สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ประชุมเตรียมรับมือภัยพิบัติจากการเปลี่ยนแปลงสภาวะโลก และแลกเปลี่ยนความ

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ประชุมเตรียมรับมือภัยพิบัติจากการเปลี่ยนแปลงสภาวะโลก และแลกเปลี่ยนความ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ จัดประชุมเตรียมรับมือภัยพิบัติจากการเปลี่ยนแปลงสภาวะโลก และแลกเปลี่ยนความรู้เพื่อเตรียมพร้อมช่วยเหลือประชาชน นายแพทย์ชาตรี เจริญชีวะกุล เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) เป็นประธานเปิดประชุมวิชาการการแพทย์ฉุกเฉินระดับชาติ ครั้งที่ 4 ประจำปี 2553 โดยมีนายสยุมพร ลิ่มไทย ผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง กล่าวการต้อนรับ พร้อมด้วยนายแพทย์ปรเมษฐ์ กิ่งโก้ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดระยอง กล่าวรายงานการประชุมฯ ซึ่งการประชุมดังกล่าว มีผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงสาธารณสุข กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ศูนย์เตือนภัยพิบัติ เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านการแพทย์ฉุกเฉินจังหวัดทุกจังหวัด ผู้อำนวยการโรงพยาบาลทุกระดับ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรมูลนิธิต่างๆ ผู้แทนจากหน่วยงานภาคีเครือข่ายทุกหน่วยงานและผู้ปฏิบัติงานด้านการแพทย์ฉุกเฉินทั่วประเทศประมาณ 1,000 คน ณ โรงแรมสตาร์ ห้องสุนทรภู่ จ.ระยอง โดยการประชุมฯจัดขึ้น 3 วันเพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์และพัฒนาความรู้ และการให้ความช่วยเหลือด้านการแพทย์ฉุกเฉิน ซึ่งเป็นการเตรียมความพร้อมในการช่วยเหลือ และในปัจจุบันเกิดปรากฎการณ์ภัธรรมชาติต่างๆ ที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชนเป็นอย่างมาก และในครั้งนี้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดระยองได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม โดยมีผู้บริหาร แพทย์พยาบาล ทีมแพทย์กู้ชีพ หน่วยกู้ภัยเข้าร่วมกว่า 1,000 คนทั่วประเทศ นอกจากนี้ภายในงานยังมีการประกวดผลงานวิชาการด้านการแพทย์ฉุกเฉิน ทั้งโปสเตอร์ นวัตกรรมและการนำเสนอด้วยการบรรยาย รวม 48 เรื่อง และมีการมอบรางวัลผลการปฏิบัติงานดีเด่นของศูนย์รับแจ้งเหตุและ สั่งการชุดปฏิบัติการฉุกเฉินระดับประเทศ จำนวน 78 รางวัล เพื่อเป็นขวัญกำลังใจให้แก่ผู้ปฏิบัติงาน นายแพทย์ชาตรีฯ กล่าวว่า การประชุมวิชาการการแพทย์ฉุกเฉินระดับชาติ ในครั้งนี้ได้กำหนดหัวข้อ "การแพทย์ฉุกเฉินกับการเปลี่ยนแปลงสภาวะของโลก (Global Crisis: Medical Emergency Preparedness) โดยตลอดระยะเวลาในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ได้เกิดปรากฎการณ์ต่างๆที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตและความเป็นอยู่ของมวลมนุษย์เป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของโลก หรือการเกิดภาวะโลกร้อน การเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมและเปลือกโลก การเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ส่งผลให้หลายประเทศ ทั่วโลกต้องเผชิญกับภัยพิบัติต่างๆ เช่น การเกิดคลื่นยักษ์สึนามิในปี 2547 การเกิดพายุเฮอริเคนแคทรีนาที่สหรัฐอเมริกา ในปี 2548 พายุไซโคลนนาร์กีสที่เมียนมาร์ในปี 2551 พายุโซนร้อนกิสนาที่ฟิลิปปินส์ ในปี 2552 และเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เฮติที่ผ่านมา นอกจากนี้ยังมีปัญหาการเกิดโรคระบาดที่แพร่กระจายไปทั่วโลกและภัยอันเกิดจากการกระทำของมนุษย์ เช่น เครื่องบินตก ตึกถล่ม ภัยจากสารเคมี รังสี หรือแม้แต่เหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมืองที่มีกลุ่มมวลชนจำนวนมากเข้าร่วมชุมนุมประท้วง ก่อให้เกิดผลกระทบต่อผู้คนในวงกว้าง รวมทั้งให้เกิดความร่วมมือระหว่างหน่วยงานองค์กรภาคีเครือข่ายให้มีความแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น พร้อมกระตุ้นให้ผู้บริหาร และผู้ปฏิบัติการ รวมทั้งภาคีทุกภาคส่วน ให้ความสนใจและตระหนักถึงการจัดการการแพทย์ฉุกเฉินให้เท่าทันและรองรับการเปลี่ยนแปลงของสภาวะโลก โดยได้รับเกียรติจากผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญทั้งจากในประเทศ และจากต่างประเทศมาร่วมเป็นวิทยากร ดังนั้นการพัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉิน เพื่อรองรับสถานการณ์ดังกล่าว จึงมีความจำเป็น ที่จะต้องมีการจัดการและเตรียมการรองรับการเปลี่ยนแปลงของสภาวะโลกดังกล่าวที่จะต้องกระทำบนฐานของความรู้ทางวิชาการ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook