เต่าดาวพม่าที่สวนสัตว์โคราช ขยายพันธุ์สำเร็จครั้งแรกในโลก

เต่าดาวพม่าที่สวนสัตว์โคราช ขยายพันธุ์สำเร็จครั้งแรกในโลก

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
โสภณ ดำนุ้ย ผอ.องค์การสวนสัตว์ เล่าถึงความสำเร็จที่สวนสัตว์แห่งนี้สามารถเพาะขยายพันธุ์ เต่าดาวพม่า ซึ่งเป็นสัตว์หายาก และใกล้สูญพันธุ์ได้สำเร็จ ทั้งนี้ สวนสัตว์นครราชสีมาได้นำเต่าดาวพม่ามาจากสวนสัตว์ดุสิต จำนวน 10 ตัว เมื่อปี 2548 เป็นเพศผู้ 5 ตัว และเพศเมีย 5 ตัว ต่อมาเต่าดาวได้ผสมพันธุ์กัน และวางไข่ไว้ในดินเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2550 จำนวน 8 ฟอง

และเนื่องจากเต่าดาวเป็นสัตว์ที่ขยายพันธุ์ยากมาก และอุณหภูมิใต้ดินไม่สม่ำเสมอ จึงทำให้เต่าดาวมักตายก่อนที่จะฟักเป็นตัว ซึ่งเพื่อให้การฟักตัวของไข่เป็นไปได้อย่างปลอดภัย เจ้าหน้าที่สวนสัตว์นครราชสีมาจึงได้นำไข่เต่าดาวทั้งหมดมาฟักในตู้ฟักเพื่อปรับอุณหภูมิให้คงที่ ประมาณ 33-35 องศาเซลเซียส โดยใช้เวลาในการฟัก 138 วัน และเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน ที่ผ่านมา ไข่เต่าดาวทั้งหมด 8 ฟอง ก็ฟักออกมาเป็นตัวลูกเต่าที่สมบูรณ์แข็งแรงทั้ง 8 ตัว ซึ่งถือว่าเป็นการประสบความสเร็จอย่างมากขององค์การสวนสัตว์ และเป็นครั้งแรกในโลกที่สามารถเพาะขยายพันธุ์เต่าดาวพม่าได้

// //

ทั้งนี้ สวนสัตว์ในความดูแลขององค์การสวนสัตว์ทั้งหมด 5 แห่งทั่วประเทศไทย มีเต่าดาวพม่าอยู่ในความดูแลทั้งหมดเพียงแค่ 26 ตัวเท่านั้น โดยอยู่ที่สวนสัตว์นครราชสีมา 18 ตัว ซึ่งถือว่าเต่าดาวพม่าเป็นสัตว์ที่หายากและใกล้จะสูญพันธุ์

เต่าดาวพม่า มีชื่อสามัญ คือ Burmese star tortoise ชื่อวิทยาศาสตร์ Geochelone platynota เต่าดาวพม่าเป็นเต่าบกที่มีขนาดลำตัวยาวประมาณ 11 นิ้ว มีลวดลายบริเวณกระดองหลังเป็นรูปดาว ความเข้มของสีกระดองจะผันแปรไปตามสภาพแวดล้อม มีช่วงวัยเจริญพันธุ์ 10-15 ปี ฤดูผสมพันธุ์อยู่ในช่วงฤดูฝน มักวางไข่ใต้พื้นทราย หรือทรายที่ปนดิน ระยะเวลาฟักไข่ 130-148 วัน มีถิ่นอาศัยในป่าผลัดใบ ป่าดิบแล้ง ทุ่งหญ้าทางตอนเหนือของประเทศพม่า

ปัจจุบันเต่าดาวพม่าได้ถูกขึ้นบัญชีนุสัญญาไซเตส (CITES) ห้ามล่า ห้ามซื้อขายในตลาดค้าสัตว์ ทำให้เต่าดาวพม่าเป็นสัตว์เฉพาะถิ่นและเป็นสัตว์หายาก อาหารที่เต่าดาวพม่าชอบ คือ ผักชนิดต่างๆ อาทิ คะน้า กะหล่ำปลี ผักโขม ตำลึง หน่อไม้ และมะเขือเทศ

ประสิทธิ์ ตั้งประเสริฐ

10 อันดับประเทศเพลิงไหม้

เปิด 10 อันดับประเทศประสบอัคคีภัย มะกันคลองแชมป์ไฟคลอกตายปีละ 4,000 ราย ตามมาด้วยญี่ปุ่น ส่วนไทยปี 2550 เกิดเกือบ 2,000 ครั้ง ตาย 45 ราย ทั่วเอเชียต่างประสบเหตุเพลิงไหม้ระทึกขวัญครั้งแล้วครั้งเล่า

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook