ปัญหา "ทางเท้า" แก้ง่ายแต่ผู้ว่าฯ กทม. แก้ไม่ได้

ปัญหา "ทางเท้า" แก้ง่ายแต่ผู้ว่าฯ กทม. แก้ไม่ได้

ปัญหา "ทางเท้า" แก้ง่ายแต่ผู้ว่าฯ กทม. แก้ไม่ได้
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

กองบังคับการตำรวจจราจรเก็บสถิติอุบัติเหตุเกี่ยวกับทางเ้ท้าและจักรยานของกรุงเทพฯ ปี 2554 พบว่า เกิดอุบัติเหตุบนทางเดินเท้า 1,227 ราย เกิดอุบัติเหตุกับจักรยาน 189 ราย !!!

ทางคนเดินแต่สามารถเกิดอุบัติเหตุได้ ช่างเป็นเรื่องตลกแต่ที่ตลกกว่าก็คือ อุบัติเหตุส่วนใหญ่ของ "คนเดินเท้า" ก็คือ ตกหลุมทางเท้า เดินชนเสาและโดนรถเฉี่ยว

ยิ่งมาเปิดงานวิจัยเรื่อง "ภูมิทัศน์ถนนกับวิถีชีวิตคนกรุงเทพมหานคร" ของปรีชญะ โรจน์ฤดากร มหาวิทยาลัยกรุงเทพระบุว่า 

จากขนาดตัวเลขของร่างกายมนุษย์ในการใช้ทางเท้าที่ว่า 1 คนใช้ทางเท้า 0.60 เมตร ฉะนั้นทางเท้าควรกว้างอย่างน้อยที่สุด 1.20 เมตรในกรณีเดินสวนกัน แต่ขนาดทางเท้ายังขึ้นกับปริมาณผู้สัญจรในเส้นทางนั้นด้วย ดังนั้นมาตรฐานสากลจึงระบุว่า ทางเดินเท้าในบริเวณย่านการค้า ย่านธุรกิจ และย่านอุตสาหกรรมควรกว้าง 2.50 - 3.00 เมตรเป็นอย่างน้อย และย่านพักอาศัยทั่วไปใช้ขนาด 1.20 - 2.00 เมตรในถนนสายย่อย

แต่ในความเป็นจริงเวลาจะเดินบนทางเ้ท้า "สวนกัน" จะต้องคอยสบสายตาอีกฝ่ายว่า "ใครจะหยุด ใครจะหลบ ใครจะเดินต่อ"  เรียกได้ว่า "ต้องมีทักษะในการหลบหลีกไม่แพ้การขับรถยนต์บนนถนน" เลยทีเดียว

งานวิจัยดังกล่าวยังระบุ "ปัญหาทางเท้าในกรุงเทพฯ" ซึ่งคนกรุงเทพฯส่วนใหญ่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า

ปัญหาที่เกิดขึ้นกับภูมิทัศน์ถนนโดยเฉพาะในกรุงเทพมหานครมีมากมาย ตั้งแต่การรุกล้ำในรูปแบบต่างๆ เช่น หาบเร่แผงลอย ศาลาวินมอเตอร์ไซค์การขี่มอเตอร์ไซค์บนทางเท้า การจอดรถยนต์บนทางเท้า ทางขึ้นลงรถไฟลอยฟ้า หรือสะพานลอยกีดขวางทางสัญจร รวมไปถึงการทำลายหรือก่อให้เกิดความเสียหายกับทรัพย์สินของรัฐ เช่น การทาสีอุปกรณ์ประกอบถนน หรืออุปกรณ์ประกอบถนนเสื่อมอันเกิดจากการชุมนุมทางการเมืองอันเกิดจากการใช้งานผิดประเภท ดังนี้ เมื่อพิจารณาปัญหาดังกล่าวข้างต้นแล้วพบว่า ในปัญหาทั้งหมดนั้นปัญหาหาบเร่แผงลอยส่งผลกระทบต่อภูมิทัศน์ถนนในกรุงเทพมหานครมากที่สุด ปัญหาของหาบเร่แผงลอยนี้มีมาทุกยุคทุกสมัยของผู้ว่าราชการกรงุเทพมหานครตั้งแต่สมัยแรกถึงปัจจุบัน

 

ดังนั้นปัญหาเรื่อง ทางเท้า ถือว่าเป็น "ปัญหาพื้นฐาน" ของ กรุงเทพฯ หรือไม่ คำตอบย่อมชัดเจนอยู่แล้วว่า เป็นปัญหาเพราะทางเท้าย่อมหมายถึงทางที่มีไว้สำหรับเดินเท้า

แต่คำถามที่น่าสนใจคือ ปัญหาพื้นฐานดังกล่าวเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบในทางลบต่อคนกรุงเทพฯ หรือไม่ อาจจะต้องกลับมาหวนคิดอีกครั้งหนึ่ง

ใครได้ประโยชน์จากการที่ "มีหาบเร่แผงลอย" ทั้งแบบชั่วคราวและแบบถาวรบ้างนั้น แน่นอนว่า บรรดาพ่อค้าแม่ขายย่อมรู้สึกดีกว่าที่สามารถตั้งหาบเร่แผงลอยบริเวณทางเท้าได้เพราะสามารถ "ติดต่อ" กับลูกค้าได้โดยตรงเรียกได้ว่า เดินผ่านไปผ่านมา เห็นอะไรถูกใจก็สามารถ "ซื้อขาย" กันได้เลยไม่ต้องเสียเวลาไปเดินตลาดหรือห้างให้เมื่อยตุ้ม แถมราคาถูกกว่าเป็นกอง


อีกกลุ่มหนึ่งที่มี "หน้าที่โดยตรง" ในการบังคับใช้ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครก็คือ เจ้าหน้าที่ของกรุงเทพฯ เช่น เจ้าหน้าที่เทศกิจ เจ้าหน้าที่สำนักงานเขต ซึ่งมีหน้าที่ไม่ให้มีการตั้งหาบเร่แผงลอยตามทางเดินเท้าหรือจุดที่ไม่ใช่จุดผ่อนผัน แต่เท่าที่สังเกตเจ้าหน้าที่เหล่านี้ก็ไปคุยกับพ่อค้าแม่ขายเหมือนราวกับว่า จะสั่งห้ามปรามไม่ให้มีการตั้งหาบเร่แผงลอยแต่วันรุ่งขึ้นก็สามารถมาตั้งแผงได้เป็นปกติ!!!


ส่วนคนกลุ่มนี้ไม่พูดถึงไม่ได้เลยสำหรับคนทีไ่ด้ "ประโยชน์โดยตรงกับการมีหาบเร่แผงลอยบนทางเท้า" ก็คือ กลุ่มคนที่ชอบเดินทางเท้าชมสินค้าตามแผงลอยนั่นเองเพราะถ้าไม่มีคนซื้ออย่างไรเสียก็คงไม่มีใครมาขาย โดยเฉพาะจุดที่มีการตั้งหาบเร่้แผงลอยซึ่งขวางทางเดินมากที่สุดก็คงไม่พ้นย่านธุรกิจชื่อดังที่คุ้นเคยกันอยู่แล้วสำหรับคนในเมืองหลวง

 

 

ดังนั้นปัญหา "หาบเร่แผงลอย" เป็นปัญหาสำคัญของเมืองหลวงของประเทศไทยอย่างแน่นอน

เป็นปัญหาสำคัญที่ผู้ว่าฯ กทม. แทบทุกยุคทุกสมัยจะต้องประกาศเป็นนโยบายเร่งด่วนที่ต้องแก้ไข

และเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้สมัครชิงผู้ว่าฯ พ่อเมืองเสาชิงช้าจะต้องใช้เป็นนโยบายหาเสียงเลือกตั้ง เป็นนโยบายสำคัญที่จะต้องแก้ไขให้ได้ถ้าได้รับตำแหน่งนั่งแท่นตำแหน่งผู้ว่าฯ เมืองหลวงประเทศไทย

ปัญหาบเร่แผงลอยแก้ไขได้ง่่ายมากซึ่งก็แก้ไขกันเป็นปกติคือ จัดจุดนัดพบระหว่าง "พ่อค้าแม่ขายกับลูกค้า" ซึ่งจะว่าไป จุดนัดพบที่ว่าดูจะไม่เอื้อต่อการ "ช้อปปิ้ง" เท่าไร

ด้วยเหตุนี้หาบเร่แผงลอยจึงเป็นปัญหาสำคัญของกรุงเทพฯอย่างแน่นอน แต่เป็นปัญหาที่ "ผู้ว่าฯ กทม.จำเป็นต้องแก้ไขหรือไม่" อันนี้เป็นสิ่งที่ฉงนอยู่เหมือนกัน...

 

                                                                                     พันธวิศย์ เทพจันทร์

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook