เตือนศก.ทรุดเร็วจี้รัฐเร่งอัดให้ทัน มองต้องแก้ปัญหาเฉพาะหน้า-ติดข้อจำกัดการคลัง

เตือนศก.ทรุดเร็วจี้รัฐเร่งอัดให้ทัน มองต้องแก้ปัญหาเฉพาะหน้า-ติดข้อจำกัดการคลัง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
รศ.ดร.มนตรี โสคติยานุรักษ์ รองคณบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) กล่าวถึงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล ว่าจะได้ผลเพียงใดขึ้นอยู่การทำให้การใช้จ่ายเงินงบประมาณให้มีประสิทธิภาพและเกิดผลต่อระบบเศรษฐกิจมากที่สุด และการดำเนินนโยบายการคลังเพียงอย่างเดียวอาจยังไม่เพียงพอ ภาครัฐควรใช้นโยบายทางด้านการเงินควบคู่กันไป ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่า คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะประกาศลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอีก 0.5-1%

ต้องยอมรับว่า หลายโครงการที่รัฐบาลนำมาใช้ยังไม่เข้ากับสถานการณ์เศรษฐกิจของประเทศในขณะนี้ เช่น เรื่องมาตรการลดหย่อนภาษี จะช่วยได้แต่กลุ่มที่ยังมีงานทำ การช่วยเหลือจึงไม่ทั่วถึง ทำให้ประชาชนทั่วไปยังขาดความเชื่อมั่นในการจับจ่ายใช้สอย ซึ่งรัฐควรเลือกแนวทางลงทุนในเมกะโปรเจกท์ จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจและสร้างงาน สร้างความเชื่อมั่นให้ประชาชนได้มากกว่า รศ.ดร.มนตรีกล่าว

ดร.บันลือศักดิ์ ปุสสะรังษี ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สำนักวิจัย สายบริหารความเสี่ยง ธนาคารไทยธนาคาร กล่าวว่ามาตรการของรัฐบาลต่างๆ ที่ออกมาในขณะนี้ถือได้ว่าเป็นมาตรการที่พยายามออกมาให้ครอบคลุมผู้ที่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวแล้ว แต่สิ่งที่ยังน่าเป็นห่วงคือการเร่งการใช้จ่ายงบประมาณให้ได้จริง เพราะเศรษฐกิจจะทรุดตัวลงอย่างเร็วมาในไตรมาสแรกของปีนี้ ดังนั้น การกระตุ้นจึงต้องเร่งรัดให้ทันกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจ

// //

ต้องรีบเอาเงินออกมา แม้มีข้อจำกัด ถ้าช้าเศรษฐกิจทรุดจะเหนื่อย จริงๆ อย่างมาตรการเรื่องที่จะให้ซอฟท์โลนช่วยเหลือธุรกิจเอสเอ็มอีนั้นเป็นเรื่องที่แก้ปัญหาได้ตรงจุด ซึ่งก็ต้องรีบดำเนินการเข้าไปช่วยเหลือ ดร.บันลือศักดิ์ กล่าว

ดร.เชาวน์ เก่งชน รองกรรมการผู้จัดการบริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทย กล่าวว่า มาตรการที่ออกมาส่วนใหญ่เป็นมาตรการเชิงรับ ออกมาเพื่อแก้ปัญหาผลกระทบเศรษฐกิจเฉพาะหน้าโดยเฉพาะปัญหาการว่างงาน ซึ่งหากไม่มีมาตรการอื่น เช่น การเพิ่มทักษะการทำงานแก่ผู้ว่างงานออกมารองรับ จะยิ่งทำให้ปัญหาเลวร้ายยิ่งขึ้น โดยประเด็นสำคัญในปีนี้คือ เรื่องการจ้างงานและการลงทุน ทั้งนี้ นอกจากปัญหาการว่างงานแล้ว ปีนี้เศรษฐกิจไทยยังมีปัญหาการลงทุนหดตัว

ขณะนี้ยังไม่เห็นมาตรการที่ช่วยกระตุ้นการลงทุนโดยตรงออกมา ซึ่งหากรัฐบาลสามารถทำมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจบางอย่าง เช่น มาตรการภาษีนิติบุคคล ก็อาจจะทำให้มาตรการรัฐบาลเป็นมาตรการเชิงรุกมากขึ้น ดร.เชาวน์กล่าวและว่า รัฐบาลอาจจะยังไม่สามารถทำมาตรการเชิงรุกบางอย่างเช่นมาตรการภาษีนิติบุคคลได้ เพราะรัฐบาลยังมีภาระทางการคลังค่อนข้างมากจากการที่ปีนี้มีรายได้ต่ำกว่าเป้าและการจัดทำงบประมาณขาดดุล ทำให้มีข้อจำกัดที่ต้องทำมาตรการเพื่อตอบโจทย์เฉพาะหน้าก่อน

คำมั่นอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะต้องคุ้มครองสื่อให้ปลอดจากอำนาจรัฐ-อำนาจทุน

สำหรับข่าวโทรทัศน์วันนี้ที่มีการคุยข่าวไปเรื่อยๆ เป็นอันตราย แม้ข้อดีคนจะได้มีความเพลิดเพลิน แต่อันตรายของการคุยข่าวคือการชี้นำ เพราะไม่เหมือนกับการอ่านข่าวหรือประกาศข่าวอย่างที่เราเห็นในอดีต

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook