เจาะตลาดหน้าจอ : คลิก...อนุรักษ์ลายผ้าโบราณ

เจาะตลาดหน้าจอ : คลิก...อนุรักษ์ลายผ้าโบราณ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
อเมซิ่งอีสานแฟร์ หรืองานเทศกาลท่องเที่ยวอีสาน ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 15-18 มกราคม 2552 ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ งานที่เน้นนำเสนอศิลปะการแสดงทั้งอีสานเหนือ อีสานใต้ บางอย่างเป็นกิจกรรมที่หาชมได้ยากในปัจจุบันมาให้สัมผัสนั้น มีส่วนหนึ่งที่เราจะได้ให้เห็นว่า ระบบไอทีเป็นส่วนสำคัญสนับสนุนการพัฒนางานศิลปวัฒนธรรมของท้องถิ่น เอื้อประโยชน์แก่ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องและการท่องเที่ยวในพื้นที่ได้เป็นอย่างดี

ตัวอย่างที่โดดเด่น ได้แก่ ชุมชนผ้าทอมืออีสาน (i-san textiles) กลุ่มชลบถ พิบูลย์ ซึ่งเป็นผ้าลายใหม่ ในแนวศิลปะแดนอีสาน มีสถาบันพัฒนาการผลิต คือ โรงเรียนช่างทอผ้า อยู่ที่อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ซึ่งนำเสนอข้อมูลผลิตภัณฑ์ องค์ความรู้ผ่านเว็บไซต์ www.isantextiles.net มีบล็อกแลกเปลี่ยนความคิดเห็นอยู่ที่ http://gotoknow . org/blog/textile

สำรวย เย็นเฉื่อย นักวิจัยผู้ประสานงานทำงานพัฒนาในพื้นที่อีสาน กล่าวถึงโรงเรียนช่างทอผ้า ว่าเป็นกระบวนการเรียนรู้การทอผ้าของแม่หญิงอีสาน เพื่ออนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมของชุมชนและเพิ่มมูลค่าของสินค้าทางวัฒนธรรมของท้องถิ่น มีจุดประสานหรือโรงเรียนที่จังหวัด ขอนแก่น ส่วนห้องเรียนการทอผ้ากระจายไป ในชุมชนของอีสานในลักษณะเครือข่ายการพัฒนาร่วมกัน ผลผลิตของโรงเรียนเป็นผ้าทอมือ ทั้งผ้าไหมและผ้าฝ้าย เน้นการใช้วัตถุดิบในท้องถิ่นที่สามารถผลิตได้จากเครือข่าย เช่น กลุ่มผลิตเส้นไหม กลุ่มผลิตฝ้ายปลอดสารเคมีและกลุ่มทอผ้า

ผลิตภัณฑ์ชุมชน สามารถสร้างรายได้วนการพัฒนาสินค้าทางวัฒนธรรมให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดยังไม่เกิดขึ้น ทางกลุ่มได้รับทุนวิจัยการพัฒนาลายผ้าไหมมัดหมี่ให้มีความร่วมสมัยขึ้น ศูนย์วิจัยพหุลักษณ์สังคมลุ่ม น้ำโขง มหาวิทยาลัยขอน แก่น จึงเกิดกระบวน การพัฒนาการทอผ้า ที่เรียกว่า โรงเรียนช่างทอผ้า

สำรวย กล่าวถึงการใช้ประโยชน์ จากเครื่องมือสมัยใหม่ว่า แม้งานของโรงเรียนฯเป็นงานวัฒนธรรม ก็ไม่ได้ปิดกั้นตัวเองจาก โลกเทคโนโลยี แต่ปรับใช้ให้พอดี พอเหมาะ และสอดคล้องกับความสามารถของบุคลากร ของโรงเรียนช่างทอผ้าและเครือข่าย โดยใช้ประโยชน์จากคอมพิวเตอร์ในการจัดเก็บลายโบราณไม่ให้สูญหาย โดยยุคก่อน การสืบทอดลายจะสอนกันด้วยปาก การลอกเลียนตาม ผ้าเก่าหรือจากผ้าแส่งจากลายผ้าต้นแบบ แต่การบันทึกข้อมูลลายโดยคอมพิวเตอร์ทำ ให้การเก็บ การใช้มีความสะดวก รวดเร็ว เป็นระบบมากขึ้น การออกแบบลายผ้าร่วม สมัยก็ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ช่วยให้เกิด สีสัน และลวดลายที่เหมาะสม สามารถนำไป พัฒนาต่อเนื่อง ช่วยให้การออกแบบรวดเร็วและง่ายขึ้น

นอกจากนี้ โรงเรียนช่างทอผ้า ใช้เว็บไซต์และบล็อกเป็นช่องทางในการเผยแพร่ข้อมูล กิจกรรมงานพัฒนาการทอผ้าของช่างทอ เพื่อให้เกิดการถ่ายเทองค์ความรู้ การแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ และเกิดเครือข่ายการพัฒนากระบวนการทำงานของโรงเรียน และเป็นช่องทางในการขายสินค้าผ่านเว็บไซต์อีกด้วย

ผลจากการพัฒนาระบบ ใช้เทคโนโลยีมาช่วยด้านการออกแบบดังกล่าว ทำให้ได้ลวดลายผ้าทอโบราณที่ประณีต ที่บอกเล่าเรื่องราว ความหมายของผ้าทอได้ เนื่องจากโรงเรียนช่างทอผ้า เน้นเรื่องเล่าของลวดลายที่ผ่านจากรุ่นสู่รุ่นพร้อมกับการวิจัยอย่างมีระบบ ส่วนลายร่วมสมัย ก็ออกแบบให้มีความแปลกใหม่ แต่คงกลิ่นอายของวัฒนธรรมอีสาน นำแรงบันดาลใจจากศิลปวัฒนธรรมอีสานมาใช้ออกแบบให้ลายผ้ามีอัตลักษณ์เฉพาะที่ร่วมสมัย

ก่อนจะไปเสาะซื้อหาผ้าทอมือถึงถิ่นอีสาน ลองไปศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมกับโรงเรียนช่างทอผ้าในงานอเมซิ่งอีสานแฟร์ ซึ่งจะนำเสนอวิธีการทอไหมมัดหมี่แบบโบราณของ ช่างทออีสาน การทอ ผ้าปูลายโบราณ การแสดงผ้าซิ่นสตรีโบราณของกลุ่มชาติพันธุ์ไทยลาวอายุกว่า 100 ปี มีผ้าจากโครงการวิจัยและพัฒนาลายผ้าอีสานร่วมสมัย ซึ่งแจ้งจดลิขสิทธิ์แล้วถึง 40 ผืน ที่นำมาแสดง

งานนี้ผู้สนใจยังสามารถออกแบบลายผ้ามัดหมี่กลิ่นอายอีสาน ที่แสดงตัวตนของผู้ทำ และมีเพียงผืนเดียวในโลกได้อีกด้วย

เทคโนโลยีสมัยใหม่ หากรู้จักใช้ให้ เหมาะก็ช่วยกอบกู้คุณค่าของสมบัติเก่าแก่ที่กำลังจะสูญหายให้คงอยู่ยั่งยืนต่อไปได้. วีระพันธ์ โตมีบุญ

VeeraphanT@Gmail.com

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook