6 ขั้นตอน แก้ภาพลักษณ์ออนไลน์

6 ขั้นตอน แก้ภาพลักษณ์ออนไลน์

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
รีอา ดรายสเคล นักการตลาดอินเทอร์เน็ตได้นำเสนอวิธีแก้ภาพลักษณ์ให้กับ ไทเกอร์ วูดส์ ได้น่าสนใจ ซึ่งมีดังนี้

แม้ไทเกอร์ วูดส์ จะได้ขอโทษต่อสาธารณะถึงการกระทำที่ผ่านมาของตนเองแต่ก็ไม่ใช่หมายความว่า การกู้ชื่อเสียงและภาพลักษณ์ให้กลับสู่จุดเดิมจะเป็นไปได้ง่าย และ จะต้องออกแรงอีกมาก

เท่าที่รีอาไปดูในกูเกิลเสิร์ชในหัวข้อ Tiger Woods ปรากฏว่าข่าวหน้าหนึ่งที่ออกตามสื่อต่าง ๆ ทั่วโลกอย่างน้อย 3 ใน 4 ยังเป็นภาพลบ บทความที่แย่ที่สุดเป็นของ เคจ โอเนียน ภายใต้หัวข้อว่า ไทเกอร์ วูดส์ ประกาศหวนกลับสู่วงการเซ็กซ์

ทีมงานผู้จัดการแก้ภาพลักษณ์ของ ไทเกอร์ วูดส์ ก็พยายามส่งคอมเมนต์ในด้านบวกอย่างหนักและเต็มเวลาเพื่อที่จะแก้ภาพ ลบ แต่ดูเหมือนว่าน่าจะใช้เวลาเป็นปีกว่าชื่อเสียงจะกลับคืน

รองประธาน บริษัทโพซิชั่น เทคโน โลยี ได้กล่าวว่า เมื่อเข้าค้นหาชื่อ ไทเกอร์ วูดส์ ตลอดทั้งวันจะพบว่าผลลัพธ์ที่ได้ออกมาจะแตกต่างกันมากตลอดเวลา คือ มีทั้งบวกและลบ

รีอา ดรายสเคล จึงแนะนำดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 ไทเกอร์ วูดส์ จะดึงให้คนเข้าถึงได้ง่ายขึ้น พร้อมกับแสดงความจริงใจและต้องโปรแอ๊คทีฟคือีอะไรก็ต้องรีบแสดงออกอย่างรวดเร็วถึงความจริงใจและจริงจัง เช่น ไทเกอร์ วูดส์ ให้เข้าพบแพทย์เพื่อบำบัดเรื่องเซ็กซ์ก็ต้องให้สาธารณชนได้รับรู้

ขั้นตอนที่ 2 สร้างข่าวเชิงบวก เช่น อาจจะให้สัมภาษณ์ในรายการดัง ๆ เช่น แลรี่ คิงไลฟ์ โอปราห์ หรือ กู๊ดมอร์นิ่งอเมริกา

ขั้นตอนที่ 3 ต้องใช้เว็บไซต์ของตนเองให้เป็นประโยชน์โดยเฉพาะ TigerWoods. com ซึ่งเขาเป็นเจ้าของและใช้เป็นที่สร้างข่าวเชิงบวกได้หลังจากที่เกิดอุบัติเหตุรถยนต์เมื่อเดือนพฤศจิกายนก็เพิ่งจะมีข่าวว่า ไทเกอร์ วูดส์ ได้รับรางวัลอะไรบ้าง แต่ควรที่จะลงคำขอโทษต่อสาธารณะในบล็อกตนเองจะได้รับผลดีมากกว่า

ขั้นตอนที่ 4 จะต้องเข้าไปตรวจแก้ประวัติของตนเองในทุกเว็บที่เกี่ยวข้องกับ ไทเกอร์ วูดส์ พร้อมด้วยบริการสังคมจะต้องมีการปรับปรุงอยู่เสมอ ซึ่งจะทำให้ผลการค้นหาผลลัพธ์ของ ไทเกอร์ วูดส์ ออกจะได้มีข่าวเชิงบวก

ขั้นตอนที่ 5 จะต้องมีการติดตามสร้างข่าวของตนเองในเว็บบริการสังคม เช่นทวิตเตอร์ เฟซบุ๊ก ให้มากขึ้น ไทเกอร์ วูดส์ มีทวิตเตอร์ แต่หลังจากทวีตไปได้แค่ 3 ครั้งก็เลิก เฟซบุ๊กของ ไทเกอร์ วูดส์ ก็นิ่งไม่มีอะไรเพราะตนเองไม่มีเวลาตอบ เขาจะต้องมีเวลาหรือให้ทีมคนช่วยปรับปรุงอัพเดทเรื่องคุยกับชาวบ้านในทวิตเตอร์ เฟซบุ๊ก ยูทูบ มายสเปส ตลอดเวลาเช่นเดียวกับ ประธานาธิบดีบารัค โอบามา

ขั้นตอนที่ 6 จะต้องรักษาแบรนด์ของตัวเองให้มั่นคง ซึ่งอาจจะมีการให้บริษัทที่เก็บสถิติทางอินเทอร์เน็ต ช่วยวิเคราะห์ดูข่าวเก็บสถิติตัวเลขตลอดเวลาเพื่อสร้างข่าวเชิงบวกให้สูงเด่นมากขึ้น และจะต้องเก็บสถิติที่เกี่ยวข้องในด้านต่าง ๆ เช่น ความซื่อสัตย์ และจะต้องมีการสอดส่องความเห็นสาธารณะตลอดเวลา

ทั้ง 6 ขั้นตอนนี้นับว่าน่าสนใจมาก ถ้าหากบริษัทใด องค์กรใด หรือบุคคลที่มีชื่อเสียงท่านใดนำไปใช้น่าจะมีประโยชน์.

รองศาสตราจารย์

ดร.บุญมาก ศิริเนาวกุล

มหาวิทยาลัยนานาชาติสแตมฟอร์ด

boonmark@stamford.edu

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook