ราคาเหล็กต้นปีหน้ายังผันผวน บทเรียนปี 51 ลดแรง เก็งกำไร

ราคาเหล็กต้นปีหน้ายังผันผวน บทเรียนปี 51 ลดแรง เก็งกำไร

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
โดยไม่ได้มาจากความต้องการใช้เหล็กในภาคอุตสาหกรรมที่แท้จริง และขึ้นไปต่อไม่ได้เมื่อฟองสบู่แตก การที่ราคาเหล็กปรับสูงขึ้นไปในปีนี้จึงไม่ได้สะท้อนความต้องการที่แท้จริง

ทั้งนี้ ราคาเหล็กในตลาดโลกเคยขึ้นไปสูงสุดที่ 1,300-1,400 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน แต่ขณะนี้ลดลงมาเหลือ 500 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน ส่วนราคาน้ำมันเคยขึ้นไปสูงสุดที่ 147 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ตอนนี้ลดลงเหลือ 50 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล จึงมีผลให้ราคาสินแร่ปรับลดลงตามไปด้วย ขณะที่ต้นทุนเหมืองอยู่ที่ 50-60 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน ดังนั้นหากราคาเหล็กลดต่ำกว่า 400-500 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน เหมืองอาจจะหยุดการผลิต และส่งผลให้สินค้าเหล็กขาดตลาดได้

จุดต่ำสุดของราคาเหล็กจะอยู่ที่ระดับใดคงไม่สามารถบอกได้ แต่มีคาดกันว่าราคาในเดือนธันวาคม 2551 นี้ น่าจะต่ำสุดแล้ว จากนั้นก็จะกระเตื้องขึ้น และทุกคนรู้ว่าหากไม่ทำอะไรเลยคงเจ๊งแน่ๆ โดยเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลงทำให้ความต้องการใช้เหล็กลดลงตามไป ส่วนปีหน้าจะกระทบมากน้อยแค่ไหน ขึ้นอยู่กับการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของแต่ละประเทศ นายวิกรม กล่าว

// //

พร้อมทั้งขยายความว่า แนวโน้มราคาเหล็กในตลาดโลกปี 2552 จะเป็นอย่างไร ขึ้นอยู่กับการแก้ปัญหาเศรษฐกิจของสหรัฐ โดยนายบารัก โอบามา ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐ และกลุ่มประเทศจี 21 ซึ่งทุกฝ่ายหวังว่านายโอบามาจะอัดฉีดเงินงบประมาณเข้าไปช่วยเหลืออุตสาหกรรมยานยนต์ของสหรัฐ หลังจากได้ช่วยเหลือภาคการเงินแล้ว ส่วนในฝั่งภูมิภาคเอเชียยังรับมือวิกฤติเศรษฐกิจได้ โดยเฉพาะถ้าประเทศจีนยังลงทุนเพื่อพัฒนาฝั่งตะวันตกของประเทศ และถ้าจีนจับมือกับอินเดียจะทำให้การแก้ปัญหาเศรษฐกิจในเอเชียดีขึ้น ซึ่งถ้าจัดการให้เศรษฐกิจโลกฟื้นตัวได้ก็จะทำให้สินค้าโภคภัณฑ์มีการปรับราคาขึ้นได้

อย่างไรก็ตาม ราคาเหล็กในไตรมาส 1 เชื่อว่าจะมีความผันผวนอยู่บ้าง เพราะผู้ผลิต ผู้ค้าและผู้ใช้เหล็กต้องการรอดูสถานการณ์ ส่วนไตรมาส 2 น่าจะกระเตื้องขึ้น แต่คงไม่หวือหวาเหมือนเมื่อก่อน เพราะทุกคนได้เรียนรู้ผลจากการเก็งกำไรแล้ว จะทำให้ผู้ค้าเหล็กทำธุรกิจด้วยความระมัดระวัง และเปลี่ยนรูปแบบการค้าเหล็กไป ส่วนการเก็งกำไรจะยากขึ้น

นายวิกรม กล่าวอีกว่า ความต้องการใช้เหล็กในประเทศไทยปกติจะอยู่ที่ 12 ล้านตันต่อปี และในภาวะปกติปริมาณการสต็อกเหล็กจะมี 1 ล้านตัน ใช้ได้ประมาณ 1-2 เดือน แต่ในช่วงที่ราคาเหล็กขึ้นไปสูงนั้นมีมากกว่า 1 ล้านตัน ส่วนจะมีการขาดทุนมากขึ้นแค่ไหนขึ้นอยู่กับว่าบริษัทนั้นจะมีเงินเย็นมากน้อยแค่ไหน แต่ในภาพรวมคนตัวเล็กจะเจ็บน้อยกว่า ส่วนคนที่มีเงินก็จะขาดทุนมากหน่อย โดยภาคอุตสาหกรรมการก่อสร้างในไทยนั้นมีการใช้เหล็กเป็นสัดส่วน 60% ที่เหลืออีก 40% อยู่ในภาคอุตสาหกรรมการผลิต เช่น ยานยนต์ ไฟฟ้า อาหาร และแพ็กเกจจิ้ง

ทั้งนี้ อุตสาหกรรมเหล็กเป็นอุตสาหกรรมโบราณที่การซื้อขายไม่มีความโปร่งใส โดยจะมีผู้ค้าเหล็กซื้อเหล็กเก็บไว้เพื่อเก็งกำไร แต่ปัจจุบันการค้าเหล็กเริ่มเปลี่ยนแปลงไป มีการเจรจาซื้อขายเหล็กเป็นรายไตรมาส เช่น ผู้ประกอบการยานยนต์ที่ไม่ต้องการเก็บสต็อกไว้ นอกจากนี้ มองว่าธุรกิจจะอยู่รอดต้องดูเรื่องระบบการบริหารจัดการ และการสร้างมูลค่าเพิ่ม เช่น ในอุตสาหกรรมเหล็กก่อสร้าง ที่ผ่านมายังใช้เหล็กธรรมดา ทำให้เชื่อว่ายังมีช่องว่างอีกมากที่จะพัฒนาเหล็กให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นได้ และหากทำสำเร็จก็จะสามารถพัฒนาให้มีเหล็กที่มีคุณภาพใหม่ๆ ได้

ทางสถาบันพยายามจะผลักดันในเรื่องนี้อยู่ โดยที่ผ่านมามีการพัฒนาเหล็กให้มีความแข็งแรงมากขึ้น 4-5 เท่า แต่เหล็กที่แข็งแรงขึ้นไม่ถูกนำมาใช้ในอุตสาหกรรมก่อสร้าง ทั้งที่อุตสาหกรรมยานยนต์นำเหล็กดังกล่าวไปผลิตชิ้นส่วนยานยนต์มากมาย นายวิกรม กล่าว

ขณะนี้สถาบันเหล็ก ได้ตั้งศูนย์บริการงานก่อสร้างขึ้นแล้ว โดยจะจัดหาโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับพัฒนาการออกแบบโครงสร้างอาคารจากเหล็ก ซึ่งเมื่อได้มาแล้วก็จะทำการฝึกอบรมให้แก่ผู้ประกอบการ โดยจะร่วมมือกับบริษัทก่อสร้าง บริษัทเหล็ก และอาจารย์มหาวิทยาลัยในการฝึกอบรม เพราะที่ผ่านมาเราขาดแคลนนักออกแบบโครงสร้างเหล็ก ซึ่งถ้าส่งเสริมให้มีการออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ออกมา ก็จะเป็นการเชื่อมโยงอุตสาหกรรมตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำเหมือนอุตสาหกรรมยานยนต์ได้ นอกจากนี้ ยังจะมีการพัฒนาระบบออนไลน์ เป็นการส่งคำสั่งซื้อขายผ่านทางออนไลน์ หากทำเช่นนี้แล้วจะทำให้รู้ความต้องการใช้ของผู้ใช้ปลายทาง และสามารถสะท้อนสต็อกในระบบได้

อาถรรพณ์นรกซานติก้า ที่ดินนี้มีตำนาน...เลือด!!!

จากที่ดินทำเลทองย่านเอกมัย เพียงชั่วข้ามคืนของวันแรกที่ย่างเข้าสู่ศักราชใหม่ปี 2552 กลับกลายเป็นสุสานของเหยื่อเพลิงนรก นำมาสู่การผูกโยงถึงความเชื่อของชาวบ้านที่อาศัยอยู่ใกล้กับ สุสานซานติก้าผับ ด้วยความหวาดผวา และบอกเล่าถึงเรื่องราวอาถรรพณ์ที่เกิดขึ้น รวมถึงลางร้ายบอกเหตุที่อาจจะเป็นสาเหตุที่นำมาสู่โศกนาฏกรรมครั้งนี้

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook