เปิดโลกยนตกรรม-รู้เทคนิคขับรถ ปีใหม่ไปไหนๆ ก็ปลอดภัย

เปิดโลกยนตกรรม-รู้เทคนิคขับรถ ปีใหม่ไปไหนๆ ก็ปลอดภัย

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ทุกๆ เทศกาลถนนหนทางเต็มไปด้วยผู้คนและรถยนต์ การเดินทางกันจำนวนมาก อุบัติเหตุ ก็มากขึ้นไปด้วย ในทุกๆ ปี มีคนเสียชีวิตมาก

// //

แต่ไม่รู้ว่าเพิ่มหรือลดอย่างไร เพราะไม่มีใครทราบว่า มีรถกี่คันที่ออกไปวิ่ง บนถนน สถิติจริงๆ อาจจะต้องเทียบสัดส่วนคนเจ็บกับคนเสียชีวิต ว่าสัดส่วนเป็นอย่างไรในแต่ละปี

สำหรับอุบัติเหตุในช่วงปีใหม่ มักจะเกิดจากการชนท้ายกัน เพราะเบรกแล้ว รถไม่ยอมหยุด แถม ถูกคันหลังชน ต่อกันไปอีกด้วย สาเหตุที่แท้จริงนั้น คือ การเว้นระยะจากคันหน้าไม่พอ หรือ ไม่เหมาะสม

วิธีการแก้ไขคือ ต้องเว้นระยะห่างจากคันหน้า เท่ากับความเร็วของรถที่เราขับ เช่น ความเร็ว 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ก็ให้เว้นระยะประมาณ 100 เมตร ความเร็ว 40 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ก็ให้เว้นระยะประมาณ 40 เมตร

อุบัติเหตุ อีกชนิดหนึ่งคือเราถูกชน ในช่วงที่เรากำลังจะจอดหรือชะลอความเร็ว เพราะ รถคันหลัง ขับไม่เว้นระยะห่าง จากรถเรา

หรือบางที เราไม่ได้วางแผนเตรียมจอดกดเบรกกะทันหันคันที่ตามมาชนตูม

ทางป้องกันคือ เมื่อเราขับรถเว้นระยะห่างจากคันหน้ามาก เท่ากับความเร็ว ตามที่แนะนำ ก่อนหน้านี้ ก็จะส่งผลให้มีเวลา และ ระยะทาง เพียงพอสำหรับการจอด

กรณีที่เราจอดและมี รถกำลังวิ่งมาด้านหลัง ทดลอง แตะเบรก ย้ำๆ เพื่อให้ไฟเบรกทำงาน เป็นการสื่อสารให้รถคันหลังได้รู้ว่าเรากำลังจอดอยู่ และ ต้องพร้อมสำหรับการกระโจนออกทันที ให้นึกเผื่อว่า หากคันหลังเบรกไม่หยุด จะชนรถเรา เรายังมีโอกาสขยับรถไปข้างหน้า ส่วนหนึ่งเราได้ วางแผนสร้างพื้นที่ว่างเอาไว้ข้างหน้าโดย จอดห้างรถ อื่นๆ ประมาณ 8-5 เมตร ซึ่งเพียงพอสำหรับผ่อนหนักเป็นเบาทุกวันนี้เราจอดชิดคันหน้ามากเกินไปเมื่อ ถูกชนท้ายโอกาสที่รถ จะกระเด็นไปชนคันหน้าก็มีมาก

กรณีที่ถูกชนท้ายหรือชนท้าดรอสัญญาณไฟ ซึ่ง สาเหตุที่เราถูกชนท้ายหรือเราชนท้ายคันอื่น ในขณะที่จอดรอสัญญาณไฟ เพราะเกิดจากความรู้สึก รีบ เมื่อเห็นไฟเขียว และ ไม่รู้หลักการปฏิบัติที่ถูกต้อง

หลักการที่ถูก ต้องพยายามรักษาระยะห่าง จากคันหน้า เมื่อจอดติดไฟแดงให้ได้ประมาณ 5-8 เมตร การเว้นระยะมีประโยชน์มากมาย เช่น หากคันหน้าเสียเราก็มีมุมมีพื้นที่ค่อนข้างมากสำหรับการเบี่ยงออกช่องทางด้านข้าง

เมื่อสัญญาณไฟเขียวปรากฏ ต้องไม่คิดว่าเป็นสัญญาณของเรา แต่เป็นของคันหน้า เพื่อหลีกเลี่ยงการชน คันหน้า เมื่อรถคันหน้าเคลื่อนตัว ให้มองกระจกด้านขวาและซ้าย (ใช้เวลาประมาณ 1วินาที ) เพราะป้องกัน ชนกับ สิงห์มอเตอร์ไซค์ ถ้าข้างหน้าว่างก็ให้เร่งเครื่อง เคลื่อนรถออกได้

อีกสาเหตุหนึ่งที่เจอกันมากคือ อุบัติเหตุจากการ ชนท้ายรถบรรทุก ซึ่งเป็นความเสียหายอย่างรุนแรง อาจจะเกิดจาก รถบรรทุกไม่มีไฟท้าย รถบรรทุกเปลี่ยนช่องทางอย่างกะทันหัน จอดกะทันหัน รถเล็กใช้ความเร็วสูง

การป้องกัน นั้น ปัจจัยอื่นๆ จะเป็นอย่างไรก็ตาม เราคงเปลี่ยนพฤติกรรมคนอื่น หรือปัจจัยภายนอก ได้ยาก ดังนั้นก็คงต้องเริ่มเปลี่ยนที่ตัวของเรา เอาตัวเราเป็นที่ตั้ง เพราะ เป็นชีวิตของเรา

โดยทั่วไป ธรรมชาติของมนุษย์ เวลาเดินหรือวิ่งจะมองไปข้างหน้า ประมาณไม่เกิน 20 เมตร ลองนึกภาพดูนะครับเราขับรถความเร็ว

80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง สายตาของเรามองไปข้างหน้ารถประมาณ 10-20 เมตร หากมีวัสดุกีดขวางหรือรถจอดเสีย เรามีโอกาสหลบพ้นได้น้อยมาก เพราะความเร็วกับระยะเบรกไม่สัมพันธ์กันนั่นเอง

ทางป้อนกันคือ ควรมองไกล ด้วยการคำนวณ ความเร็วขณะขับคูณด้วย 5 เช่น ความเร็ว 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ก็จะเท่ากับ 500 เมตร (กรณี ทางตรงเท่านั้น) นั่นหมายถึงว่าสายตาของเราขณะขับจะต้องมองไปให้ถึงระยะ 500 เมตรจากรถของเรา

 

ความจริงนั้น เราพบว่า ระยกของรถ จะไม่เกินความเร็วในขณะขับ เช่น ที่ความเร็ว 100 กิโลเมตร ระยะเบรกของรถไม่เกิน 100 เมตร นั่นหมายความว่าหากเรามอง ที่ 500 เมตร เราจะมีระยะเหลืออีกประมาณ 400 เมตรหรือ 300 เมตร ซึ่งเพียงพอ สำหรับ การวางแผน กำหนดและควบคุมตำแหน่งให้รถของเรา เพื่อ หยุด หลบหลีก สิ่งที่สำคัญที่สุดเราจะต้องประมาณให้ได้ว่า 100 เมตร หรือ 500 เมตรในขณะขับรถใกล้ไกลขนาดไหน

การเดินทางนอกจากจะรู้หลักการเบื้องต้น เพื่อให้เราปลอดภัยแล้ว กฎ กติกา มารยาท และ ภาษาท่าทางที่เรา ใช้ สื่อสารระหว่างรถคันอื่นๆ ก็เป็นเรื่องสำคัญ บางครั้ง ภาษาท่าทีต่างๆ ยังนำไปสู่การให้อภัยซึ่งกันและกัน ในความผิดที่ไม่ได้เจตนา เพราะชีวิตมีความสำคัญอย่างมาก รอบข้างเรายังมีคนรัก มีคนห่วงใย ขอให้ทุกท่านเดินทาง ด้วยความปลอดภัยในช่วงปีใหม่

 

 

ตะลุยข่าว - 388 ศพสึนามิ...ยังไม่ได้กลับบ้าน

แม้พิบัติภัยสึนามิจะผ่านพ้นไปแล้ว 4 ปี ทว่าภาพความเสียหาย การล้มตาย และสูญหายไปของคนอันเป็นที่รัก ยังคงติดตรึงอยู่ในใจเหมือนภาพฝันร้ายในคืนที่แสนยุ่งเหยิง หลายครอบครัวยังทำใจไม่ได้กับมหันตภัยที่เกิดขึ้นกับตนเอง ครอบครัว และธุรกิจ เสียงหวีดร้องโหยหวนและร่ำไห้เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 ยังคงก้องอยู่ในมโนสำนึก

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook