ก.ตร.ผ่านร่างพ.ร.บ. เพิ่มเพดานเงินเดือนตำรวจ
คำที่ถูกค้นบ่อย
    Sanook//s.isanook.com/sr/0/images/logo-new-sanook.png60060

    ก.ตร.ผ่านร่างพ.ร.บ. เพิ่มเพดานเงินเดือนตำรวจ

    2009-01-21T18:05:05+07:00
    แชร์เรื่องนี้
    พล.ต.ท.วัชรพล ประสารราชกิจ ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ(ผบ.ตร.) ในฐานะโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ(ตร.) แถลงการประชุมคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ(ก.ตร.) ว่า วาระการประชุมสำคัญคือ เรื่องการอนุมัติเห็นชอบร่าง พ.ร.บ.สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่.... พ.ศ..... และร่าง พ.ร.บ.เงินเดือนและเงินเงินประจำแหน่ง เพื่อปรับปรุงเงินเดือน เงินประจำตำแหน่งข้าราชการตำรวจให้แยกมาจากกฎหมายเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งมากำหนดเอาไว้เป็นการเฉพาะ เพื่อปรับโครงสร้างเงินเดือนให้เหมาะสมกับหน้าที่ โดยเพิ่มเพดานเงินเดือนตำรวจที่เงินเดือนเต็มขั้นให้เพิ่มเงินเดือนได้อีกเช่นเดียวกับทหาร เช่น ดาบตำรวจ จะมีขั้นเดือนเต็มที่ ป.3 ประมาณ 20,000 กว่า บาท แต่ร่างใหม่จะเลื่อนถึงขั้น ส.2 หรือเท่ากับ พ.ต.ต. หาก ก.ม. ผ่านก็จะเงินเดือนสูงขึ้นเหมาะกับสภาพเศรษฐกิจ ในส่วนระดับสัญญาบัตรก็จะมีตั้งแต่ระดับ พ.ต.อ.พิเศษลงมา เช่น ร.ต.ต.- ร.ต.อ. จะรับเงินเดือนอัตรา ส.1 เมื่อเต็มเพดานก็จะไม่สามารถขึ้นเงินเดือนได้จนกว่าจะได้เลศเป็น พ.ต.ต. แต่ พ.ร.บ.นี้จะให้รับเงินเดือนระดับ ส.2 ได้เลยโดยยังไม่จำเป็นต้องเลื่อนยศ

    พล.ต.ท.วัชรพล กล่าวว่า อีกเรื่องที่มีการพิจารณาในวันนี้คือการแก้ไข พ.ร.บ. ตำรวจมาตรา 18 เป็น มาตรา18 วรรค 1 ในการเสนองบประมาณรายจ่ายตามมติ ก.ตร. ในการสืบสวนสอบสวน ปราบปราม ค่าน้ำมัน และค่าใช้จ่ายต่างๆ ให้ กฎหมายให้รัฐให้การสนับสนุนแต่ต้องเสนอร่างงบประมาณผ่าน ก.ตร. ให้การสนับสนุนและส่งให้รัฐบาล การมีร่างกฎหมายนี้เพิ่มทำให้รัฐบาลให้ความสำคัญตำรวจ เนื่องจากงบประมาณในส่วนตำรวจมีน้อย 72 เปอร์เซ็นต์ก็เป็นเงินเดือน ส่วน28 เปอร์เซ็นต์ก็เป็นค่าใช้จ่ายอื่น อีก 5 เปอร์เซ็นต์ เป็นงบก่อสร้างซึ่งน้อยมาก เมื่อเสนอร่างนี้ให้รัฐบาลหากเห็นชอบส่งให้สภาพิจารณาต่อไป

    พล.ต.ท.วัชรพล กล่าวว่า เรื่องสำคัญที่มีการพิจารณาอีกเรื่องคือการให้ข้าราชการตำรวจที่ถูกไล่ออก ปลดออกจากราชการแล้วได้รับการพิจารณาจากองค์กรที่เกี่ยวข้องทั้ง อนุ ก.ตร. อุทธรณ์ อนุ ก.ตร.วินัย หรือศาลปกคง มีคำสั่งให้กลับเข้ารับราชการซึ่งตำรวจชั้นผู้น้อยนั้นไม่มีปัญหาเพราะกลับเข้ามาได้ทันทีเนื่องจากมีตำแหน่งอยู่แล้ว แต่ตำรวจระดับสูงมักจะมีปัญหาเนื่องจากไม่มีตำแหน่งให้ จึงเสนอ ก.ตร.ให้อนุมัติหลักการณ์ให้แต่งตั้งมาอยู่ในตำแหน่งประจำในหน่วยงานนั้นก่อน แต่มีข้อแม้ให้เข้าสู่ตำแหน่งหลักในโอกาสแรกในระยะเวลาไม่เกิน 6เดือน 1 ปี ซึ่งหาก พล.ต.ต.มานิตย์ วงศ์สมบูรณ์ อดีต ผบก.น.6 เข้าหลักเกณฑ์นี้ ก็สามารถพิจารณาให้กลับเข้ามารับราชการตำรวจตามหลักเกณฑ์นี้ได้ และเรื่องสุดท้ายเป็นการให้ที่ประชุมรับทราบการโปรดเกล้าฯ พล.ต.อ.ปรุง บุญผดุง และนายตำรวจอีก 4 นายไปเป็นตำรวจประจำราชสำนัก ส่วนเรื่องการแต่งตั้งนายตำรวจนั้นไม่มีในวันนี้