มติครม.ศก.โอน5พันน้ำท่วมผ่านธ.ออมสิน

มติครม.ศก.โอน5พันน้ำท่วมผ่านธ.ออมสิน

มติครม.ศก.โอน5พันน้ำท่วมผ่านธ.ออมสิน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ที่ประชุม ครม.เศษฐกิจ มีมติ ใช้วิธีโอนเงินช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วม รายละ 5 พันบาท ผ่านธนาคารออมสิน เพียงแห่งเดียว ขณะมีครัวเรือนที่เข้าข่ายแล้ว 620,000 ราย

นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า การประชุม ครม.เศรษฐกิจ วันนี้ ได้ออกวิธีการโอนเงินชดเชย ผู้ประสบภัยน้ำท่วม 5,000 บาท โอนเงินผ่านธนาคารออมสิน เพียงแห่งเดียว ล่าสุด วันที่ 31 ต.ค. ที่ผ่านมา จำนวนครัวเรือนที่ชดเชยอยู่ที่ 620,000 ราย ส่วนความเสียหาย สำหรับอุปกรณ์ที่ใช้ทำมาหากินชดเชย 10,000 บาท บ้านพักอาศัยเสียหายชดเชย 20,000 บาท และหากบ้านเรือนพังเสียหาย ต้องสร้างใหม่ชดเชย 100,000 บาท โดยรัฐบาลจะเร่งดำเนินการให้ถึงมือประชาชนโดยเร็วที่สุด

นอกจากนี้ ครม.เศรษฐกิจ ยังได้ทบทวนผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยนที่ออก 5 มาตรการ ที่ 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา โดยเม็ดเงินจากต่างประเทศ ที่ซื้อขายตราสารหนี้ไทย ลดลงกว่าครึ่ง ซึ่งเป็นไปตามเป้าหมาย และค่าบาท ก็อยู่ในระดับที่คงที่ อยู่ที่ประมาณ 29 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ จะมีการหารือมาตรการระยะสั้น และ ระยะยาว กับธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ ธปท. รับมือมาตรการทางการเงินของสหรัฐฯ ที่จะออกมาในวันที่ 3 พ.ย. นี้ เนื่องจากสกุลเงินต่างๆ จะอ่อนค่าลงไปอีก

ด้าน นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ที่ประชุมคณะกรรมการรัฐมนตรีเศรษฐกิจ มีการหารือถึงมาตรการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย โดยในระยะเร่งด่วน ได้ดำเนินการตามกรอบงบประมาณ ที่รัฐบาลอนุมัติช่วยเหลือเบื้องต้น ส่วนการชดเชยครอบครัวละ 5,000 บาท ที่ประชุมมีมติ ให้จ่ายผ่านธนาคารออมสิน โดยในวันนี้ ทางธนาคารออมสิน และกระทรวงมหาดไทย จะตัวแทนร่วมประชุมกับคณะกรรมการ อำนวยการกำกับติดตาม การช่วยเหลือเยียวยาผู้ประสบอุทกภัย หรือ คชอ. เพื่อกำหนดแผนการจ่ายเงิน ซึ่งเบื้องต้นมีจำนวนกว่า 600,000 ครัวเรือน นอกจากนี้ ยังมีการให้การช่วยเหลือ เฉพาะหน้ากรณีเด็กนักเรียนเปิดเทอม ทั้งเรื่องของอุปกรณ์และชุดนักเรียน โดยใช้งบประมาณกว่า 130 ล้านบาท สำหรับการฟื้นฟูที่ทางเกษตรนั้น จะใช้หลักการชดเชย ร้อยละ 55 ของต้นทุน ซึ่งต้องรอหลังน้ำลด เพื่อดูความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง คาดว่าจะใช้ระยะเวลา ประมาณ 3 เดือน และยังมีการพักหนี้ให้แก่เกษตรกร การงดดอกเบี้ย เป็นเวลา 3 ปี และการขอผ่อนผันการยื่นภาษี ให้กับผู้ประกอบการ SME ส่วนการฟื้นฟูโครงสร้างพื้นฐานนั้น นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไปปรับแผนการใช้จ่ายเงินตามปกติ เพื่อนำมาฟื้นฟูและให้กระทรวงพาณิชย์ดูต้นทุนในการทำการเกษตรและวัสดุก่อ สร้าง เพื่อช่วยลดภาระให้ประชาชน หลังน้ำลดขณะที่การฟื้นฟูระยะยาวนั้น ให้กระทรวงต่างๆ กลับสู่ระบบเตือนภัย การประกันภัยพืชผล การจัดสรรทรัพยากรน้ำ และการก่อสร้างที่กีดขวางทางเดินน้ำ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook