ธ.ก.ส. เดินหน้าจ่ายชดเชยส่วนต่างโครงการประกันรายได้

ธ.ก.ส. เดินหน้าจ่ายชดเชยส่วนต่างโครงการประกันรายได้

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

โดยมีเกษตรกรที่ไม่มาทำสัญญาจำนวน 147,222  ราย  อย่างไรก็ตาม ในการดำเนินงานตามเงื่อนไขโครงการมีเกษตรกรที่ได้รับประโยชน์จากการใช้สิทธิ จำนวน 3,610,653  ราย  จำนวนเงินชดเชยส่วนต่างที่เกษตรกรได้รับ  34,094  ล้านบาท  แยกเป็นเกษตรกรผู้ปลูกข้าว  จำนวน  3,003,643  ราย  จำนวนเงินชดเชยส่วนต่าง  26,970  ล้านบาท  เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ จำนวน  369,130  ราย  จำนวนเงินชดเชย  5,493  ล้านบาท  เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง  จำนวน  237,880  ราย  จำนวนเงินชดเชย  1,631  ล้านบาท

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากโครงการประกันรายได้เป็นเรื่องใหม่  การดำเนินงานในช่วงแรกจึงอาจมีปัญหาในขั้นตอนการดำเนินงานอยู่บ้าง เช่น  เมื่อมีการขึ้นทะเบียนมีการทำประชาคมแล้ว  จึงได้ส่งรายชื่อเกษตรกรมาให้ ธ.ก.ส. จัดทำสัญญา  พอทำไปแล้วได้มีการเปลี่ยนแปลงในเรื่องรายชื่อและพื้นที่ทำกิน  จึงต้องมาปรับสัญญากันใหม่ทำให้เกษตรกรบางรายได้รับเงินชดเชยส่วนต่างล่าช้า รวมทั้งอาจจะมีความไม่เข้าใจในเรื่องการใช้สิทธิอยู่บ้าง   

สำหรับการดำเนินโครงการประกันรายได้เกษตรกรปีการผลิต 2552/53  ในรอบที่ 2 ซึ่งประกันเฉพาะเกษตรกรผู้ปลูกข้าว  มีเกษตรกรขึ้นทะเบียนเข้าร่วมโครงการกว่า  600,000  ราย  สูงกว่าเป้าหมายที่สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรได้กำหนดไว้ที่  480,000  ราย  จากจำนวนตัวเลขเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนดังกล่าวได้มีเกษตรกรที่ผ่านการทำ ประชาคมแล้วจำนวน  339,074  ราย  ซึ่งหลักเกณฑ์ก่อนทำสัญญากับ ธ.ก.ส.  เกษตรกรผู้ผ่านการทำประชาคมจะต้องได้รับใบรับรองจากกรมส่งเสริมการเกษตรว่า เป็นเกษตรกรผู้ปลูกข้าวจริง  จำนวนทั้งหมดกี่ไร่  แล้วจึงนำใบรับรองนั้นมาจัดทำสัญญาเพื่อใช้สิทธิในโครงการประกันรายได้กับ ธ.ก.ส.  ต่อไป  ทั้งนี้หลักเกณฑ์ดังกล่าวทำให้เกษตรกรที่ยังไม่ได้รับใบรับรองไม่สามารถมา ติดต่อทำสัญญากับ ธ.ก.ส.ได้  จึงเป็นเหตุให้เกิดความล่าช้าในขั้นตอนของการทำสัญญาอาจทำให้เกษตรกรเสีย โอกาสได้

ดังนั้น  เพื่อแก้ไขปัญหาในเรื่องดังกล่าว  ธ.ก.ส.ได้จัดทำหนังสือชี้แจงสาขาทั่วประเทศ  ให้สามารถดำเนินการจัดทำสัญญาให้กับเกษตรกรที่ผ่านการทำประชาคมไปก่อน  เมื่อเกษตรกรได้ใบรับรองแล้วจึงนำมาแนบภายหลัง  ซึ่งจะทำให้การจัดทำสัญญาทำได้รวดเร็วทันต่อความต้องการของเกษตรกรยิ่งขึ้น  นอกจากนี้ ในส่วนของการใช้สิทธิ  ซึ่งกำหนดให้เกษตรกรเป็นผู้เลือกช่วงเวลาเอง  ทางรัฐบาลได้ยืดหยุ่นแนวทางการใช้สิทธิถึง  3  ทางเลือก คือ 1.  ทำสัญญาประกันรายได้แล้วเกษตรกรสามารถเลือกกำหนดวันใช้สิทธิได้ทันที  2.  ทำสัญญาประกันรายได้แล้วเกษตรกรมากำหนดขอใช้สิทธิในภายหลัง  3. เกษตรกรกำหนดวันใช้สิทธิแล้วแต่ประสงค์จะเปลี่ยนใหม่ให้มาแจ้งเปลี่ยนได้ ก่อนถึงกำหนดวันที่ใช้สิทธิเดิม 3 วัน และจากการที่ราคาข้าวเปลือกในตลาดมีความผันผวนขึ้นลงอย่างรวดเร็ว  ดังนั้น เพื่อให้เกณฑ์กลางอ้างอิงสอดคล้องกับภาวะตลาด  รัฐบาลจึงกำหนดให้มีการประกาศเกณฑ์กลางอ้างอิงทุกวันจันทร์ของเดือนรวมเดือน ละ 4 ครั้ง  จากเดิมทุกวันที่ 1 และวันที่ 16 ของเดือน รวมเดือนละ 2 ครั้ง เพื่อให้เกษตรกรสามารถเลือกใช้สิทธิช่วงเวลาที่ต้องการได้มากยิ่งขึ้น

นายลักษณ์ กล่าวอีกว่า จากผลสำรวจและความคิดเห็นของเกษตรกรต่อโครงการประกันรายได้เทียบกับโครงการ รับจำนำผลผลิตเฉพาะเกษตรกรผู้ปลูกข้าวพบว่า  เกษตรกรมีความพึงพอใจและเห็นว่าโครงการประกันราคาดีกว่าร้อยละ  72.3  และบางส่วนเห็นว่าโครงการรับจำนำดีกว่า ร้อยละ 17.2  ที่เหลือ ร้อยละ 10.5  ไม่มีความเห็นเนื่องจากไม่เคยเข้าร่วมโครงการรับจำนำจึงไม่สามารถเปรียบ เทียบได้  อย่างไรก็ตามในส่วนของโครงการประกันรายได้เกษตรกร มีเกษตรกรได้รับประโยชน์ถึง 4,099,021  ราย  โดยรัฐบาลใช้งบประมาณเพื่อจ่ายเป็นเงินชดเชยและการดำเนินงานเพียง  33,449 ล้านบาท เทียบกับโครงการรับจำนำที่มีเกษตรกรได้รับประโยชน์เพียง  882,530  ราย  แต่รัฐบาลใช้งบในการดำเนินงานทั้งการรับจำนำ  การเก็บรักษา  การสีแปร  การขนส่ง เป็นต้น  เป็นจำนวนเงินถึง  108,706  ล้านบาท

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook