พลังงานดันขึ้นราคาเอ็นจีวี2บ. เล็งปรับแอลพีจี-ตรึงครัวเรือน

พลังงานดันขึ้นราคาเอ็นจีวี2บ. เล็งปรับแอลพีจี-ตรึงครัวเรือน

พลังงานดันขึ้นราคาเอ็นจีวี2บ. เล็งปรับแอลพีจี-ตรึงครัวเรือน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
พลังงานเสนอ กพช.ปรับเอ็นจีวีอีกกิโลกรัมละ 2 บาท เป็น 10.50 บาทต่อกิโลกรัม เล็งปรับแอลพีจีภาคขนส่งและอุตสาหกรรมเหลือกิโลกรัมละ 2.70 บาท จากเดิม 6 บาท ด้าน ปตท.ชี้หากไม่ได้ปรับเอ็นจีวีต้องแบกภาระขาดทุนปีนี้อีก 6.8 พันล้าน คาดนำเข้าแอลพีจีพุ่งเดือนละ 6 หมื่นตัน นพ.วรรณรัตน์ ชาญนุกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า วันที่ 16 มกราคมนี้ กระทรวงพลังงานจะเสนอแนวทางการปรับโครงสร้างราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลว (แอลพีจี) ให้คณะกรรมการนโยบายพลังงานแหงชาติ (กพช.) พิจารณา โดยยืนยันว่าจะแยกราคาแอลพีจีเป็นสองตลาดแน่นอน ส่วนแอลพีจีภาคครัวเรือนจะตรึงราคาต่อไป คาดว่าปีนี้ราคาแอลพีจีจะอยู่ที่ 500-600 ดอลลาร์ต่อตัน จากประมาณการณ์เดิมอยู่ที่ 700-800 ดอลลาร์ต่อตัน แหล่งข่าวจาก กพช. กล่าวว่า ในการประชุมกระทรวงพลังงานจะเสนอให้ปรับขึ้นราคาแอลพีจีในภาคขนส่งและอุตสาหกรรมอีกกิโลกรัมละ 2.70 บาท จากมติเดิมจะขึ้น 6 บาท แต่ทยอยปรับ 3 ครั้ง ครั้งละ 2 บาท ส่งผลให้ราคาแอลพีจีเพิ่มขึ้นเป็นกิโลกรัมละ 20.83 บาท ภายใต้การประเมินราคาแอลพีจีปี 2552 ราคาเฉลี่ยที่ 570 ดอลลาร์ต่อตัน นอกจากนี้จะเสนอให้ กพช.พิจารณาปรับราคาก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ (เอ็นจีวี) ขึ้นอีกกิโลกรัมละ 2 บาท จากเดิมกิโลกรัมละ 8.50 บาท เพิ่มเป็น 10.50 บาทต่อกิโลกรัม นายสุรงค์ บูลกุล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่หน่วยธุรกิจระหว่างประเทศ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า สิ้นเดือนธันวาคม 2551 ภาครัฐมีภาระจากส่วนต่างราคานำเข้าแอลพีจี กับราคาที่ตรึงไว้รวม 7,947 ล้านบาท หากมีการปรับราคาแอลพีจีในภาคขนส่งและอุตสาหกรรมการใช้คงไม่ลดลงไม่มากนัก ปีนี้น่าจะนำเข้าเฉลี่ยเดือนละ 6 หมื่นตัน “หาก ปตท.ต้องออกส่วนต่างราคาแอลพีจีนำเข้ากับราคาในประเทศไปก่อนเกินกว่า 1 หมื่นล้านบาท ต้องนำเข้าพิจารณาในคณะกรรมการ ปตท.และในการประชุมผู้ถือหุ้น เพราะเป็นภาระที่เกินกว่าที่ขอไว้ก่อนหน้านี้“ นายสุรงค์กล่าวและว่า จากการที่ประเทศต้องเปลี่ยนจากการเป็นผู้ส่งออกมาเป็นผู้นำเข้าแอลพีจี จึงต้องวางโครงสร้างระบบแอลพีจีใหม่ โดยเฉพาะสาธารณูปโภครองรับการนำเข้า เช่น ท่าเรือ และคลัง รวมถึงสต็อกแอลพีจี ในส่วนของ ปตท.ได้วางแผนรองรับเบื้องต้นที่จะสร้างถัง และคลังรองรับแอลพีจีให้ได้ 2 แสนตันต่อเดือน จากปัจจุบันที่รองรับได้สูงสุด 1-1.2 แสนตันต่อเดือน นายณัฐชาติ จารุจินดา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ (เอ็นจีวี) กล่าวว่า ปตท.รับภาระจากการจำหน่ายเอ็นจีวีต่ำกว่าต้นทุนอยู่ 6 บาทต่อกิโลกรัม คิดเป็นภาระขาดทุนเดือนละ 570 ล้านบาท หากไม่ได้ปรับปีนี้ ปตท.จะขาดทุนเพิ่มอีก 6,800 ล้านบาท
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook