หอการค้าชี้ส่งออกปี52ติดลบ1.6%

หอการค้าชี้ส่งออกปี52ติดลบ1.6%

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
ดร.อัทธ์ พิศาลวานิช ผู้อำนวยศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า ศูนย์ได้ประเมินการส่งออกปี 2552 โดยโอกาสความเป็นไปได้สูงสุด อัตราการส่งออกจะลดลง 1.6% เทียบกับปีก่อนโดยมีมูลค่า 1.73 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ จากปัจจัยเศรษฐกิจโลกชะลอตัวลงที่มีอัตราขยายตัวเพียง 0.9% อัตราแลกเปลี่ยนอ่อนค่าลงอยู่ที่ระดับ 35 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ และราคาน้ำมันเฉลี่ยบาร์เรลละ 51.2 ดอลลาร์สหรัฐ

จากกรณีฐานดังกล่าว การนำเข้าจะติดลบ 6.7% หรือมูลค่า 1.67 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามทิศทางการส่งออกและการบริโภคของประเทศที่ชะลอลง ดุลการค้าเป็นบวก 5.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ดุลบัญชีเดินสะพัด ติดลบ 3.69 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เนื่องจากดุลบริการที่ลดลงตามจำนวนนักท่องเที่ยวที่คาดว่าจะลดลงในปีนี้ จากปัญหาเศรษฐกิจโลกและการเมืองภายในที่ไม่ก่อให้เกิดบรรยากาศการท่องเที่ยว

// //

การค้าระหว่างประเทศปีนี้ จะเผชิญกับปัจจัยลบ จากเศรษกิจโลกชะลอตัวลงมาก คู่ค้าลดการนำเข้า ระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้นในกลุ่มสินค้าไม่จำเป็นกับการดำรงชีวิต ราคาสินค้าลดลง โดยเฉพาะสินค้าเกษตรจะลดลงถึง 20.9% การแข่งขันทางการค้าจะรุนแรงขึ้น เพราะประเทศผู้ส่งออกต่างต้องการหาตลาดใหม่ เพื่อทดแทนตลาดหลักที่สูญเสียไป รวมถึงมาตรการกีดกันทางการค้าจากประเทศคู่ค้าที่มีมากขึ้น ดร.อัทธ์ กล่าว

สำหรับกลุ่มสินค้าที่จะได้รับผลกระทบจากการส่งออกปีนี้ชะลอตัวมาก ได้แก่ กลุ่มสินค้าอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีสูง เช่น ยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ ส่วนกลุ่มสินค้าที่สามารถพยุงตัวอยู่ได้ คือ กลุ่มสินค้าที่ใช้แรงงานมาก เช่น อัญมณี เครื่องหนัง ส่วนสินค้าที่สามารถส่งออกขยายตัวได้คืออาหารและสินค้าเกษตร เพราะเป็นกลุ่มที่ต้องบริโภคอย่างต่อเนื่อง

เป้าหมายส่งออกของกระทรวงพาณิชย์ที่ขยายตัว 3% ในปีนี้มีโอกาสเป็นไปได้น้อยที่สุด แต่ถ้าภาครัฐทำตามมาตรการกระตุ้นส่งออกที่วางแผนไว้ได้ผล ก็จะทำให้การส่งออกขยายตัวได้ตามเป้าหมาย ส่วนภาพรวมทางเศรษฐกิจ คาดว่าภาครัฐตีโจทย์ถูกแล้วที่ต้องกระตุ้นการค้าทั้งในและต่างประเทศ แต่เม็ดเงินที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจที่ 1.2 แสนล้านบาท นั้นยังไม่เพียงพอควรเพิ่มอีก 1 แสนล้านบาท เพื่อให้จีดีพีเป็นบวกได้ เพราะทุก 1 แสนล้านบาท จีดีพีจะเพิ่มขึ้น 0.7% ดร.อัทธ์ กล่าว

คำมั่นอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะต้องคุ้มครองสื่อให้ปลอดจากอำนาจรัฐ-อำนาจทุน

สำหรับข่าวโทรทัศน์วันนี้ที่มีการคุยข่าวไปเรื่อยๆ เป็นอันตราย แม้ข้อดีคนจะได้มีความเพลิดเพลิน แต่อันตรายของการคุยข่าวคือการชี้นำ เพราะไม่เหมือนกับการอ่านข่าวหรือประกาศข่าวอย่างที่เราเห็นในอดีต

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook