ลือสนั่น! 12 มิ.ย. สึนามิจะถล่มประจวบฯ

ลือสนั่น! 12 มิ.ย. สึนามิจะถล่มประจวบฯ

ลือสนั่น! 12 มิ.ย. สึนามิจะถล่มประจวบฯ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

หตุการณ์ครั้งสำคัญในรอบประวัคิศาสตร์ที่สร้างรอยแผล ภาพความสูญเสีย ผู้คนต่างล้มตายด้วยภัยธรรมชาติรุนแรงอย่าง "สึนามิ" ยังคุกรุ่นภายในจิตใจ และภาวนาว่าจะไม่เกิดซ้ำรอยแผลเก่าอีก แต่ภัยธรรมชาตินี้ก็ยังไม่สามารถจละสายตาได้

ยิ่งเมื่อไม่นานมานี้ ดร.ก้องภพ อยู่เย็น ผู้เคยทำงานอยู่องค์การนาซ่า แจ้งข้อมูล ปรากฏการณ์ดวงดาวเรียงตัวในวันที่ 12 มิถุนายน 2553 จะเกิดจุดดับ และ พายุสุริยะรุนแรง แนวโน้มจะเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ และอาจเกิดสึนามิ ยิ่งก่อให้เกิดความตื่นตระหนกโดยเฉพาะผู้อาศัยในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ หลังมีข่าวสึนามิจะซัดถล่มฝั่ง 12 มิ.ย. นี้  

อย่างไรก็ตาม นายเรวัฒน์ เครือแดง หัวหน้าสถานีอุตุนิยมวิทยาประจวบคีรีขันธ์ กล่าวว่า ตนได้รับสายโทรศัพท์จากประชาชนจำนวนมากสอบถามถึงกระแสข่าวจะมีคลื่นยักษ์สึนามิพัดเข้าฝั่งอ่าวไทยในวันที่ 12 มิ.ย.นี้ จนทำให้ชาวบ้าน และชาวประมงต่างหวาดผวาเตรียมขนข้าวของไว้ในที่ปลอดภัย

"ผมจึงชี้แจงไปว่า ขณะนี้ยังไม่ได้รับการยืนยันว่าจะเกิดสึนามิ เพราะการจะเกิดคลื่นยักษ์ได้นั้นต้องมีแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ โดยเฉพาะเกิดในท้องทะเลขนาดมากกว่า 7.0 ริกเตอร์ ซึ่งในประเทศไทยไม่มีความเสี่ยงจะเกิดแผ่นดินไหวขนาดนี้ แต่หากเกิดแผ่นดินไหวแถบอ่าวไทยดังเช่นเป็นข่าว เช่น ที่ฟิลิปปินส์ หรือ อินโดนีเซีย ความรุนแรงของคลื่นทะเลจะไม่สูงเท่าที่เคยเกิดเมื่อปี 2547 โดยฝั่งอันดามันคลื่นอาจสูงเพียง 1-2 เมตร เนื่องความสภาพภูมิศาสตร์ที่มีแถวเขาและอ่าวเป็นตัวลดความแรงของคลื่น และต้องใช้เวลา 1 ชั่วโมงกว่าคลื่นทะเลจะเดินทางถึงชายฝั่งอ่าวไทย" นายเรวัตน์ กล่าว

นายเรวัฒน์ กล่าวต่อว่า ประเทศไทยมีมาตรการเตรียมพร้อมในการแจ้งเตือนเหตุสึนามิอยู่แล้ว จึงไม่น่าวิตกกังวล

คงต้องรอดูอย่างใจจดใจจ่อว่า "สึนามิ" ที่ดร. ก้องภพ ได้ทำนายไว้นั้นจะมาปรากฎกายให้เห็นหรือไม่ในวันพรุ่งนี้

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------

สึนามิ พิบัติภัยธรรมชาติที่ต้องตามติด

ความหวาดหวั่นต่อภัยธรรมชาติอย่าง "สึนามิ" ไม่ใช่เป็นเพียงอากาศที่เปลี่ยนตามฤดูกาล และเวลา แต่นั่นหมายถึง "สึนามิ" เกิดขึ้นได้ทุกเมื่อเมื่อปัจจัยพร้อมเพียง ความตื่นตระหนกหลังเหตุการณ์จึงทวีคูณในความรู้สึกของคนไทย

หากย้อนไปเมื่อครั้งที่เกิด "คลื่นสึนามิ" ในทะเลอันดามันครั้งที่รุนแรงมากที่สุดในประวัติศาสตร์ เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2547 โดยมีผู้คนเสียชีวิตถึงประมาณ 220,000 คน นับเป็นภัยทางธรรมชาติที่มีผู้เสียชีวิตมากเป็นอันดับ 3 ของโลกเท่าที่มีการบันทึกไว้ โดยภัยธรรมชาติที่มีผู้เสียชีวิตมากเป็นอันดับ 1 เกิดจากพายุไซโคลนพัดผ่านประเทศบังกลาเทศ เมื่อ พ.ศ. 2513 มีผู้เสียชีวิตประมาณ 3000,000 คน และภัยทางธรรมชาติที่มีผู้เสียชีวิตมากเป็นอันดับ 2 เกิดจากแผ่นดินไหวทาง ภาคตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศจีน เมื่อ พ.ศ. 2519 มีผู้เสียชีวิตประมาณ 255,000 คน

ในกรณีของประเทศไทย พิบัติภัยจากคลื่นสึนามิได้ก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชนทั่วทั้งประเทศ เพราะมีการสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินของผู้คนเป็นจำนวนมากใน 6 จังหวัดภาคใต้ที่มีพื้นที่อยู่ติดกับชายฝั่งทะเลอันดามัน  คือ ภูเก็ต พังงา ระนอง กระบี่ ตรัง และสตูล โดยเฉพาะที่จังหวัด พังงา กระบี่ และภูเก็ต มีการสูญเสียมากที่สุด เป็นพิบัติภัยทางธรรมชาติที่ เกิดขึ้นอย่างรุนแรงและรวดเร็ว โดยไม่มีผู้ใดคาดคิดมาก่อน จึงไม่ได้มีการ ระมัดระวังและป้องกันไว้ล่วงหน้า

ย้อนอดีต "สึนามิ" ถล่มทั่วโลก

6,100 ปีก่อนคริสต์ศักราช  เป็นคลื่นสึนามิใต้น้ำที่เกิดขึ้นในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ

เกาะซานโตรินี่ ในปี 1650 ก่อน ค.ศ. คลื่นสึนามิจากภูเขาไฟระเบิดในเกาะซานโตรินี่ ซึ่งภูเขาไฟในเกาะซานโตรินี่ของกรีซระเบิดขึ้น ทำให้เกิดคลื่นใต้น้ำ "สึนามิ" ที่มีความสูงตั้งแต่ 100 เมตรถึง 150 เมตร ซึ่งถาโถมเข้าถล่มชายฝั่งทางด้านเหนือของเกาะครีต

เมืองลิสบอน ประเทศโปรตุเกส เกิดแผ่นดินไหวในปี พ.ศ. 2298 (ค.ศ. 1755) ชาวโปรตุเกสจำนวนหลายหมื่นคนรอดชีวิตจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่ลิสบอนในปี พ.ศ. 2298 (ค.ศ. 1755) แต่กลับต้องเสียชีวิตไปทันที ด้วยคลื่นสึนามิที่โถมเข้าทำลายหลังเกิดแผ่นดินไหวได้เพียงไม่กี่นาที

เกาะกรากะตัว ในประเทศอินโดนีเซีย ภูเขาไฟเกิดการระเบิดอย่างรุนแรงเมื่อปี พ.ศ. 2426 (ค.ศ. 1883) หินเหลวละลายใต้ปล่องภูเขาไฟถูกพ่นออกมาจำนวนมาก เกิดโพรงขนาดใหญ่ขึ้นใต้ดิน ทำให้พื้นแผ่นดินที่อยู่เบื้องบนและพื้นทะเลยุบตัวลง ส่งผลให้เกิดระลอกคลื่นสึนามิขนาดใหญ่ขึ้น

สึนามิแปซิฟิก แผ่นดินไหวในหมู่เกาะอลิวเตียน ในปี พ.ศ. 2489 (ค.ศ. 1946) ก่อให้เกิดคลื่นสึนามิที่ถาโถมเข้าสู่ฮาวายและอะลาสก้า ทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวน 165 คน มหันตภัยสึนามิที่เกิดขึ้นในครั้งนั้นส่งผลให้เกิดการก่อสร้างระบบเตือนภัย

สึนามิชิลี แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ชิลี มีระดับความรุนแรง 9.5 ริกเตอร์ซึ่งเป็นระดับที่รุนแรงที่สุดเท่าที่เคยมีการบันทึกไว้ ก่อให้เกิดคลื่นสึนามิที่สร้างความวิบัติหายนะอย่างรุนแรงที่สุดในคริสต์ศตวรรษที่ 20

สึนามิกู๊ดฟราย์เดย์ แผ่นดินไหวกู๊ดฟรายเดย์ขนาด 9.2 ริกเตอร์ที่เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2507 (ค.ศ. 1964) ก่อให้เกิดคลื่นสินามิถาโถมเข้าถล่มชายฝั่งอะลาสก้า, บริติช โคลัมเบีย, แคลิฟอร์เนียและชายฝั่งเมืองแปซิฟิกนอร์ธเวสต์ในสหรัฐอเมริกา ทำให้ประชาชนเสียชีวิต 122 คน

สึนามิในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 - เกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย

สึนามิในเอเชียใต้ พ.ศ. 2067 (ค.ศ. 1524) - ใกล้เมือง Dabhol รัฐมหารัชตะ ประเทศอินเดีย
2 เมษายน พ.ศ. 2305 (ค.ศ. 1762) - ชายฝั่งอาระคัน ประเทศพม่า
16 มิถุนายน พ.ศ. 2362 (ค.ศ. 1819 - Rann of Kachchh รัฐกุจาราช ประเทศอินเดีย
31 ตุลาคม พ.ศ. 2390 (ค.ศ. 1847) - หมู่เกาะนิโคบาร์ใหญ่
31 ธันวาคม พ.ศ. 2424 (ค.ศ. 1881) - หมู่เกาะคาร์นิโคบาร์
26 สิงหาคม พ.ศ. 2426 (ค.ศ. 1883) - ภูเขาไฟกรากะตัวระเบิด
28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2488 (ค.ศ. 1945) - ชายฝั่ง Mekran บาลูจิสถาน

สึนามิในอเมริกาและแคริบเบียน

11 ตุลาคม พ.ศ. 2461 (ค.ศ. 1918) - เปอร์โตริโก
18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2472 (ค.ศ. 1929) - นิวฟาวนด์แลนด์
4 สิงหาคม พ.ศ. 2489 (ค.ศ. 1946) - สาธารณรัฐโดมินิกัน
18 สิงหาคม พ.ศ. 2489 (ค.ศ. 1946) - สาธารณรัฐโดมินิกัน
14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2383 (ค.ศ. 1840) - เกรท สเวลล์ในแม่น้ำเดลาแวร์
17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2415 (ค.ศ. 1872) - มลรัฐเมน
9 มกราคม พ.ศ. 2469 (ค.ศ. 1926) - มลรัฐเมนอิง
19 พฤษภาคม พ.ศ. 2507 (ค.ศ. 1964)

หากดูสถิติการเกิด "สึนามิ" เห็นได้ว่า ภัยธรรมชาตินี้เกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ การเตรียมความพร้อม สถานที่ปลอดภัย สัญญาณเตือนภัยจึงเป็นสิ่งสำคัญในเบื้องต้นที่ทุกหน่วยงานต้องให้การสนับสนุน ด้วยเพราะยังไม่มีตัวชี้วัดที่แน่นอนว่า "สึนามิ ภัยร้าย" จะเกิดขึ้น ณ เวลาใด

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook