วธ.เผยปัญหาร้องเรียนเด็กและสังคมรอบปี51พบเด็กติดเกมครองแชมป์ รองลงมาส่วยร้านเกม

วธ.เผยปัญหาร้องเรียนเด็กและสังคมรอบปี51พบเด็กติดเกมครองแชมป์ รองลงมาส่วยร้านเกม

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
เมื่อวันที่ 6 ม.ค. 2552 น.ส.ลัดดา ตั้งสุภาชัย ผอ.ศูนย์เฝ้าระวังทางวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม(วธ.) กล่าวว่า เนื่องในวันที่ 10 ม.ค.ที่จะถึงนี้ เป็นวันเด็กแห่งชาติ ดังนั้น ศูนย์เฝ้าระวังฯจึงได้สรุปสถานการณ์เด็กในรอบปี 2551 เพื่อนำเสนอสังคมให้ได้รับทราบถึงสถานการณ์ต่างๆของเด็กในการเตรียมพร้อมหาแนวทางแก้ไขในปี 2552 ซึ่งพบว่า ปัญหาที่เครือข่ายภาคประชาชน ได้ร้องเรียนเข้ามาเป็นจำนวนมากที่สุด คือ เด็กติดเกม และพฤติกรรมของเด็กติดเกม เกี่ยวกับการเล่นเกมเกินเวลา ร้านเกมให้เด็กเล่นเกมก่อนเวลากำหนด คือ ก่อน 14.00 น.และหลัง 22.00 น. เด็กขายบริการในร้านเกม เพื่อแลกกับการเล่นเกม เด็กเลียนแบบความรุนแรงในเกมไปฆ่าคน และเมื่อวัดระดับปัญหาเด็กติดเกมจากข้อมูลการร้องเรียนและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ถือว่า รุนแรงเกิน ร้อยละ 60 แล้ว ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นในปี 2552 ส่วนปัญหารองลงมา คือ ปัญหาส่วยร้านเกม ที่ยังคงมีอยู่

น.ส.ลัดดา กล่าวอีกว่า ศูนย์เฝ้าระวังฯยังได้สำรวจความคิดเห็นของเด็กและเยาวชน เกี่ยวกับพฤติกรรมที่เป็นปัญหาของตนเอง ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาที่ร่วมสัมมนางานด้านวัฒนธรรม จำนวน 300 คน ณ วัดสามง่าม จ.นนทบุรี เมื่อเดือนธันวาคม 2551 ที่ผ่านมา พบว่า ปัญหาที่เด็กและเยาวชนชอบทำและเห็นว่า เป็นพฤติกรรมที่ไม่ดี อันดับ 1.ขโมยเงินพ่อแม่ไปเล่นเกม 2.ตบตีทะเลาะกับเพื่อน แย่งแฟน และ3.ชอบโกหก ซึ่งผลการสำรวจแสดงให้เห็นว่า ปัญหาร้านเกม และปัญหาเด็ก เยาวชน เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องเร่งแก้ไข

นพ.บัณฑิต ศรไพศาล ผอ.สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข(สธ.) ในฐานะผู้วิจัยและรวบรวมข้อมูลเด็กเล่นเกม กล่าวว่า พฤติกรรมของเด็กและเยาวชนในรอบปี2551 สืเนื่องถึงปี 2552 เกี่ยวกับการเล่นเกม ติดเกม มีแนวโน้มหมกมุ่นสูงขึ้นเรื่อยๆ และกำลังขยายตัวเป็นลูกโซ่ โดยเฉพาะการขยายคอมพิวเตอร์เข้าสู่โรงเรียนตั้งแต่ระดับประถมศึกษา พบว่า เมื่อครูไม่อยู่เด็กก็จะเปิดคอมพิวเตอร์เล่นโดยไม่ต้องมีใครสอน ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าห่วง ในขณะเดียวกัน ตนได้สอบถามกับเด็กที่เป็นแชมป์การเล่นเกม เด็กยอมรับว่า ชอบเล่นเกมสไปเดอร์แมน และอยากเป็นสไปเดอร์แมน เพราะได้ปล่อยใยแมงมุม กระโดดข้ามตึก ได้ทำในสิ่งที่โลกแห่งความเป็นจริงไม่มี ซึ่งแสดงให้เห็นว่า จินตนาการของเด็กถูกล้างสมองได้ด้วยเกม ถ้าต้นทุนพื้นฐานจิตใจของเด็กไม่ดี

// //

เกมปัจจุบัน แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ออนไลน์ ซึ่งเนื้อเกมจะต่อเนื่องทำให้เด็กติดเกม ส่วนประเภทออฟไลน์ คือเกมที่เล่นเฉพาะกลุ่ม เนื้อหาจะมีความรุนแรง และโป๊ ทั้ง 2 ประเภทมีข้อดีข้อเสียต่างกัน สำหรับปัญหาเด็กติดเกมนั้น ตราบใดถ้าธุรกิจยังจ้องหาเงินกับเด็ก เกมรุนแรง เกมโป๊ก็ยังจะคงมีอยู่และจะทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆอย่างไรก็ตาม ช่วงนี้ใกล้วันเด็กแห่งชาติ สิ่งที่ผมเป็นห่วงเด็กของเราและผู้ใหญ่ควรหาแนวทางป้องกัน คือ พฤติกรรมของเด็กและเยาวชนที่เกิดจากการเลี้ยงดูในปัจจุบัน ทำให้เด็กไทยขาดความอดทน ใช้จ่ายฟุ่มเฟื่อย โมโหง่าย ซึ่งจะส่งผลต่อสังคมในอนาคตที่จะมีแต่ความรุนแรงเกิดขึ้น ดังนั้น ผู้ใหญ่ควรหันกลับมาดูปัญหาและมาดูวิธีการเลี้ยงดูลูกหลานของเราเสียใหม่นพ.บัณฑิต กล่าว

ดร.อมรวิชช์ นาครทรรพ ผอ.สถาบันรามจิตติ กล่าวว่า ได้สำรวจพฤติกรรมเด็กและเยาวชน ประจำปี 2551 ทั้งด้านร้ายและด้านดี พบ 10 สถานการณ์เด่นที่เกิดขึ้น คือ 1.ปัญหาแม่วัยรุ่น เด็กอายุต่ำกว่า 19 ปี มาทำคลอดสูงขึ้นต่อเนื่อง ปี 51 มีถึง 77,092 คน 2.คุกเด็กอาจเริ่มไม่พอใส่ ปี 51 มีเด็กถูกส่งเข้าสถานพินิจฯ 42,102 คน มากกว่าปี 50 ราว 2,000 คน คดีอันดับต้นๆ คือ ลักทรัพย์ ยาเสพติด และการประทุษร้ายต่อชีวิต และร่างกาย 3.เด็กใช้ชีวิตกับสื่อมากขึ้น เกือบจะครึ่งชีวิตยามตื่นหรือ 6-7 ชม.ต่อวัน ที่หมดไปกับสื่อต่างๆ ทั้งโทรศัพท์มือถือ อินเทอร์เน็ตและโทรทัศน์ 4.เด็กไทยมีแววเครียดสูง มองสังคม การเมือง ติดลบ 5.เด็กไทยไม่ชอบไปโรงเรียนมากขึ้น และมีนิสัยการเรียนรู้ที่น่าเป็นห่วง 6.อปท. ลุยงานเด็กและเยาวชนเป็นรูปธรรมมากขึ้น 7.ท้องถิ่นต่างๆ เปิดพื้นที่สร้างสรรค์สำหรับเยาวชนมากขึ้น 8.การริเริ่มโครงการบ้านหลังเรียน เพื่อแก้ปัญหาที่เด็กในเมืองขาดกิจกรรมดีๆ ทำหลังเลิกเรียน 9.แนวโน้มเสพเหล้าบุหรี่องเยาวชนลดลง แต่ยาเสพติดยังต้องจับตา และ 10.ความสำเร็จของการสกัดเด็กอ้วนได้ผล

ตะลุยข่าว : THE GREEN POLICE กองปราบฯ สู่ศตวรรษที่ 21

ในขณะที่หลายประเทศทั่วโลกสามารถระงับยับยั้งปัญหาอาชญากรรมให้ลดลงและควบคุมให้อยู่ในวงจำกัดได้ ตรงกันข้ามกับประเทศไทย กลับมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น และมีการกล่าวถึงในระดับนานาชาติว่า

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook