บิ๊กจิ๋ว-ประชาลุยอุดรฯเดินสายหาเสียงช่วยผู้สมัคร พผ.

บิ๊กจิ๋ว-ประชาลุยอุดรฯเดินสายหาเสียงช่วยผู้สมัคร พผ.

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
เมื่อเวลา 14.00 น.วันที่ 7 มกราคม 2552 ที่สมาคมชาวไร่อ้อยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อ.กุมภวาปี จ.อุดรธานี พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ อดีตนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วย พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก ว่าที่หัวหน้าพรรคเพื่อแผ่นดิน ได้ร่วมเดินทางมาปราศรัยหาเสียงช่วย น.ส.ณฐกมล นนทะโชติ ผู้สมัคร ส.ส.อุดรธานี เขต 2 พรรคเพื่อแผ่นดิน โดยมีประชาชนในพื้นที่เขต 2 มาร่วมรับฟังการปราศรัยกว่า 2,000 คน พร้อมกับ ส.อบจ.อุดรธานี ในเขตเลือกตั้งที่ 2 ที่มาร่วมหาเสียงช่วย

พล.อ.ชวลิต กล่าวปราศรัยว่า ที่เดินทางมาหาเสียงช่วยหาเสียง เพราะผู้สมัครฯ เป็นหลานสาวของตน เป็นลูกของนายทหารที่ตนรู้จักคุ้นเคย และเป็นอดีตผู้ใต้บังคับบัญชามาก่อน เป็นเด็กสาวที่ขยันมีความมุ่งมั่นที่จะอาสามารับใช้พี่น้องชาวอีสานโดยเฉพาะ จึงอยากฝากพ่อแม่พี่น้องกรุณาเมตตาช่วยเหลือ ด้วยการลงคะแนนเสียงเลือกเป็น ส.ส.เพื่อที่จะได้ทำงานช่วยคนยากจนคนอีสานตามที่ปรารถนา

// //

นอกจากนี้ พล.อ.ชวลิต กล่าวอีกว่า ตนต้องการที่จะให้มีการรวมพรรคการเมืองในภาคอีสาน จับมือกันเพื่อให้มีความเป็นปึกแผ่น สมานฉันท์ ซึ่งที่ผ่านมาเป็นการทำแบบต่างคนต่างทำ ต่างพรรค ไม่มีความร่วมมือ ทำให้อีสานไม่พัฒนา

จากนั้น พล.ต.อ.ประชา ได้ขึ้นกล่าวปราศรัย โดยกล่าวถึงเหตุการณ์ในวันลงคะแนนคัดเลือกนายกรัฐมนตรี ซึ่งตอนนั้นมีคะแนนที่เช็คมาแล้วสูสี แต่เมื่อลงคะแนนกลับทิ้งห่าง ซึ่งจะต้องหา ส.ส.เพิ่มเข้าไป โดยการเลือกผู้สมัครคนนี้ เพื่อเพิ่มเสียงให้กับ ส.ส.ของพรรคเพื่อแผ่นดิน

ต่อมา พล.อ.ชวลิต ให้สัมภาษณ์ว่า ตนมาช่วยผู้สมัคร ส.ส.เดินหาเสียงตลอด แต่ไม่ได้ไป จ.นครพนม เพราะที่นั่นมีแต่ลูกๆ หลานๆ ซึ่งวันพรุ่งนี้จะไปช่วยผู้สมัครที่ จ.ศรีสะเกษ และมหาสารคาม เพื่อไปช่วยลูกหลานหาเสียง ส่วนการปราศรัยของตนไม่ได้ีไข่ ไม่ได้ปราศรัยให้ใครเสียประโยชน์ แต่เป็นการปราศรัยเพื่อเสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหาชาติบ้านเมือง ด้วยแนวทางอย่างนี้ ทำให้ตนสามารถไปพูดที่ไหนก็ได้ เพื่อให้เขาได้รู้รักสามัคคี ได้หันหน้าเข้าหากัน เพื่อร่วมแก้ไขปัญหา ฉะนั้นที่เราไปปราศรัยจึงเป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่าย

ผมมีแนวนโยบายที่จะรวมพรรคการเมืองในอีสานให้ได้ เพราะถามใครก็ไม่มีใครตอบได้ว่า ทำไมพรรคนี้ถึงรวมกับพรรคนั้นไม่ได้ หรือทำไมคนอีสานจึงรวมเป็นหนึ่งเดียวไม่ได้ ตอบไม่ได้ว่าเพราะอะไร ส่วนใหญ่ก็จะบอกว่า ไม่มีการติดต่อกัน ไม่มีการคุยกัน ฉะนั้นวันนี้เราจะเริ่มคุยกัน จะเริ่มติดต่อกัน เราต้องการจะสร้างการเมืองให้เป็นหนึ่งเดียว แต่ว่าไม่ใช้พื่อคนใดคนหนึ่ง แต่เพื่อการนำรวมหมู่ คือทุกคนมีศักดิ์ศรีที่เสมอกัน แล้วแต่ว่าสถานการณ์ตรงนี้ ใครจะเหมาะเป็นผู้นำ เราก็จะเลือกคนนั้นขึ้นมา ซึ่งเหมือนกับการเมืองการปกครองของหลาย ๆ ประเทศ หากเราทำอย่างนี้ได้การเมืองก็จะมั่นคงตลอดไป เช่น พรรคอัมโน ของมาเลเซีย หรือ พรรค LDP ของญี่ปุ่น นี่คือสิ่งที่ผมพยายามทำมานานแล้ว เช่น รัฐบาลเฉพาะกาล รัฐบาลแห่งชาติ หรือ โซ่ข้อกลาง ซึ่งตอนนี้มีโอกาสอธิบายให้ประชาชนได้รับทราบ

ผู้สื่อข่าวถามกรณีที่ นายชวน หลีกภัย ประธานที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ ปราศรัยหาเสียงที่ จ.เชียงใหม่ และ ลำพูน และถูกกลุ่ม นปช.ปาไข่ใส่นั้น มีความคิดเห็นอย่างไร พล.อ.ชวลิต กล่าวว่า ต้องดูว่าเขาปาด้วยความรักหรือเปล่า คือปาแล้วยิ้มหรือเปล่า แต่ก็คงจะไม่ใช่ ซึ่งมันคงไม่เหมาะสมสำหรับผู้หลักผู้ใหญ่ พวกเราต้องคิดกันให้ดีว่า จะแสดงความไม่พอใจอย่างไรถึงจะดี แต่ตนก็เข้าใจคนที่ไม่พอใจ เพราะทุกคนที่มีความโกรธแค้น เพราะพรรคประชาธิปัตย์ใช้วิธีพูดง่ายๆ ว่าลักไก่เอาคนของเขาไป เขาอาจจะมีความเครียดแค้น ต่ถ้าหันหน้ามาพูดกันเรื่องก็คงจะจบ

ด้าน พล.ต.อ.ประชา ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับการเสนอชื่อหัวหน้าพรรคเพื่อแผ่นดินต่อ กกต.ในวันที่ 8 ม.ค.นี้ ว่า เรื่องนี้ก็เป็นไปตามกระบวนการของ กกต. ถ้าพ้น 30 วันหรือเลย 30 วันแล้วยังไม่มีข้อชัดเจน ก็เป็นสิทธิของผู้มีผลกระทบตรงนี้ มีสิทธิที่ร้องเรียนไปยังที่ กกต.ก็คงเป็นวันที่ 8 ม.ค. และ กกต.คงใช้เวลาในการตรวจสอบ ว่าการเลือกหัวหน้าพรรคครั้งที่แล้ว ถูกต้องหรือไม่ ซึ่งต้องเป็นไปตามข้อกำหนดของการเลือกตั้งหรือไม่ ซึ่งเรื่องคงจะยุติอยู่ที่ กกต.หากไม่ยุติก็อาจจะเป็นที่ศาลรัฐธรรมนูญ

ส่วนเรื่องที่ พล.อ.ชวลิต ต้องการจะรวมพรรคการเมืองในภาคอีสาน ผมยังไม่ได้พูดคุยกันลึกถึงขั้นนั้น เป็นแต่เพียงมองว่า ทำอย่างไรภาคอีสานจะมีความเป็นปึกแผ่น เพื่อที่จะให้เกิดประโยชน์ในการพัฒนาภาคอีสาน เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งแนวความคิดจะต้องตกผลบึกก่อน จากนั้นถึงจะเป็นแนวความคิดในการสร้างนโยบาย แนวทางการปฏิบัติในการพัฒนาภาคอีสานให้ดียิ่ง ๆ ขึ้นไป พล.ต.อ.ประชา กล่าว

ตะลุยข่าว : THE GREEN POLICE กองปราบฯ สู่ศตวรรษที่ 21

ในขณะที่หลายประเทศทั่วโลกสามารถระงับยับยั้งปัญหาอาชญากรรมให้ลดลงและควบคุมให้อยู่ในวงจำกัดได้ ตรงกันข้ามกับประเทศไทย กลับมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น และมีการกล่าวถึงในระดับนานาชาติว่า

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook