ลอกผลงานวิชาการผิดหรือไม่

ลอกผลงานวิชาการผิดหรือไม่

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
ดร.สุเมธ แย้มนุ่น เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) เปิดเผยว่า ในช่วง 10 ปีนี้ พบว่า มีคดีร้องเรียนเกี่ยวกับการ ลอกเลียนผลงานวิชาการจำนวนมาก โดยมีนักวิชาการแอบอ้างนำ ผลงานของผู้อื่นมานำเสนอเป็นผลงานของตน ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ได้มีการตักเตือนไปมากแล้ว ว่า การนำผลงานของผู้อื่นมาใช้ โดยไม่มีการอ้างอิงถือว่าผิดจรรยาบรรณหรือเป็นการโจรกรรมทางวิชาการและผิดกฎหมาย แต่นักวิชาการบางคนกลับมองว่า เป็นการศึกษาอยางหนึ่ง ดังนั้น เมื่อเร็ว ๆ นี้ สกอ. จึงได้จัดประชุมเพื่อหาทางแก้ปัญหาเรื่องนี้

ดร.สุเมธ กล่าวต่อไปว่า สำหรับประเด็นที่หารือได้แก่ เรื่องนิยามคำว่าโจรกรรมผลงานทางวิชาการ ที่ยังไม่มีขอบเขตที่ชัดเจนเรื่องระเบียบข้อกฎหมายของการพิจารณาเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการและเรื่องการสร้างมาตรฐานความรู้ความเข้าใจเรื่องความรับผิดชอบต่อจรรยาบรรณ ซึ่งเป็นเรื่องใหม่ในสังคมวิชาการบ้านเรา

โดยส่วนตัวผมมองว่า การลอกเลียนผลงนวิชาการผู้อื่น ถือเป็นการไม่มีจรรยาบรรณ และเป็นการโจรกรรมผลงานวิชาการที่ร้ายแรง ผมคิดว่าถึงเวลาที่จะต้องเร่งสร้างนิสัยความรับผิดชอบต่อ จรรยาบรรณให้แก่เด็กตั้งแต่การศึกษาขั้นพื้นฐาน เพราะทุกวันนี้ครูมัก จะสอนให้นักเรียนค้นหาข้อมูลในอินเทอร์เน็ตและคัดลอกมาส่ง จนทำให้เด็กคิดว่าการลอกผลงานผู้อื่นไม่ใช่สิ่งที่ผิด ดร.สุเมธ กล่าว.

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook