กูรูนาฬิกาแนะเส้นทางสะสมเรือนเวลา

กูรูนาฬิกาแนะเส้นทางสะสมเรือนเวลา

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ในมุมมองของคนรักนาฬิกาไม่ใช่เพียงเครื่องบอกเวลาเท่านั้น แต่อาจหมายถึงของรัก หรือของสะสมที่มีคุณค่าทางจิตใจอย่างหนึ่ง

// //

ธนาคารซิตี้แบงก์ จึงได้ร่วมกับ Lexus และ PMT The Hour Glass จัดเสวนาในหัวข้อ Treasures from a private collection: Contemporary & Luxury Watches Forum ขึ้น โดยเชิญ ดร.ปราโมทย์ เหรียญเจริญสุข บรรณาธิการนิตยสาร QP และเจ้าของตำแหน่งแชมป์แฟนพันธุ์แท้นาฬิกาเมืองไทย ปี 2547 จากรายการแฟนพันธุ์แท้ พร้อม 2 คอลเลกเตอร์ระดับแถวหน้าของเมืองไทย สุเมธ โลพินิจ นักธุรกิจหนุ่มไฟแรง และ สิรวุฒิ วิรัชศิลป์ ผู้บริหารหนุ่มรุ่นใหม่จาก รพ.วิรัชศิลป์ มาร่วมเสวนา

ดร.ปราโมทย์ กล่าวถึงเหตุผลที่หลงใหลในเครื่องบอกเวลาว่า นาฬิกา เป็นแค่ตัวเรือนและเข็มเท่านั้น แต่ความเป็นมาและกลไกต่างหากที่เป็นตัวสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งนาฬิกาที่เป็นระบบกลไกมีเฟืองเล็กๆ หลายชิ้นเป็นตัวประกอบ และสามารถขับเคลื่อนเป็นเครื่องบอกเวลาได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าอัศจรรย์มาก นาฬิกาทั้งหมดมีอยู่ 2 ระบบหลักๆ คือ แบบอิเล็กทรอนิกส์ ที่ผลักดันโดยการใช้พลังงานไฟฟ้าเป็นตัวหลัก ไม่ว่าจะเป็นแบตเตอรี่หรืออะไรก็ตาม ซึ่งเราเรียกรวมๆ ว่าเป็นกลไกควอทซ์ ส่วนอีกระบบหนึ่ง คือ นาฬิการะบบกลไก แบ่งเป็น 2 ระบบคือ ไขลาน และออโตเมติกหรืออัตโนมัติ

ด้านหนุ่มนักบริหารรุ่นใหม่ สิรวุฒิ เล่าถึงจุดเริ่มต้นของการสะสมนาฬิกาว่า ดูจากความชอบเป็นอันดับแรกก่อน แล้วจึงสะสมเรื่อยมา จนได้พบกับกลุ่มของคนรักนาฬิกาด้วยกันผ่านทางเว็บไซต์หรือนิตยสาร ทำให้มีสังคมและได้พูดคุยกับคนที่ชอบอะไรเหมือนๆ กัน

การเลือกซื้อนาฬิกาของผมมาจากความรักความชอบโดยส่วนตัว ซึ่งจะพยายามเลือกให้ตรงกับไลฟ์สไตล์ของตัวเองเป็นหลักก่อน เพราะนาฬิกาจะบ่งบอกถึงคาแรกเตอร์ความเป็นตัวเรา ผมว่าเป็นการเสริมสร้างบุคลิกของผู้ชายหลายๆ คน บอกให้รู้ว่าเราเป็นผู้ชายแบบใด สไตล์ไหน ผู้ชายไม่มีเฟอร์นิเจอร์เยอะเท่าผู้หญิง นาฬิกาจึงน่าจะเป็นตัวบ่งบอกความเป็นตัวเราได้มากที่สุด ไม่ใช่ซื้อตามกระแสจนเกินไป หรือเห็นแล้วชอบก็ซื้อทันที ผมว่าเป็นการซื้อที่ไม่ถูกต้อง เราควรศึกษาว่านาฬิกาเรือนนั้นๆ มีความเป็นมาอย่างไร ดูระบบกลไกก่อน ถ้าชอบจริงๆ ก็เหมาะที่จะลงทุนกับมัน เพราะต่อไปจะเป็นนาฬิกาที่อยู่กับเราได้นานๆ สิรวุฒิ เผยถึงหลักการเลือกนาฬิกาส่วนตัว

ในขณะที่ สุเมธ ฉีกไปอีกมุมว่า เวลาเลือกซื้อนาฬิกาจะดูที่ความสวยก่อน เป็นการตอบสนองความพอใจ ว่าใส่แล้วดูดีหรือไม่ ส่วนกลไกหรือแบรนด์จะเป็นเรื่องรองลงไป เพราะนาฬิกาที่มีคุณภาพมาตรฐาน มักจะมีระบบกลไกที่ทันสมัยไม่แตกต่างกันมากนัก จึงเน้นที่ความสวยงาม ใส่แล้วมีความสุขก่อนเป็นอันดับแรก

นาฬิกาที่เราซื้อไปบางอย่างต้องถามตัวเองก่อนว่า เราต้องการอะไรถ้าเราต้องการนาฬิกาบอกเวลา ก็ไม่จำเป็นต้องไปซื้อราคาแพงๆ แต่สำหรับคนที่จ่ายเงินซื้อนาฬิกาแพง เพราะเขาต้องการศิลปะหรือความแตกต่างที่มีอยู่นั้นมันสวยพอมั้ย ตอบสนองความพึงพอใจเราหรือเปล่า ถ้าทำให้เราภูมิใจที่จะส่งต่อไปให้อีกรุ่นหนึ่ง ผมว่านั่นคือส่วนต่างที่ทุกคนเห็นว่ามันคุ้มที่จะจ่ายในราคาที่สูงเพื่อให้ได้ของที่ดีกว่า และตอบสนองความสุขเราได้มากกว่า หรืออย่างกรณีที่ต้องเลือกระหว่างนาฬิกาที่มียี่ห้อ กับนาฬิกาที่เราไม่รู้จักเลย แต่ชอบหรือถูกใจในดีไซน์

ถ้าผมเห็นนาฬิกาที่ชอบถึงแม้จะไม่รู้จัก ยังไม่ต้องดูราคานะ ทางเดียวที่จะรู้จักได้ คือ ต้องศึกษาความเป็นมาก่อน คนทำมีแรงบันดาลใจหรือแนวความคิดในการสร้างตัวเรือน หน้าปัด กลไกอย่างไร โดยดูจากเว็บไซต์หรือนิตยสารนาฬิกา ให้เวลานิดนึง ถ้าเราเรียนรู้ถึงเหตุผลเหล่านี้ จะทำให้เราภูมิใจนาฬิกายี่ห้อนั้นมากขึ้น สุเมธกล่าว

แล้วคุณล่ะ ก่อนจะเลือกซื้อนาฬิกาสักเรือน คุณนึกถึงอะไรเป็นหลักบ้าง...

 

 

คำมั่นอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะต้องคุ้มครองสื่อให้ปลอดจากอำนาจรัฐ-อำนาจทุน

สำหรับข่าวโทรทัศน์วันนี้ที่มีการคุยข่าวไปเรื่อยๆ เป็นอันตราย แม้ข้อดีคนจะได้มีความเพลิดเพลิน แต่อันตรายของการคุยข่าวคือการชี้นำ เพราะไม่เหมือนกับการอ่านข่าวหรือประกาศข่าวอย่างที่เราเห็นในอดีต

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook