อ.เจษฎ์ แนะวิธีป้องกัน! คนไทยเตือนกัน "อากาศร้อน" กระจกรถแตกละเอียด แม้จอดในร่ม

อ.เจษฎ์ แนะวิธีป้องกัน! คนไทยเตือนกัน "อากาศร้อน" กระจกรถแตกละเอียด แม้จอดในร่ม

อ.เจษฎ์ แนะวิธีป้องกัน! คนไทยเตือนกัน "อากาศร้อน" กระจกรถแตกละเอียด แม้จอดในร่ม
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เมืองไทยร้อนกระจกแตก คนแห่แชร์รูปทรัพย์สินเสียหายแม้อยู่ในที่ร่ม อ.เจษฎ์ เฉลยให้ชัดๆ เกิดขึ้นได้จริงหรือ?

จากกรณีชาวเน็ตแชร์ภาพเตือนภัย จอดรถยนต์ไว้ในบ้าน แต่กระจกข้างคนขับยังแตกละเอียดทั้งบาน เพราะอากาศที่ร้อนจัดของเมืองไทย พร้อมแนะนำว่าให้แง้มกระจกรถไว้สักนิด เพื่อระบายอากาศร้อนๆ ซึ่งได้มีคนเข้ามาแสดงความคิดเห็นเป็นจำนวนมาก

ต่อมา ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ให้ความรู้ผ่านทางเฟซบุ๊ก Jessada Denduangboripant ในประเด็นนี้ โดยระบุว่า "กระจกรถ แตกเองได้ เกิดจากสาเหตุใดบ้าง ?"

คำตอบคือ ความร้อนของอากาศก็เป็นสาเหตุหนึ่ง ที่ทำให้กระจกรถแตกได้ แต่ก็มีอีกหลายสาเหตุที่เป็นไปได้ครับ ต้องตรวจสอบเป็นกรณีๆ ไป

อย่างกรณีในภาพนั้น จะเห็นว่าเป็น "กระจกด้านข้าง" ของรถ ซึ่งกระจกด้านข้างและกระจกด้านหลังของรถยนต์นั้น จะเป็นกระจกนิรภัยแบบ Tempered Glass (ขณะที่กระจกด้านหน้าจะเป็น Laminated Glass ฉะนั้น การรับแรงกระแทกจะไม่เหมือนกัน) ซึ่งมีโอกาสที่จะเกิดการแตกเนื่องจากภาวะเครียดของกระจก (หรือ Stress Crack) ได้ ทำให้บางทีการจอดรถยนต์ในที่ร้อนมากๆ แล้วมีลักษณะเปลี่ยนสภาพอากาศอุณหภูมิกะทันหัน (ร้อน-เย็น) ก็สามารถแตกเองได้ และเกิดขึ้นค่อนข้างบ่อยด้วย

ตัวอย่างเช่น รถตากแดดร้อนจัด แล้วคนขับพอกลับขึ้นมา ก็เปิดแอร์เร่งให้เย็นของเครื่องปรับอากาศเต็มที่ (หรือ ล้างรถด้วยน้ำเย็น หรือ ไปเจอกับฝนตกกระทันหัน ) กระจกที่อาจจะมีรอยร้าวเล็กๆ ซึ่งมองไม่เห็นอยู่แล้ว หรือมีโพรงอากาศระหว่างชั้นของกระจก ก็จะเกิดการหดและขยายตัวของชั้นกระจก ที่ไม่เป็นไปในสัดส่วนที่ถูกต้อง จนกระจกแตกได้

และจริงๆ แล้ว สาเหตุอันดับต้นๆ ของการที่กระจกรถแตก คือ มีของตกใส่ครับ ให้ลองพิจารณาดูรอบ ๆ คันรถก่อน อาจจะเจอผลไม้ที่หนัก ๆ หรือกิ่งไม้ หรือกระถางต้นไม้ ตกลงมาใส่รถ หรือแม้แต่สัตว์เลี้ยง อย่างเช่น แมว กระโดดลงมาใส่ ยิ่งบางครั้งกระจกเคยมีรอยร้าวมาก่อนแล้ว เช่น โดนหินกระเด็นใส่โดยไม่รู้ตัว ก็ยิ่งมีโอกาสแตกได้ง่ายขึ้น

ดังนั้น การแตกของกระจก จึงสามารถเกิดได้จากทั้งมีของแข็งมากระทบ หรือจาก Stress Crack ซึ่งวิธีสังเกตคือ ถ้ากระจกรถยนต์ที่แตก ไม่มีร่องรอยของจุดกระทบหรือจุดประทะ นั่นคือ การแตกร้าวเนื่องจากความเค้น (Stress Crack)

ซึ่งถ้ารถคันนั้น เป็นรถยนต์เก่าที่มีอายุหลายปี หรือรถยนต์ที่ผ่านการชนมาแล้ว อาจจะเกิดความผิดปกติจากตัวโครงสร้างรถที่บิดเบี้ยว ทำให้กระจกรถบิดตัวตามไปด้วยและอาจแตกได้ง่ายขึ้น / รถที่เก่า กระจกรถก็อาจจะเสื่อม เสียสภาพไปตามเวลา หมดอายุการใช้งาน และแตกร้าวได้ง่าย
ในทางตรงกันข้าม ถ้าเป็นรถยนต์ใหม่ๆ ขับรถอยู่ดี ๆ กระจกแตกทุกบาน ก็อาจเกิดจากข้อผิดพลาดตั้งแต่ขั้นตอนการผลิต และโครงสร้างของรถ ซึ่งจะต้องนำรถเข้าศูนย์บริการ ให้ทางบริษัทตรวจสอบหาสาเหตุต่อไป

ทั้งนี้ อ.เจษฎ์ ยังได้ให้คำแนะนำเพื่อหลีกเลี่ยงกระจกรถยนต์แตก ได้แก่

  • อย่าไปจอดรถยนต์ตากแดดไว้นานๆ เพราะจะทำให้รถยนต์ของเราจะเกิดสภาพเสื่อมเร็ว
  • หมั่นตรวจสอบร่องรอยบนกระจกรอบตัวรถ รวมทั้งตรวจสอบตัวถังรถว่ามีรอยบุบรอยเบี้ยวตรงไหน มีโอกาสไหมที่จะสร้างแรงดันให้กับกระจกรถ
  • ถ้าต้องจอดตากแดดไว้ แล้วจะใช้รถ ให้เปิดกระจกลงเพื่อระบายอากาศร้อนออกก่อนบ้าง แล้วค่อยๆ เร่งอุณหภูมิแอร์ให้เย็นขึ้น
  • ติดตั้งฟิล์มกรองแสดงที่มีคุณสมบัติในการระบายความร้อนที่ดี นอกจากช่วยลดความร้อนแล้ว ยังช่วยเวลาเกิดอุบัติเหตุด้วย
  • ควรหลีกเลี่ยงการจอดรถในพื้นที่เสี่ยงกับ การระเบิด อาทิ เหมือง การทำลายตึก การซ้อมรบ หรือฐานปล่อยจรวด แม้แต่การจอดรถใกล้กับรันเวย์หรือสนามฝึกซ้อมเครื่องบิ
  • ขับไล่ ที่มีการระเบิดของคลื่นเสียง (โซนิคบูม) เพราะสามารถทำให้เกิด stress cracks ได้เช่นกัน
  • อย่าวางสิ่งของที่อาจเกิดการระเบิดไว้ในรถเมื่อจอดแตกแดด เช่น ไฟแช็ก กระป๋องสเปรย์ พาวเวอร์แบงค์ ฯลฯ

อัลบั้มภาพ 4 ภาพ

อัลบั้มภาพ 4 ภาพ ของ อ.เจษฎ์ แนะวิธีป้องกัน! คนไทยเตือนกัน "อากาศร้อน" กระจกรถแตกละเอียด แม้จอดในร่ม

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook