลฎีกาฯที่จะเลือกองค์คณะผู้พิพากษาชุดใหม่จำนวน 5 คน มาพิจารณาว่าจะรับอุทธรณ์ของผู้ต้องคำพิพากษาหรือไม่ ที่จะต้องดูว่ามีพยานหลักฐานใหม่หรือไม่

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook