เปิดประวัติ "เรือหลวงชลบุรี" ที่ปืนใหญ่ลั่นใส่เรือหลวงคีรีรัฐจนไฟไหม้ ชื่อนี้เคยเป็นตำนาน

เปิดประวัติ "เรือหลวงชลบุรี" ที่ปืนใหญ่ลั่นใส่เรือหลวงคีรีรัฐจนไฟไหม้ ชื่อนี้เคยเป็นตำนาน

เปิดประวัติ "เรือหลวงชลบุรี" ที่ปืนใหญ่ลั่นใส่เรือหลวงคีรีรัฐจนไฟไหม้ ชื่อนี้เคยเป็นตำนาน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เปิดประวัติ "เรือหลวงชลบุรี" ชื่อนี้มีตำนานมาตั้งแต่เรือลำเก่า ที่ถูกฝรั่งเศสยิงจมในยุทธนาวีเกาะช้าง

จากกรณีเกิดไฟใหม้ เรือหลวงคีรีรัฐ สังกัดกองเรือฟริเกตที่ 1 กองเรือยุทธการ ระหว่างจอดเทียบท่า แหลมเทียน อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี นั้น จากการตรวจสอบพบว่าก่อนเกิดเหตุได้ยินคล้ายเสียงปืนใหญ่ ดังมาจาก เรือหลวงชลบุรี ซึ่งเป็นปืนขนาด 76 มิลลิเมตร  โดยก่อนหน้านี้ เรือหลวงชลบุรี ได้ออกไปฝึกซ้อมยิงกระสุนจริง โดยกระสุนปืนใหญ่ดังกล่าวเกิดการขัดลำกล้อง จึงนำเรือเข้าฝั่ง พร้อมแจ้งผู้เชี่ยวชาญ กรมสรรพาวุธทหารเรือ เข้ามาตรวจสอบแก้ไข ในระหว่างดำเนินการนั้นปืนเกิดลั่นไปโดนเรือหลวงคีรีรัฐ ซึ่งจอดอยู่ด้านหน้าจนไฟไหม้ดังกล่าว

ประวัติเรือหลวงชลบุรี

ตามโครงการเสริมกำลังทางเรือในปี 2523 รัฐบาลอนุมัติให้กองทัพเรือจัดหาเรือเร็วโจมตีปืน (รจป.) จำนวน 3 ลำ กองทัพเรือจึงได้ว่าจ้างบริษัทแคนติแอร์ นาวาล เบรด้า ประเทศอิตาลี เป็นผู้ต่อเรือทั้ง 3 ลำโดยใช้ชื่อว่า เรือหลวงชลบุรี เรือหลวงสงขลา และเรือหลวงภูเก็ต เรียกว่า ชุด ร.ล.ชลบุรี (MV400 class FAC-G) สังกัด กองเรือตรวจอ่าว กองเรือยุทธการ

ชื่อเรือ หมายเลข และวันที่ขึ้นระวางประจำการ

331 ร.ล.ชลบุรี (22 กุมภาพันธ์ 2526) 
332 ร.ล.สงขลา (8 กรกฎาคม 2526) 
333 ร.ล.ภูเก็ต (17 ตุลาคม 2526) 

คุณลักษณะของเรือหลวงชลบุรี

  • ระวางขับน้ำปกติ 420 ตัน เต็มที่ 450 ตัน 
  • ความยาว 60.4 ม. ความกว้าง 8.8 ม. กินน้ำลึก 2.0 ม. 
  • ความเร็วสูงสุด 29 น็อต ความเร็วเดินทาง 18 น็อต 
  • ระยะปฏิบัติการที่ความเร็วสูงสุด 1,500 ไมล์ ที่ความเร็วเดินทาง 2,500 ไมล์ 
  • กำลังพลประจำเรือ 49 นาย 

เครื่องจักร

  • เครื่องจักรใหญ่ดีเซล MTU 20V 538 TB92 กำลัง 4,265 แรงม้า 3 เครื่อง 
  • เครื่องขับเครื่องกำเนิดไฟฟ้าดีเซล MTU 6V 396 TC52 4 เครื่อง สำหรับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า Cummins Generator Technologies กำลังไฟฟ้า 200 กิโลวัตต์ 4 เครื่อง 
  • เพลาใบจักร 3 เพลา ใบจักร Kamewa แบบปรับมุมได้ 

อาวุธ

  • ปืนใหญ่เรือ OTO Melara 76/62 Compact ขนาด 76 มม./62 คาลิเบอร์ แท่นเดี่ยว 2 แท่น 
  • ปืนใหญ่กล Breda Twin Compact ขนาด 40 มม./70 คาลิเบอร์ แท่นคู่ 1 แท่น 
  • ปืนกล U.S. Ordnance M2HB ขนาด 12.7 มม. แท่นเดี่ยว 2 แท่น 
  • แท่นยิงเป้าลวง Sippican Mk 135 4 แท่น แท่นละ 6 ท่อยิง 

อิเล็กทรอนิกส์

  • เรดาร์ตรวจการณ์พื้นน้ำ Thales ZW06 
  • เรดาร์ควบคุมการยิง Thales WM22 mod 61 
  • เรดาร์และออปโทรนิกส์ควบคุมการยิง Thales LIROD 8 
  • ศูนย์รวบ (ปืนใหญ่เรือ) Thales TDS 
  • เรดาร์เดินเรือ Decca 1226 
  • ระบบสงครามอิเล็กทรอนิกส์แบบรวมการ Elettronica Newton Alpha (ELT 828 2 ชุด)
  • ระบบตรวจจับสัญญาณเรดาร์ Elettronica ELT 211 
  • ระบบรบกวนสัญญาณเรดาร์ แบบ deception jammer Elettronica ELT 521 
  • ระบบตรวจจับสัญญาณสื่อสาร Elettronica ELT 128
  • ระบบควบคุมการยิงเป้าลวง Sippican Mk 33 RBOC 
  • ระบบนำร่องด้วยแรงเฉื่อย แบบริงเลเซอร์ Teledyne TSS Mk 31 Orion IRS

อนึ่ง เรือหลวงชลบุรีในปัจจุบัน เป็นลำใหม่ โดยเรือหลวงชลบุรีลำเก่า เป็นเรือตอร์ปิโด หมายเลข 32 ขึ้นระวางประจำการเมื่อ 5 ตุลาคม พ.ศ.2481 ก่อนหน้านั้นเมื่อ พ.ศ. 2478-2480 ชาวจังหวัดชลบุรี ได้มีส่วมบริจาคทรัพย์กับกองทัพเรือ ในงานประจำปีจังหวัดชลบุรี เพื่อซื้อเรือรบหลวงชลบุรี ด้วยความภาคภูมิใจ ที่มีเรือรบหลวงชื่อจังหวัดชลบุรีเป็นมงคลนาม 

ภารกิจสำคัญของเรือหลวงชลบุรีคือ ยุทธนาวีเกาะช้าง กรณีพิพาทอินโดจีน-ฝรั่งเศส เป็นการรบระหว่างเรือรบไทย 3 ลำ คือ เรือหลวงธนบุรี เรือหลวงสงขลา และเรือหลวงชลบุรี กับเรือรบฝรั่งเศสจำนวนประมาณ 13 ลำ โดยเมื่อวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2484 เรือหลวงชลบุรี ถูกหมู่เรือรบฝรั่งเศสยิงจมที่เกาะง่าม 

เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2526 พลเรือเอกสมบูรณ์ เชื้อพิบูลย์ ผู้บัญชาการทหารเรือ ได้กระทำพิธีรับมอบเรือหลวงชลบุรี ณ ท่าเทียบเรือ กรมสรรพาวุธทหารเรือ บางนา ชื่อของเรือหลวงชลบุรีจึงได้กลับฟื้นคืนมาอีกครั้งหนึ่งหลังยุทธนาวีเกาะช้าง 42 ปีเต็ม

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook