ความรุนแรงไม่ใช่ทางออกของประชาธิปไตย..บทพิสูจน์ความรักชาติของคนไทย

ความรุนแรงไม่ใช่ทางออกของประชาธิปไตย..บทพิสูจน์ความรักชาติของคนไทย

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
"ยิ้มสยาม เปรียบเสมือนตราสินค้าสำคัญสำหรับการท่องเที่ยวไทย ความอบอุ่นในการต้อนรับ และความอ่อนโยนในการดูแลนักท่องเที่ยว สร้างความประทับใจให้กับนานาชาติมาหลายต่อหลายยุคสมัย ชาวต่างชาติจำนวนมากใฝ่ฝันที่จะมาเยือนดินแดนแห่งรอยยิ้มและความอ่อนโยนแห่งนี้ ไม่ว่าจะเพื่อการท่องเที่ยว การค้า หรือแม้กระทั่งตั้งรกรากใหม่ แต่การชุมนุมของคนไทยในขณะนี้ สร้างความหวั่นวิตกว่า ภาพลักษณ์ที่เคยปรากฎนั้น กำลังจะแปรเปลี่ยนไปเป็นความรุนแรงหรือไม่ ความเห็นของต่างชาติ สื่อต่างประเทศต่างพยายามวิเคราะห์สถานการณ์ในประเทศไทยหลังการประกาศคำตัดสินคดียึดทรัพย์ฯ เมื่อปลายเดือนที่ผ่านมา โดยเห็นตรงกันว่าคำตัดสินเป็นเพียงแค่การหาทางออกที่รอมชอม แต่จะยิ่งส่งผลให้กลุ่มผู้ชุมนุมมีความรู้สึกต่อต้านขึ้นอีก ซึ่งต่างเห็นว่าไม่ใช่วิธีการในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งของไทย สื่อของญี่ปุ่นอย่าง Japan Times มีความเห็นว่า คำตัดสินคดียึดทรัพย์ฯ ที่ยังความไม่พอใจให้กับกลุ่มผู้สนับสนุนอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร ทำให้เกิด"ช่องว่าง ขึ้น ในขณะเดียวกัน ประชาชนชาวไทยจะต้องสร้างและยอมรับกติกาพื้นฐานของรัฐธรรมนูญ ไม่เช่นนั้นก็จะเป็นการนำประเทศไปสู่จุดปะทุของความรุนแรง ในขณะที่สื่อชาติตะวันตกอย่าง The Economist วิพากษ์ว่า คำตัดสินของศาลฎีกาไทยในคดียึดทรัพย์ที่ผลออกมาอย่างประนีประนอมนั้น ไม่อาจเปลี่ยนใจหรือเปลี่ยนแปลงสถานการณ์การชุมนุมได้ จากความเห็นของต่างชาติ อาจมองได้ว่า ความประนีประนอม กำลังเป็นสิ่งที่ใช้ไม่ได้ผลสำหรับสังคมไทย และคนไทยกำลังจะนำตัวเองเข้าไปสู่ความรุนแรงจากทัศนคของการ "ไม่ลดลาวาศอก ความรุนแรง...สู่ความสงบหรือจุดจบของประชาธิปไตย ไม่ใช่เรื่องผิดที่ประชาชนชาวไทยแต่ละคนมีความพยายามเพื่อให้ได้มาซึ่งประชาธิปไตย และไม่ใช่เรื่องแปลกที่กลุ่มคนภายในประเทศจะเกิดความแตกต่างด้านอุดมการณ์ทางการเมืองและประชาธิปไตย แต่จากประวัติศาสตร์ชาติไทยที่ผ่านมา ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในแต่ละครั้งไม่อาจนำมาสู่การมีประชาธิปไตยเต็มใบได้เลยแม้แต่ครั้งเดียว สำนักข่าวบีบีซี ของอังกฤษ ได้พยายามเปรียบเทียบการชุมนุมที่จะมีขึ้นในไม่ช้านี้กับที่เกิดขึ้นในช่วงที่ไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมอาเซียนเมื่อเดือนเมษายน 2552 ที่มีการนำพระราชกำหนดมาบังคับใช้ จนนำไปสู่การประกาศใช้ พรบ.ความมั่นคงฯ ในเดือนตุลาคมปีเดียวกัน และแม้ว่าตัวแทนจากกลุ่มผู้ชุมนุมสัญญาว่า จะดำเนินการชุมนุมด้วยความสงบ แต่จากเหตุการณ์ที่ผ่านมา ประกอบกับปัจจัยเสริมอย่างคำตัดสินคดียึดทรัพย์ฯ ยิ่งทำให้สื่อต่างชาติเห็นตรงกันว่า การชุมนุมครั้งใหม่นี้น่าจะนำไปสู่ความรุนแรงขึ้นได้ เนื่องจากฝ่ายหนึ่งต่างพยายามล้มล้างอำนาจ ส่วนอีกฝ่ายหนึ่งต้องการรักษาอำนาจและจัดการกับสิ่งที่คิดว่าเป็นปัญหาให้หมดสิ้น อย่างไรก็ตามในส่วนของรัฐบาล นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้ให้สัมภาษณ์ยืนยันกับทางบีบีซีว่า ทางรัฐบาลมีความตั้งใจอย่างยิ่งที่จะใช้วิธีการใด ๆ ก็ได้ภายใต้อำนาจและกฎหมายของประเทศ เพื่อปกป้องทรัพย์สินและความปลอดภัยของประชาชนชาวไทย แม้จะยอมรับว่าการทำให้เกิดความปรองดองในชาตินั้นดูยังเป็นหนทางอีกยาวไกลก็ตาม ในขณะเดียวกัน นายวีระศักดิ์ โควุรัตน์ ผู้อำนวยการสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา ได้เคยให้ความเห็นเกี่ยวกับความขัดแย้งในสังคมไทยว่า "การเผชิญหน้าที่ผ่านมา เป็นการเผชิญหน้าแบบที่ไม่สนใจกฎหมาย ซึ่งหมายความว่ากระบวนการเรียนรู้เพื่อสร้างการอยู่ร่วมกันยังไม่เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมในชีวิตประจำวัน ซึ่งจริง ๆ แล้ววัฒนธรรมของไทยหรือเอเชียไม่ใช่การปะทะ แต่แนวคิดการปะทะและการหาข้อยุตินั้นเป็นแนวคิดจากตะวันตกซึ่งแตกต่างกับวัฒนธรรมตะวันออกที่ไม่เชอบการผชิญหน้า จึงเกิดความขัดแย้งที่ไม่ลงตัวอยู่เยอะ ในขณะที่ปัจจุบันโลกตะวันตกกำลังเรียนรู้แนวคิดของตะวันออกเพื่อนำไปใช้กับตนเองบ้างแล้ว การพิสูจน์ความรักชาติและประชาธิปไตยของชาวไทยเรานั้นแสดงออกได้หลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการดำเนินการตามกระบวนการกฎหมาย การเจรจา ฯลฯ แต่วิธีการใช้ความรุนแรงนั้นไม่ใช่เส้นทางของนักประชาธิปไตยเลย นาวารัฐที่ชื่อประเทศไทย มีจุดหมายปลายทางที่จะได้มีประชาธิปไตยเต็มใบ ความรักชาติอาจแสดงออกได้หลายวิธี แต่หนึ่งวิธีที่ควรหลีกเลี่ยงนั้นก็คือความรุนแรง เพื่อประโยชน์สุขของประชาชนชาวไทย ภายใต้พระบรมโพธิสมภารของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ การยึดหลักธรรมคำสอนของแต่ละศาสนาและการพัฒนาการศึกษา ที่หันหาเข้าหากันแทนที่จะหันหน้าเข้าปะทะกัน น่าจะเป็นทางออกที่ดีในการแลกเปลี่ยนและแสดงความคิดไม่ว่าจะในทางด้านการเมือง และประชาธิปไตย ที่ให้ถอยหลังจากความรุนแรง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook