เปิดโลกยนตกรรม -หรือ ซีเอ็นจี พลังงานสะอาด จะสูญพันธุ์

เปิดโลกยนตกรรม -หรือ ซีเอ็นจี พลังงานสะอาด จะสูญพันธุ์

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
เราลืมเรื่อง พลังงานทดแทนไปชั่วคราว โดยเฉพาะก๊าซธรรมชาติ CNG ซึ่งเคยเป็นตัวเด่นในวงการเชื้อเพลิง รัฐบาลบอกให้ใช้ก็เปลี่ยนเครื่อง เสริมระบบกันยกใหญ่

ก๊าซธรรมชาติเป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่มีก๊าซมีเทนเป็นส่วนประกอบหลัก มีต้นกำเนิดเช่นเดียวกับน้ำมัน คือเกิดจากการทับถมของซากสิ่งมีชีวิตตามชั้นหิน ดิน และในทะเล เป็นเวลาหลายร้อยล้านปีจนเกิดปฏิกริยาเคมี อีกทั้งได้รับความร้อนและแรงกดดันจากผิวโลก จึงแปรสภาพเป็นก๊าซสะสมอยู่ใต้พื้นโลก

// //

สำหรับก๊าซธรรมชาติที่นำมาใช้ในยานพาหนะโดยทั่วไปเป็นก๊าซที่ถูกอัดจนมีความดันสูงประมาณ 3,000-3,600 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว เรียกว่า ก๊าซธรรมชาติอัด หรือ ซีเอ็นจี (Compressed Natural Gas - CNG) หรือบางท่านอาจจะเรียกติดปากว่าก๊าซเอ็นจีวี (Natural Gas for Vehicles - NGV) เนื่องจากก๊าซซีเอ็นจีหรือเอ็นจีวีมีความดันสูงนี่เองจึงจำเป็นต้องบรรจุไว้ในถังเก็บที่มีความแข็งแรงทนทานสูงเป็นพิเศษ

ซีเอ็นจี มีคุณสมบัติคือ มีน้ำหนักเบากว่าอากาศ หากมีการรรั่วไหลจะลอยฟุ้งกระจายไปในอากาศทันที ไม่สะสมบนพื้นราบ ซีเอ็นจีติดไฟที่อุณหภูมิประมาณ 650 องศาเซลเซียส นับว่าติดไฟยากกว่าเชื้อเพลิงชนิดอื่น มีอัตราการสะสมในอากาศที่ทำให้เกิดการติดไฟได้ที่ประมาณร้อยละ 5-15 ซึ่งสูงกว่าเชื้อเพลิงชนิดอื่นอีกเช่นกัน (ก๊าซหุงต้มที่อยู่ประมาณร้อยละ 2 - 9.5 น้ำมันเบนซินอยู่ที่ร้อยละ 1.4 - 7.6) จึงนับว่าเป็นเชื้อเพลิงที่มีความปลอดภัยสูง

ยิ่งไปกว่านั้น ซีเอ็นจียังเป็นเชื้อเพลิงที่เผาไหม้ได้สมบูรณ์กว่าน้ำมันปิโตรเลียม จึงทำให้เกิดมลพิษต่ำกว่า โดยทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ลดลงถึงร้อยละ 60 ไนโตรเจนออกไซด์ลดลงร้อยละ 13 และฝุ่นละอองก็น้อยกว่าด้วย

การนำก๊าซธรรมชาติมาใช้เป็นเชื้อเพลิงในรถยนต์มีมากว่า 80 ปีแล้ว โดยประเทศอิตาลีเป็นประเทศแรก ปัจจุบันมีการใช้อย่างแพร่หลายมากขึ้นในประเทศต่างๆ เช่น แคนาดา ใช้มากในระบบขนส่งและเป็นผู้ผลิตซีเอ็นจีรายใหญ่ของโลก เยอรมนี มีรถที่ใช้ซีเอ็นจีเกือบ 2 ล้านคัน อินเดีย ใช้ซีเอ็นจีมากในระบบขนส่งมวลชน โดยเฉพาะที่กรุงนิวเดลีซึ่งมีรถโดยสารซีเอ็นจีให้บริการมากที่สุดในโลก และซีเอ็นจียังมีราคาถูกกว่าน้ำมันเบนซินประมาณ 3 เท่า ปากีสถาน ก็เป็นประเทศที่ใช้รถซีเอ็นจีมากเป็นอันดับสองของโลก โดยรัฐบาลกำหนดให้รถโดยสารสาธารณะเปลี่ยนมาใช้ซีเอ็นจีตั้งแต่ปีที่แล้ว

ประเทศอื่นๆ ที่หันมาใช้ซีเอ็นจีมากขึ้น ได้แก่ สหรัฐอเมริกา อาร์เจนตินา บราซิล อียิปต์ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย เป็นต้น รวมทั่วโลกมีรถที่ใช้ซีเอ็นจีหลายล้านคัน

ในประเทศไทย ซีเอ็นจีที่ผลิตในประเทศมาจากแหล่งใหญ่ คือ อ่าวไทย ที่ผ่านมามีการนำมาใช้ในรถยนต์หลายขนาด โดยมีทั้งระบบที่ใช้ก๊าซเป็นเชื้อเพลิงอย่างเดียว ระบบเชื้อเพลิงทวิ (ใช้ได้ทั้งน้ำมันเบนซินและซีเอ็นจี) และระบบเชื้อเพลิงผสม เช่น ดีเซลผสมก๊าซ แต่ยังไม่แพร่หลายมากนัก

แต่หลังจากเกิดภาวะน้ำมันแพงบวกกับกระแสการอนุรักษ์พลังงานและลดภาวะโลกร้อน ทำให้ผู้ใช้รถให้ความสนใจนำรถไปติดตั้งระบบเชื้อเพลิงซีเอ็นจีกันมาก และค่ายรถหลายแห่งก็ตอบสนองความต้องการของตลาดโดยเริ่มผลิตรถยนต์ส่วนบุคคลที่ติดตั้งระบบซีเอ็นจีมาจากโรงงาน โดยเป็นระบบเชื้อเพลิงทวิ เช่น เมอร์ซีเดส-เบนซ์ อี200 เอ็นจีที, เชฟโรเลต ออพตร้า, มิตซูบิชิ แลนเซอร์ ซีเดีย และฮุนได โซนาต้า ผู้ใช้รถจึงน่าจะมั่นใจได้ในคุณภาพและความปลอดภัยของระบบมากกว่าการนำไปติดตั้งเอง

สำหรับ ค่ายรถน้องใหม่จากอินเดียอย่างทาทา มอเตอร์ส ก็ส่งรถปิคอัพรุ่นซีนอน (Xenon) แบบใหม่ที่ติดตั้งระบบซีเอ็นจีเรียบร้อยมาจากโรงงาน และเป็นรถกระบะรุ่นแรกในไทยที่ใช้ซีเอ็นจีเป็นเชื้อเพลิงอย่างเดียว

สำหรับรถกระบะได้รับความนิยมทั้งเป็นรถส่วนตัวและพาหนะขนส่งสินค้า จึงน่าจับตามองว่า ราคาน้ำมันที่ลดต่ำลงเช่นนี้ รถซีเอ็นจีทั้งแท้และไม่แท้จะไปรอดหรือไม่

อย่างไรก็ดี พลังงานทุกชนิดถ้าใช้อย่างไม่ระวังก็มีวันหมดไปได้ เพราะฉะนั้นต้องไม่ลืมที่จะประหยัดการใช้พลังงาน เพื่ออนาคตด้านพลังงานที่ยั่งยืนของไทยต่อไป

เสียงเล็กๆ นวันเด็กขอนายกฯช่วยคนไทยรักกัน

วันเด็กแห่งชาติปีนี้...ผู้ปกครองต่างพาบุตรหลานไปเที่ยวชมตามสถานที่ต่างๆ ที่เปิดเป็นพื้นที่ต้อนรับเด็กและเยาวชน โดยเฉพาะ ทำเนียบรัฐบาล ที่เคยโอ่อ่ากว้างใหญ่ กลับแคบลงไปถนัดตา

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook