ใครๆก็เคนส์

ใครๆก็เคนส์

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
รุ้งตัดแวง

สปาย-กลาส

วิวาทะระหว่างนักเศรษฐศาสตร์นักเรียนนอกระดับ บิ๊ก ของประเทศเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาสนุกนัก

เมื่อ หม่อมอุ๋ยม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล จากสำนักวาร์ตัน สหรัฐ อดีตผู้ว่าฯแบงก์ชาติ อดีตรองนายกฯ วิพากษ์นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลปัจจุบัน

ว่าไม่น่าเชื่อว่าคนจบออกซ์ฟอร์ดหรือเคมบริดจ์ จะคิดได้แค่นี้

ถัดมาวันเดียวนายกรัฐมนตรีคนที่ถูกพาดพิงโดยตรงก็ออกมาแถลงว่า นี่เป็นการแก้ไขปัญหาที่รัฐบาลไหนๆ ในโลกเขาก็ทำกัน

ส่วนหนึ่งก็จริงของเขา

รุ้งตัดแวง เมื่อปลายสัปดาห์ก่อนก็นำตัวอย่างมาเปรียบเทียบให้ดูไปแล้ว

นโยบายที่รัฐอัดฉีดเงินเข้าไปกระตุ้นเศรษฐกิจนั้น ตามตำราเศรษฐศาสตร์สมัยใหม่เขาเรียกว่าสำนัก เคนเซียน

ตั้งชื่อตามจอห์น เมย์นาร์ด เคนส์ นักเศรษฐศาสตร์ชาวอังกฤษที่มีชีวิตอยู่ในช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 และครั้งที่สอง

และเสนอทฤษฎีนี้ขึ้นมาหลังจากเหตุการณ์ เดอะ เกรต ดีเพรสชั่น หรือการตกต่ำทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่ของสหรัฐที่ส่งผลกระทบไปทั้งโลก ในช่วงทศวรรษ 1930

ซึ่งมีรัฐบาลหลายประเทศรับฟังแล้วนำไปปฏิบัติได้ผล

สำนักเคนเซียนจึงเป็นหนึ่งในแขนงใหญ่ของเศรษฐศาสตร์ยุคปัจจุบัน

ศุภชัย พานิชภักดิ์ อดีตนักเรียนทุนแบงก์ชาติ อดีตรองนายกฯ อดีตผอ.องค์การค้าโลก และปัจจุบันคือเลขาธิการอังค์ถัด-องค์กรความร่วมมือด้านการค้าและการพัฒนาของสหประชาชาติ นักเศรษฐศาสตร์ใหญ่เหมือนกันขยายความว่า

เวลาเคนส์บอกให้รัฐลงไปอัดฉีดเพื่อให้เศรษฐกิจฟื้นนั้น

น่าจะเป็นการใส่เงินลงไปเพื่อให้เกิดการลงทุน ไม่ใช่ให้เกิดการบริโภค ซึ่งให้แล้วก็หมดไป

แล้วตบท้ายด้วยเรื่องโจ๊กให้ฟังว่า

เคนส์เคยกล่าวติดตลกในที่ประชุมนักเศรษฐศาสตร์ระดับโลกว่า

ที่นั่งอยู่ในโต๊ะเดียวกับผมนี่ล้วนแต่เป็น เคนส์ มากกว่าผมทั้งนั้น

ฮา

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook