บทความพิเศษ-อุดมการณ์บนเส้นขนานการเมืองภาคประชาชนกับการเมืองนักเลือกตั้ง

บทความพิเศษ-อุดมการณ์บนเส้นขนานการเมืองภาคประชาชนกับการเมืองนักเลือกตั้ง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
หลังการยุติการชุมนุมประท้วงรัฐบาลแบบมาราธอนนานถึง 7 เดือนของประชาชนในนามกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้ก่อให้เกิดปรากฏการณ์ใหม่ๆ ในวงการเมืองไทยอย่างไม่เคยมีมาก่อน

// //

โดยเฉพาะการทำให้นักการเมืองระดับผู้นำของประเทศที่มีพฤติกรรมในเชิงทุจริตคอรัปชั่นได้รับโทษทางอาญาต้องติดคุกติดตะรางเหมือนประเทศอารยะทั้งหลาย

รวมไปถึงการทำให้บรรทัดฐานการปกครองแบบนิติรัฐมีผลในทางปฏิบัติ หลังจากที่กระบวนการยุติธรรมถูกแทรกแซงจนอ่อนปวกเปียกโดยนักเลือกตั้งสาขาธุรกิจการเมือง ที่ได้บิดเบือนระบอบประ ชาธิปไตยให้กลายเป็นระบอบอำนาจนิยม ที่ครอบงำระบบการเมืองไทยให้ตกอยู่ในวังวนของการแสวงหาผลตอบแทนในรูปของผลประโยชน์ทับซ้อนต่างๆ อย่างมหาศาล จากการนำเงินมาลงทุนทางการเมืองด้วยวิธีการทางการตลาดในหลายรูปแบบ แม้แต่ฝ่ายค้านในระบบรัฐสภาเองก็หมดปัญญาที่จะทำหน้าที่ตรวจสอบและดำเนินการเอาผิดต่อผู้กระทำผิดจากการทุจริตคอรัปชั่นได้ จึงเป็นเหตุให้ประชาชนที่ไม่สามารถที่จะทนรับสภาพดังกล่าวได้ ต้องลุกขึ้นมาดำเนินการแก้ไขปัญหาเองโดยตรงในนามของการเมืองภาคประชาชน ซึ่งรัฐธรรมนูญได้รับรองสิทธิให้สามารถดำเนินการดังกล่าวได้ จึงทำให้ระบอบประชาธิปไตยถูกปลดล็อกไปอีกขึ้นหนึ่ง ที่มุ่งสู่การมีธรรมาภิบาลมากยิ่งขึ้น

การที่พลังของการเมืองภาคประชาชน สามารถลดทอนอำนาจทางการเมืองของนักเลือกตั้งลงได้นั้น ต้องลงทุนเพื่อให้ได้มาด้วยราคาของความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์คิดเป็นมูลค่ามหาศาล จากการใช้กำลังเข้าปราบปรามประชาชนของรัฐอำนาจนิยม ที่มีแนวคิดที่ถือว่าประชาชนเป็นศัตรูของตนเอง แนวคิดของรัฐอำนาจนิยมเช่นนี้ ถือว่าเป็นแนวคิดที่ชั่วร้ายยิ่งกว่าการทำสงครามระหว่างรัฐต่อรัฐเสียอีก

เพราะการทำสงครามระหว่างรัฐ ถือว่าประชาชนฝ่ายตรงข้ามที่สูญเสียชีวิตและทรัพย์สินนั้นเป็นฝ่ายศัตรู จึงไม่เป็นเรื่องที่ผิดปกติแต่ประการใด แต่การที่รัฐอำนาจนิยมทำร้ายประชาชนของตนเองนั้น ถือเป็นการกระทำที่ชั่วร้ายสูงสุดอย่างที่ไม่มีอะไรมาเทียบได้ จึงเป็นที่เห็นได้อย่างชัดเจนว่า ระบอบประชาธิปไตยที่จะถือเป็นระบอบประชาธิปไตยของไทยที่มีความเป็นมาตรฐานในระดับสากลได้นั้น จะต้องมีการเมืองภาคประชาชนควบคู่ไปกับการเมืองนักเลือกตั้งอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะมิฉะนั้นระบอบอำนาจนิยมไม่ว่าจะเกิดจากนักเลือกตั้งหรือนักการทหารก็จะหวนกลับมาได้ตลอดเวลา ตราบใดที่จิตใจของบุคคลเหล่านี้ยังถูกฝังด้วยกิเลสที่ฝังรากลึกลงไปเหมือนรากแก้วของต้นไม้ใหญ่ที่จมอยู่ใต้ดินในระดับที่ลึกมากแล้ว

บทบาทของการเมืองภาคประชาชน สามารถทำหน้าที่ตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลได้ดี ในภาวะที่ฝ่ายค้านไม่สามารถแสดงบทบาทได้อย่างมีประสิทธิภาพจากการยึดครองสภาของนักเลือกตั้งจากสาขาธุรกิจการเมือง จนทำให้ฝ่ายค้านกลายเป็นเป็ดง่อยโดยทันที ดังจะเห็นจากปรากฏการณ์ในอดีตที่ฝ่ายค้านยื่นกระทู้ให้นายกรัฐมนตรีมาชี้แจงในสภาในเรื่องต่างๆ ก็ยังไม่อาจทำได้แต่อย่างใด

อย่างไรก็ดี หากนักเคลื่อนไหวในการเมืองภาคประชาชน มีแนวคิดจะปรับรูปแบบไปสู่การจัดตั้งพรรคการเมืองแบบการเมืองนักเลือกตั้ง หรือแม้แต่ให้การสนับสนุนพรรคการเมืองแบบนอมินี ก็อาจจะเป็นหนทางที่จะนำไปสู่ความเสื่อมของการเมืองภาคประชาชนเอง เพราะจะนำมาสู่การมีผลประโยชน์ทับซ้อน ซึ่งไม่แตกต่างไปจากการเมืองของนักเลือกตั้งนั่นเอง ในขณะที่การเมืองภาคประชาชนที่บริสุทธิ์นั้น จะสามารถสร้างขบวนการและแนวร่วมในการต่อสู้กับรัฐอำนาจนิยมได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความชอบธรรม

ดังนั้นแทนการมุ่งสู่การจัดตั้งพรรคการเมืองแบบการเมืองนักเลือกตั้ง นักเคลื่อนไหวการเมืองภาคประชาชน ควรสร้างขบวนการทางการเมืองภาคประชาชนในรูปแบบของเครือข่ายสมาชิกในแต่ละภูมิภาค และยกระดับเป็นสภาประชาชนที่สามารถใช้เป็นองค์กรในการวางแผนกำหนดยุทธศาสตร์และยุทธวิธีในการเคลื่อนไหว จากตัวแทนของประชาชนในแต่ละส่วนภาค แทนการชี้นำจากส่วนกลางหรือส่วนนำแต่เพียงฝ่ายเดียว

จึงจะเป็นสภาประชาชนที่กำหนดนโยบายจากล่างขึ้นบน ซึ่งจะทำให้การเมืองภาคประชาชนสามารถเข้าไปมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายของรัฐ รวมไปถึงกำหนดมาตรการใช้อำนาจ การตรวจสอบและการควบคุมอำนาจรัฐ จึงจะช่วยให้เกิดรูปแบบของระบอบประชาธิปไตยที่มีการถ่วงดุลอำนาจได้อย่างแท้จริง

ชูเกียรติ พงศ์อัมพรภาพย์

อาถรรพณ์นรกซานติก้า ที่ดินนี้มีตำนาน...เลือด!!!

จากที่ดินทำเลทองย่านเอกมัย เพียงชั่วข้ามคืนของวันแรกที่ย่างเข้าสู่ศักราชใหม่ปี 2552 กลับกลายเป็นสุสานของเหยื่อเพลิงนรก นำมาสู่การผูกโยงถึงความเชื่อของชาวบ้านที่อาศัยอยู่ใกล้กับ สุสานซานติก้าผับ ด้วยความหวาดผวา และบอกเล่าถึงเรื่องราวอาถรรพณ์ที่เกิดขึ้น รวมถึงลางร้ายบอกเหตุที่อาจจะเป็นสาเหตุที่นำมาสู่โศกนาฏกรรมครั้งนี้

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook