สุขุมพันธุ์กวาด9.3แสนเสียงนั่งเก้าอี้ผู้ว่าฯกทม.

สุขุมพันธุ์กวาด9.3แสนเสียงนั่งเก้าอี้ผู้ว่าฯกทม.

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
(12ม.ค.) เวลา 02.32 น. ผู้สื่อข่าวรายงานผลการนับคะแนนเลือกตั้งผู้ว่าฯกรุงเทพมหานคร (กทม.) อย่างไม่เป็นทางการ ว่า การเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. เมื่อวันที่ 11 มกราคม มีจำนวนผู้ใช้สิทธิทั้งสิ้น 2,120,721 คน จากจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด 4,150,103 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 51.10 ซึ่งน้อยกว่าเป้าที่ตั้งไว้ที่ร้อยละ 60 และน้อยกว่าการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2551 ที่ผ่านมา ที่มีผู้มาใช้สิทธิร้อยละ 54.18

// //

อย่างไรก็ตามจากการนับบัตรเลือกตั้งครั้งนี้พบว่า มีบัตรดี 2,058,219 บัตร คิดเป็นร้อยละ 97.05 บัตรเสีย 16,107 บัตร คิดเป็นร้อยละ 0.76 ไม่ประสงค์ลงคะแนนหรือโนโหวต(NoVote) 46,395 บัตร คิดเป็นร้อยละ 2.19 ซึ่งมากกว่าครั้งที่ผ่านมาที่มีผู้ไม่ประสงค์ลงคะแนนเพียง 37,345 บัตร คิดเป็นร้อยละ 1.69 หรือเพิ่มขึ้นจากเดิมจำนวน 9,050 คน

ส่วนเขตที่มีผู้มาใช้สิทธิมากที่สุดคือเขตทวีวัฒนา จำนวนผู้มาใช้สิทธิ 31, 221 คน จากจำนวนผู้มีสิทธิ 53, 364 คน คิดเป็นร้อยละ 58.51 และเขตที่มีผู้มาใช้สิทธิน้อยที่สุด คือ เขตดุสิต มีผู้ออกมาใช้สิทธิ 38 , 869 คน จากผู้มีสิทธิ 84 , 610 คิดเป็นร้อยละ 45.94

ทั้งนี้เมื่อการนับคะแนนเลือกตั้งทั้ง 50 เขตรวม 6,337 หน่วยเลือกตั้งและประมวลผลการเลือกตั้งสิ้นสุดลงนายพงศ์ศักติฐ์ เสมสันต์ ปลัดกรุงเทพมหานคร(กทม.) ในฐานะผู้อำนวยการการการเลือกตั้งประจำท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร(ผอ.กกต.ทถ.กทม.) ได้ประกาศผลคะแนนรวมของผู้สมัครฯ ทั้ง 14 คน เรียงลำดับคะแนนจากมากไปน้อย ดังนี้

ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ บริพัตร หมายเลข 2 พรรคประชาธิปัตย์ ได้ 934,602 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 45.41

นายยุรนันท์ ภมรมนตรี หมายเลข 10 พรรคเพื่อไทย ได้ 611,669 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 29.72

ม.ล.ณัฏฐกรณ์ เทวกุล หมายเลข 8 สังกัดอิสระ ได้ 334,846 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 16.27

นายแก้วสรร อติโพธิ หมายเลข 12 กลุ่มกรุงเทพใหม่ ได้ 144,779 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 7.03

นางลีนา จังจรรจา หมายเลข 3 อิสระ ได้ 9,043 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 0.44

นายสุเมธ ตันธนาศิริกุล หมายเลข หมายเลข 1 ทีมกรุงเทพฯพัฒนา ได้ 6,017 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 0.29

นายเอธัส มนต์เสรีนุสรรณ์ หมายเลข 14 พรรคสุวรรณภูมิ ได้ 4,117 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 0.20

นายวิทยา จังกอบพัฒนา หมาเลข 9 อิสระ ได้ 3,582 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 0.18

นายกงจักร ใจดี หมายเลข 5 อิสระ ได้ 2,400 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 0.12

นายธรรณม์ชัย รุ่งจิรโรจน์ หมาเลข 11 อิสระ ได้ 2,222 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 0.11

นางธรณี ฤทธีธรรมรงค์ หมายเลข 4 อิสระ ได้ 1,875 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 0.09

ร.อ.เมตตา เต็มชำนาญ หมายเลข 6 กลุ่มเมตาธรรม ได้ 1,431 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 0.07

นายอิสระ อมรเวช หมายเลข 7 อิสระ ได้ 922 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 0.04

และ นายอุดม วิบูลเทพาชาติ อิสระ ได้ 656 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 0.03

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าสำหรับผลการนับคะแนนอย่างไม่เป็นทางการ พบว่า ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้สมัคร ผู้ว่าฯ กทม. หมายเลข 2 พรรคประชาธิปัตย์ มีคะแนนนำเป็นอับดับ 1 ทิ้งห่างนำอันดับ 2 คือ นายยุรนันท์ ภมรมนตรี ผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. หมายเลข 10 พรรคเพื่อไทย เฉลี่ย 5,000 คะแนน เกือบทุกเขต ฃ

นอกจากนี้ในบางเขต ได้แก่ สาทร สวนหลวง บางกะปิ บางกอกน้อย บางแค บางคอแหลม พระโขนง และจตุจักร ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ ยังมีคะแนนทิ้งห่างนายยุรนันท์กว่า 10,000 คะแนน ขณะที่ ม.ล.ณัฏฐกรณ์ เทวกุล หมายเลข 8 ที่มีคะแนนอยู่ในลำดับที่ 3 พบว่าในบางเขต ได้แก่ บางเขน บางแค จตุจักร และสายไหม มีคะแนนสูงสุดอยู่ที่ประมาณ 10,000 คะแนน

ด้านนายพิงค์ รุ่งสมัย ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำกรุงเทพมหานคร(ปธ. กกต.กทม.) กล่าวถึงภาพรวมการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.ว่า การประกาศผลคะแนนอย่างไม่เป็นทางการนี้ กกต.ทถ. กทม. ถือเป็นที่สิ้นสุด ซึ่งจะรายงานผลให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.กลาง) รับทราบต่อไป

สำหรับเรื่องการร้องเรียนของนายยุรนันท์ ภมรมนตรี ผู้สมัครฯ หมายเลข 10 พรรคเพื่อไทย ซึ่งได้นำหนังสือร้องเรียนเรื่อง ระงับการนับคะแนนเขตพญาไท พร้อมส่งหลักฐาน คือ ซีดี 1 แผ่น บันทึกภาพเจ้าหน้าที่ประจำหน่วยเลือกตั้งเปิดหีบบัตรและหน่วยเลือกตั้งอื่นๆ อาทิ 70 , 71 , 73 เจ้าหน้าที่ประจำหน่วยไม่ปิดผนึกหีบบัตรก่อนขนส่งไปยังสถานที่นับคะแนนนั้น นายพิงค์ กล่าวว่า เรื่องดังกล่าว ได้มีการตั้งคณะกรรมการดำเนินการในพื้นที่ทันทีที่ได้รับเรื่องร้องเรียน ซึ่งคณะกรรมการสอบสวนทั้ง 7 คนได้ประชุมหารือกับผู้อำนวยการเขตเป็นเวลากว่า 7 ชั่วโมง และได้ข้อสรุปว่า ให้มีการนับคะแนนต่อไป โดยแยกคะแนนหีบบัตรเลือกตั้งดังกล่าวออกไป ซึ่งภายหลัง กกต.กทม. ได้มีมติว่า ให้มีการนับคะแนนรวมกับทุกหน่วยเลือกตั้งเพื่อรายงานผลคะแนนอย่างไม่เป็นทางการไปก่อน ซึ่งไม่ทำให้ผลของการเลือกตั้งเปลี่ยนแปลงไปจากที่ได้ประกาศไปแล้ว

อย่างไรก็ตามหากกกต.เห็นว่าผลการรวมคะแนนของกกต.กทม.บกพร่องก็สามารถพิจารณาตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง ซึ่งหากพบว่ามีมูลการทุจริตเลือกตั้งจริง ก็มีสิทธิในการจัดการเลือกตั้งซ่อมเฉพาะเขตพญาไทได้ภายหลัง ทั้งนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของกกต. ด้วย

วิเคราะห์เลือกตั้งซ่อมส.ส.อีสานมนต์แม้วคลาย-แดงโรยเพื่อไทยหด

ผลการเลือกตั้งซ่อมในพื้นที่ภาคอีสาน 10 เขต ใน 7 จังหวัด แม้ว่าอดีตพลังประชาชนที่ครองพื้นที่ภาคอีสานเดิมที่ถูกยุบ จะพยายามโหมหาเสียงปั่นกระแสนำ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กลับมา

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook