นักวิชาการจุฬาฯติงรบ.แก้ปัญหาจ้างงานไม่ตรงเป้า

นักวิชาการจุฬาฯติงรบ.แก้ปัญหาจ้างงานไม่ตรงเป้า

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
นายแล ดิลกวิทยรัตน์ ศาสตราพิชาน คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวระหว่างการเสวนาเรื่อง "วิกฤติเศรษฐกิจโลกต่อสภาวะการจ้างงานในประเทศไทย ถึงมาตรการการอัดฉีดเงิน 115,000 ล้านบาท กระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล เมื่อวันที่ 14 มกราคมว่า เป็นมาตรการที่ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ กระจัดกระจายเกินไป ไม่ได้มีการกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนว่าต้องการช่วยเหลือกลุ่มผู้ใช้แรงงาน โดยเฉพาะแรงงานที่ถูกเลิกจ้าง ซึ่งเป็นกลุ่มสำคัญที่สุด

มาตรการช่วยเหลือแรงงานโดยเฉพาะการให้เงินผู้ที่มีเงินเดือนไม่ถึง 14,000 บาท จำนวน 2,000 บาท เป็นมาตรการที่ไร้ประโยชน์และไม่เข้าใจว่ารเน้นการหาเสียงมากกว่า สำหรับมาตรการที่รัฐบาลที่ควรจะทำคือใส่เงินเพื่อช่วยเหลือแรงงานที่ถูกเลิกจ้างโดยตรง เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนและควรจะมีมาตรการชะลอการเลิกจ้าง หากรัฐบาลจ่ายเงินให้ผู้ถูกเลิกจ้างก็ทำให้เกิดแรงกระตุ้นในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว เพราะผู้ที่ถูกเลิกจ้างจะนำเงินไปจับจ่ายใช้สอยทันทีไม่นำไปเก็บออมหรือซื้อสินค้าฟุ่มเฟือย รัฐบาลควรจัดตั้งกองทุนช่วยเหลือแรงงานที่ถูกเลิกจ้าง โดยมีตัวแทนนายจ้างและลูกจ้างร่วมมือกัน ส่วนวงเงินกองทุนเท่าใด รัฐบาลจะต้องมีการประเมินว่าคนถูกเลิกจ้างจะมีเท่าใด จึงจะสามารถจัดสรรงับกองทุนได้อย่างชัดเจน

นายแล กล่าวว่า ไม่อยากเห็นนายจ้างมองแรงงานเป็นเพียงทรัพยากร ควรมองว่าเป็นมนุษย์ และไม่ต้องการให้นายจ้างฉวยโอกาสอ้างว่าภาวะเศรษฐกิจไม่ดีแล้วปลดคนงาน ทั้ง ๆ ที่ธุรกิจยังเดินหน้าได้ รวมทั้งเห็นว่าหากเกิดภาวะเศรษฐกิจควรที่จะลดต้นทุนส่วนอื่น เช่น ค่าน้ำมัน วัตถุดิบ หรือภาษี ก่อนที่จะปลดคนงาน ที่ควร เป็นสิ่งที่ทำขั้นสุดท้าย

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook