หนาวแต่จริงๆร้อน

หนาวแต่จริงๆร้อน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
รุ้งตัดแวง

สปาย-กลาส

แม้อากาศในฝั่งซีกโลกเหนืออย่างยุโรปและอเมริกาจะเย็นยะเยือก หรือแม้แต่แถบเส้นศูนย์สูตรอย่างบ้านเราจะหนาว

แต่นักวิทยาศาสตร์เตือนว่า อากาศแบบนี้ไม่ได้หมายความว่า โลกเย็นลงแล้วจากสภาพ โลกร้อน

องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก หรือ WMO ให้ข้อมูลว่า สภาพอากาศหนาวเย็นในปี 2551 อธิบายได้ด้วยปรากฏการณ์ ลานิญ่า การหมุนเวียนของกระแสอากาศกับกระแสน้ำในมหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้

ในขณะที่เอลนิโญ่ ทำให้อากาศร้อนผิดปกติ ลานิญ่า ทำให้เย็นผิดปกติ

สภาพอากาศเย็นยะเยือกในตอนนี้คือ อาการ หนึ่งจากภาวะโลกร้อน

ในยุโรป สถานที่เย็นที่สุดอยู่ใกล้เมืองเดรสเดนของเยอรมนี อุณหภูมิดิ่งลงไปถึง -27 องศา ขณะที่เมืองท่าริมทะเลเมดิเตอร์เรเนียนอย่าง มาร์กเซย์ ของฝรั่งเศส มีหิมะตก

ซูซาน โซโลมอน นักวิทยาศาสตร์ประจำคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งสหประชาชาติ หรือ IPCC เตือนว่า การที่ผู้คนสับสนกับอากาศที่เผชิญอยู่ อาจส่งผลต่อความพยายามลดภาวะโลกร้อน

หากมองภาพรวมกันปีต่อปีแล้ว จะยืนยันได้ว่า สภาพอากาศโลกแปรปรวนมากขึ้น

แม้ปี 2551 เย็นกว่าปี 2550 แต่ก็ยังติดอันดับ 10 ปีที่ร้อนที่สุดในบันทึกอากาศโลก

ประเมินได้ว่า เมื่อจบศตวรรษนี้ อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกจะเพิ่มขึ้นไปอยู่ที่ประมาณ 2.4-4 องศาเซลเซียส

แต่จะมากสุดหรือน้อยสุดตามที่ประเมินไว้ ขึ้นอยู่กับความตั้งใจลดการปล่อยก๊าซที่ก่อภาวะเรือนกระจก โดยเฉพาะคาร์บอนไดออกไซด์

ฌอง จูเซล ผู้เชี่ยวชาญอุตุนิยมวิทยาชั้นนำของฝรั่งเศส ใช้วิธีดูความเปลี่ยนแปลงของอากาศจากผลผลิตการเกษตร

เช่นของฝรั่งเศสที่ปลูกองุ่นเพื่อผลิตไวน์ ถ้าดูกันปีต่อปี อาจไม่ค่อยรู้สึกอะไร แต่เมื่อดูในช่วง 50 ปี จะพบว่า ระยะเวลาเก็บเกี่ยวเลื่อนออกไปหลายสัปดาห์

นอกจากนี้การละลายของยอดน้ำแข็งก็เป็นตัวอย่างสำคัญที่ยืนยันเรื่องโลกร้อน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook