ประชานิยมกับผู้ว่าฯ กทม.

ประชานิยมกับผู้ว่าฯ กทม.

ประชานิยมกับผู้ว่าฯ กทม.
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เลือกตั้งผู้ว่า กทม. ดูจะเป็น "เรื่องเดียวกันไปเสียแล้ว" ระหว่างการเลือกตั้งกับนโยบายประชานิยม เรียกได้ว่า มีการหาเสียงเลือกตั้งเมื่อไร มีการ "ลด แลก แจก แถม" เมื่อนั้นคะแนนเสียงของท่านจึงเหมือน "เงิน" ที่ซื้อสินค้าจากนักการเมือง โดยมี "ประชานิยม" เป็นโปรโมชั่น

แนวคิดประชานิยมนั้นแน่นอนว่า ต้นตำรับที่นำมาปรับใช้กับสังคมไทยคือ "อดีตนายกฯ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร"  กลุ่มคนที่ไม่ชอบ "นักการเมืองจากพรรคเพื่อไทย" ก็ใช้วิธีการลดความน่าเชื่อถือของนักการเมืองด้วยการชี้ให้เห็นผลเสียของ "ประชานิยม โดยมี "พรรคประชาธิปัตย์" ศัตรูคู่อาฆาต(แค่หน้าสื่อ???) เป็นแกนหลักที่โจมตีโครงการประชานิยมอย่างหนักตลอด 6-7 ปีที่ผ่านมา

แต่เมื่อมาดูป้ายหาเสียงของ "คุณชายหมู" ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ บริพัตร ผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. เบอร์ 16 พรรคประชาธิปัตย์แล้วก็จะพบว่ามีนโยบาย "เพิ่ม สร้าง ต่อเติม" เช่นกัน

แต่ก็ยังถือว่าเป็นประชานิยมที่เน้นเรื่องระบบสาธาราณูปโภคและระบบมวลชนขนส่ง ซึ่งจะว่าไปก็เป็นแนวทางหลักในการหาเสียงของผู้สมัครชิงผู้ว่าพ่อเมืองเสาชิงช้าในครั้งนี้ด้วยเช่นกัน

สังเกตได้จาก "ป้ายหาเสียง" ของผู้สมัครก็พอจะทราบได้ว่าแต่ละคนมีประชานิยมใดบ้าง จะแตกต่างกันก็แค่เป็นประชานิยมแบบ "รู้แน่ว่าจะทำ (ได้) อะไร" กับ "รู้แน่ ๆ ว่า น่าจะทำไม่ได้"

การหาเสียงแบบประชานิยมในสนามเลือกตั้งผู้ว่า กทม. นั้น เมื่อพิจารณาให้ดีจะเห็นว่าไม่มีผู้สมัครคนไหนมีนโยบายประชานิยมในเชิง "ปฎิรูปโครงสร้างเท่าที่ควร" 

จึงไม่แน่ใจว่าชาวกทม.ไม่ต้องการปฎิรูปโครงสร้างของเมืองหลวงหรือเปล่า จึงไม่มีผู้สมัครคนไหนชูนโยบายในการปฎิรูปโครงสร้าง ทำให้กลับมาคิดเพ้อ ๆ ไปเองว่า หรือตัวผู้สมัคร "ไม่กล้าที่จะเสนอนโยบายในเชิงปฎิรูปโครงสร้างเมืองหลวงกันแน่"


พันธวิศย์ เทพจันทร์

 

 

 

 

 

 

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook