เรื่องเงินๆ ทองๆ-วินัยทางการเงินนั้นสำคัญไฉน

เรื่องเงินๆ ทองๆ-วินัยทางการเงินนั้นสำคัญไฉน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น สิ่งที่สำคัญที่สุดในการออมเงินได้แก่ วินัยในการเก็บเงินอย่างสม่ำเสมอและใช้จ่ายเท่าที่จำเป็น

ขอยกตัวอย่างง่ายๆ สมมติคนคนหนึ่งออมเงินเดือนละ 1,000 บาท เป็นเวลา 20 ปี ด้วยอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยปีละ 4% เมื่อเวลาผ่านไป คนคนนั้นจะมีเงินประมาณ 360,000 กว่าบาท ในขณะถ้าออมเท่าๆ กันทุกเดือนและเงื่อนไขอย่างอื่นเป็นเช่นเดียวกัน แต่ออมแค่ 10 ปี คนคนเดียวกันจะมีเงินแค่ประมาณ 140,000 บาทเท่านั้น ซึ่งจะเห็นได้ว่าเวลาออมต่างกันครึ่งหนึ่ง แต่จำนวนเงินที่ได้จะต่างกันมากกว่าสองเท่า สาเหตุที่สำคัญได้แก่ เนื่องจากการออมอย่างสม่ำเสมอเป็นประจำ ที่ถึงแม้จะมีจำนวนน้อยแต่กลไกดอกเบี้ยทบต้นจะทำให้เงินทำงาน ยิ่งเงินต้นมากขึ้นและมีเวลาทำงานมากขึ้น เงินที่ได้รับก็จะยิ่งมากขึ้น

// //

ประเด็นหลักก็คือ การบังคับตัวเองให้ออมเงินทุกๆ เดือนนั้น เป็นสิ่งที่ทำได้ยากและต้องอาศัยพลังใจเป็นอย่างมาก ยิ่งสภาวะเศรษฐกิจเป็นอย่างนี้แล้ว ค่าใช้จ่ายก็ยิ่งมากขึ้นเป็นเงาตามตัว แต่จากตัวอย่างที่แสดงให้เห็นข้างบนนั้น จะเห็นได้ว่าแม้จะออมเดือนละน้อยๆ แต่ถ้าออมได้เป็นประจำเป็นระยะเวลานาน มูลค่าของเงินออมก็จะเพิ่มมากขึ้นอยู่ดี ทั้งนี้เราจำเป็นต้องตระหนักไว้ตลอดเวลาว่าไม่ว่าสภาพเศรษฐกิจหรือการใช้จ่ายในปัจจุบันจะเป็นอย่างไร

การเก็บออมสำหรับอนาคตนั้นเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมาก ถึงแม้อาจจะทำได้ยากหรือทำได้ทีละน้อย แต่หลักสำคัญคือต้องออม ถึงแม้จะปริมาณไม่มาก แต่พอผ่านไปนานๆ มูลค่าของเงินก็จะเพิ่มมากขึ้น เพื่อประโยชน์ใช้สอยสำหรับวันข้างหน้า

นอกจากนั้น อีกสิ่งหนึ่งที่จะขอฝากไว้ในเรื่องของวินัยการออม ได้แก่ หลักของการ ออมก่อนใช้ ที่ไม่ว่าจะมีหนี้สินหรือภาระอยู่อย่างใดก็ตาม ให้หักเงินส่วนหนึ่งมาเป็นเงินออมไว้ก่อนเลย ซึ่งก็จะเป็นไปตามที่แสดงไว้ในตัวอย่างข้างต้นว่า ปริมาณที่ออมในแต่ละเดือนไม่สำคัญเท่ากับการออมอย่างสม่ำเสมอเป็นระยะเวลานานครับ หลักการนี้จะคล้ายๆ กับนักกีฬาอาชีพที่ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม พวกเขาต้องฝึกซ้อมอย่างสม่ำเสมอ ไม่ให้ทักษะและสมรรถภาพลดน้อยถอยลงไป ซึ่งก็หมายถึงเรื่องวินัยนั่นเอง

สำหรับวาระดิถีขึ้นปีใหม่ 2552 นี้ ขออารธนาคุณพระศรีรัตนตรัยและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายในสากลโลก จงดลบันดาลให้ทุกท่านมีความสุขสมหวัง และมีกำลังกายกำลังใจในการฝ่าฟันชีวิต และที่สำคัญที่สุดขอให้มีวินัยเพื่อสามารถเก็บออมเงินสำหรับอนาคตที่สดใสได้นะครับ

ดร.กิรณ ลิมปพยอม

ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารยุทธศาสตร์องค์กร กบข.

ตะลุยข่าว - 388 ศพสึนามิ...ยังไม่ได้กลับบ้าน

แม้พิบัติภัยสึนามิจะผ่านพ้นไปแล้ว 4 ปี ทว่าภาพความเสียหาย การล้มตาย และสูญหายไปของคนอันเป็นที่รัก ยังคงติดตรึงอยู่ในใจเหมือนภาพฝันร้ายในคืนที่แสนยุ่งเหยิง หลายครอบครัวยังทำใจไม่ได้กับมหันตภัยที่เกิดขึ้นกับตนเอง ครอบครัว และธุรกิจ เสียงหวีดร้องโหยหวนและร่ำไห้เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 ยังคงก้องอยู่ในมโนสำนึก

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook