วันชาติอเมริกา..กับชาตินิยมแบบอเมริกัน

วันชาติอเมริกา..กับชาตินิยมแบบอเมริกัน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
อิสรภาพและเสรีภาพเป็นสำนึกร่วมกันของอเมริกันชนทุกคน ซึ่งสามารถกล่าวย้อนไปถึงวันที่ 4 กรกฎาคม 2319 ที่อาณานิคมของสหราชอาณาจักร 13 แห่งในดินแดนอเมริกาได้ "ประกาศเอกราชจากสหราชอาณาจักร โดยก่อตั้งเป็นประเทศใหม่ที่ชื่อว่า สหรัฐอเมริกา โดยมีโธมัส เจฟเฟอร์สัน เป็นผู้ร่างคำประกาศอิสรภาพและประธานาธิบดีคนที่ 3 ของอเมริกา และถือเอาวันที่ 4 กรกฎาคม เป็นวันแห่งการเฉลิมฉลองอิสรภาพและเป็นวันชาติของอเมริกาตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา ความสัมพันธ์ไทย-อเมริกา การสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์และพระบรมราชจักรีวงศ์ กับการประกาศอิสรภาพของสหรัฐอเมริกา ต่างกันเพียง 6 ปีเท่านั้น โดยการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2325 และการประกาศอิสรภาพของอเมริกาเกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2319 ทั้งนี้สัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยกับอเมริกาเริ่มมีมาตั้งแต่สมัยของประธานาธิบดี แอนดรูว์ แจ๊คสัน ที่ส่ง เอ็ดมันด์ โรเบิร์ต เป็นทูตคนแรกมายังประเทศไทย เมื่อ พ.ศ. 2375 ซึ่งทรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 และมีความสัมพันธ์ต่อกันเรื่อยมา ที่สำคัญก็คือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ภูมิพลอดุลยเดช ในหลวงของเราเสด็จพระราชสมภพที่โรงพยาบาลเมานท์ ออเบิร์น เมืองบอสตัน รัฐแมสซาชูเสทท์ ประเทศสหรัฐ อเมริกา เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2470 ซึ่งสร้างความรู้สึกแน่นแฟ้นต่อประชาชนชาวไทยและอเมริกันยิ่งขึ้น บรรยากาศการเฉลิมฉลอง เมื่อครบรอบวันชาติของอเมริกา เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2553 ที่ผ่านมา ก็ย่อมต้องมีการเฉลิมฉลองตามประสาอเมริกันชน แต่ไม่วายที่เหตุโกลาหลยังเกิดขึ้น เมื่อเจ้าหน้าที่ท่าอากาศยานนานาชาติ จอห์น เอฟ. เคนเนดี้ ในนครนิวยอร์กของสหรัฐต้องอพยพผู้โดยสารออกจากอาคารผู้โดยสารอย่างโกลาหล หลังมีการขู่วางระเบิดที่สนาม ในขณะที่ชาวอเมริกันทั่วประเทศร่วมฉลองวันชาติ โดยตามเมืองใหญ่หลายแห่ง มีการจุดพลุอย่างงดงามตระการตา โดยสำนักข่าวซีเอ็นเอ็นเสนอภาพธรรมเนียมการเฉลิมฉลองของชาวอเมริกันไว้อย่างเรียบง่าย ตั้งแต่การฉลองตามธรรมเนียมอย่างปาร์ตี้บาร์บีคิว ไปจนถึงการแข่งขันกินฮอตดอกที่ปฏิบัติติดต่อกันมาหลายสิบปี ในขณะที่ในทำเนียบขาวก็มีการฉลองตามพิธีการ ด้านประธานาธิบดีบารัค โอบามา ของสหรัฐฯ พร้อมสตรีหมายเลข 1 ได้ร่วมฉลองวันชาติด้วยการจัดเลี้ยงบาร์บีคิว เพื่อเป็นเกียรติแก่ทหารและครอบครัวที่ทำเนียบขาว รวมทั้งร่วมชมการแสดงการจุดพลุ ในโอกาสนี้ ผู้นำสหรัฐ กล่าวอวยพรให้แขกที่มาร่วมงานราว 1,200 คน ขอให้มีความสุขในวันชาติอเมริกาและขอให้พระเจ้าคุ้มครองประเทศชาติ ส่วนในประเทศไทย ฯพณฯ อีริค จีจอห์น เอกอัครราชทูต สหรัฐอเมริกา และภริยาโซเฟีย จอห์น เป็นประธานจัดงานเลี้ยงรับรองวันประกาศอิสรภาพครบ 234 ปี สหรัฐอเมริกา โดยมี ฯพณฯ ชัย ชิดชอบประธานรัฐสภา นายสุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ร่วมงาน ณ โรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล ชาตินิยมแบบอเมริกัน ในระยะหลังมานี้ คำว่า "ชาตินิยม ดูจะกลายเป็นประเด็นทางสังคมศาสตร์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะในประเทศไทยที่กลายเป็นส่วนหนึ่งของความรู้สึก "ขัดแย้ง และ "แบ่งแยก แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าในทุกกลุ่มคน ทุกชาติ ย่อมมีความรู้สึกเป็นชาตินิยมอยู่ในสำนึกไม่มากก็น้อย กลวิธีการสร้างความรู้สึกร่วมในความเป็นชาติและความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของอเมริกานั้นสะท้อนออกมาผ่านการ "เอาใจ ประชาชนของบรรดาผู้นำและผู้บริหารประเทศ ความเป็นชาติท่ามกลางสมรภูมิ ทหารที่ถูกส่งไปประจำการยังต่างประเทศ โดยเฉพาะในประเทศที่ถือเป็นคู่ปรับของสหรัฐอย่างอิรัก ดูจะเป็นกลุ่มคนที่อเมริกาต้องการแสดงความห่วงใยและเอาใจใส่ที่สุด โดยนายโจ ไบเด็น รองประธานาธิบดีสหรัฐ พร้อมกับนางจิลล์ ไบเด็น ภริยา ร่วมฉลองวันชาติ 4 ก.ค. กับกองกำลังทหาร ที่ฐานทัพสหรัฐฯ ใกล้กรุงแบกแดด ขณะเยือนอิรักเป็นครั้งที่ 2 ในรอบปี 2553 ก่อนประชุมเจรจากับนายนูรี มาลิกิ นายกรัฐมนตรีอิรัก และนายไอยาด อัลลาวี อดีตนายกรัฐมนตรีอิรัก เรื่องการจัดตั้งรัฐบาลที่ยังไม่ลงตัว ในครั้งนี้ นายไบเด็นมองทิศทางการเมืองอิรักว่าจะคลี่คลายด้วยดี ในขณะเดียวกันวีรบุรุษของกองทัพพร้อมครอบครัวก็ได้รับเชิญให้เข้าร่วมเฉลิมฉลองวันชาติที่ทำเนียบขาวร่วมกับประธานาธิบดีโอบามาและสตรีหมายเลขหนึ่ง เพื่อเป็นการสนับสนุน ให้กำลังใจ และช่วยเหลือครอบครัวของวีรบุรุษของกองทัพอเมริกัน วันชาติของอเมริกา ก็คือวันที่อเมริกันชนประกาศอิสรภาพของตนเอง และรวมกันเป็นชาติมหาอำนาจในเวลาต่อมา ส่วนประเทศไทยเราที่ยุครัตนโกสินทร์เกิดขึ้นมาในเวลาไม่ห่างกันนัก มีวันชาติ ที่ปัจจุบันคือวันพ่อ อันเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวไทย ความสำคัญไม่ได้ยิ่งหย่อนไปกว่ากันเลย ความเป็นชาตินิยมของอเมริกานำไปสู่ความเป็นหนึ่งเดียว ส่วนความเป็นชาตินิยมของไทยที่ผ่านมานั้น กลับนำมาถูกอ้างให้เกิดความแตกต่างและขัดแย้ง น่าจะถึงเวลาแล้วที่คนไทยจะมองความเป็นชาตินิยมให้มุมมองใหม่ ให้เกิดความรัก ความสามัคคี และเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของคนในชาติ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook