ศึกษา3แนวทางบริหารดอนเมือง

ศึกษา3แนวทางบริหารดอนเมือง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
นายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะทำงานพิจารณาแยกท่าอากาศยานดอน เมืองเป็นหน่วยธุรกิจ (บียู) ตามที่ได้รับมอบหมายจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรีให้เสนอรายละเอียดข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจของรัฐบาลว่า แนวทางที่เป็นไปได้มากที่สุดใน ขณะนี้คือการจัดตั้งเป็นหน่วยธุรกิจมี 3 ทางเลือก คือ แนวทางคงนโยบายสนามบินเดียว (ซิงเกอร์แอร์พอร์ต) ให้ท่าอากาศยานดอน เมืองรองรับเฉพาะเที่ยวบินเช่าเหมาลำและเที่ยวบินราชการหรือแนวทางให้บริการเฉพาะ 2 เที่ยวบินเช่นปัจจุบัน คือสายการบินนกแอร์และวันทูโกหรือแนวทางให้บริการเที่ยวบินภายในประเทศ 10 ล้านคนให้มาใช้ท่า อากาศยานดอนเมือง โดยจะสรุปข้อมูลเปรียบเทียบข้อดี และข้อเสียแต่ละแนวทางภายในเดือนเม.ย.นี้ก่อนเสนอให้ครม.พิจารณา

ทั้ง 3 แนวทางมีทั้งข้อดีและข้อเสียแตกต่างกัน ในขณะที่มีภาระต้นทุนในการบริหารจัดการในขณะนี้ปีละ 1,600 ล้านบาท ซึ่งซิงเกอร์แอร์พอร์ต เป็นแนวทางที่ทำให้พัฒนา ใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ และกระ ทรวงคมนาคมเห็นด้วยกับแนวทางนี้ ส่วนการให้คงเฉพาะเที่ยวบินประจำของ 2 สายการบินนั้น จำเป็นต้องจัดสรรพื้นที่ส่วนอื่นเพื่อสร้างรายได้ชดเชยภาระค่าจ่าย ส่วนแนวทางการย้ายเที่ยวบินภายในประเทศทั้งหมด จะทำให้การบริหารครอบคลุมค่าใช้จ่ายทั้งหมดได้ ให้เวลาทอท.จัดทำรายละเอียดข้อมูลเสนอกลับมายังกระทรวงคมนาคมภายใน 1 เดือน คาดว่าภายในเดือนเม.ย.นี้จะนัดประชุมและจะสรุปเสนอ ครม.พิจารณา

ส่วนแนวทางการจัดตั้งบริษัทลูกได้มีการพิจารณาและเห็นว่าไม่สามารถดำเนินการได้ เพราะขัดระเบียบของบริษัทท่าอากาศยานไทย (ทอท.) ที่มีข้อห้ามบริษัทแม่ทำธุรกิจแข่งขันกับบริษัทลูก ดังนั้นแนวทางที่เป็นไปได้ขณะนี้คือการจัดตั้งเป็นหน่วยธุรกิจ

นายเสรีรัตน์ ประสุตานนท์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ทอท.กล่าวว่า ได้เสนอรายละเอียดตัวเลขข้อมูลผลประกอบการเพื่อชี้ให้เห็นว่า การใช้ท่าอากาศยานดอนเมืองควบคู่กับท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ทำให้ทอท.มีผลดำเนินงานขาดทุน โดยผลประกอบการของท่าอากาศยานดอนเมืองในปี 50 ขาดทุน 1,057 ล้านบาท ปี 51 ขาดทุน 918 ล้านบาทและปี 52 ขาดทุน 798 ล้านบาท.

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook